<< Go Back

    

          ทวีปเอเชียมีดินแดนที่ต่อเนื่องกับทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ส่วนของแผ่นดินที่ทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียมาต่อเนื่องกัน    เรียกรวมว่า ยูเรเชีย

 

   

  

          เป็นที่ราบขนาดใหญ่ เรียกว่า  “ที่ราบไซบีเรียตะวันตก”   มีลำน้ำสายย่อยไหลผ่าน  ทำให้เกิดเป็นที่ลุ่มน้ำขัง  โดยในฤดูหนาวน้ำในลำน้ำจะแข็งตัว เป็นอุปสรรคต่อระบบคมนาคม  และส่งผลให้มีประชากร อาศัยอยู่เบาบาง

    

          บริเวณที่ราบไซบีเรีย ของสหพันธรัฐรัสเซีย อากาศมีความหนาวเย็นจัด พื้นที่เป็นเขตทุรกันดาร แม้จะเป็นพื้นที่ราบ แต่ก็มีประชากรอาศัยอยู่

          มีพื้นที่กว้างขวาง เต็มไปด้วยเทือกเขาและที่ราบสูง โดยเทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย มีความยาวประมาณ ๒,๔๐๐ กิโลเมตร มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาเอเวอเรสต์ มีความสูง ๘,๘๔๘ เมตร ส่วนที่ราบสูงที่สำคัญ เช่น ที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงยูนนาน ที่ราบสูงอิหร่าน เป็นต้น

ที่ราบสูงทิเบต ลักษณะภูมิอากาศมีความหนาวเย็นและทุรกันดาร

          บริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิลักษณ์แบบทะเลทราย   มีอูฐ เป็นสัตว์เลี้ยงสำคัญ

           ที่ราบสูงเก่า เป็นแผ่นดินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ ประกอบด้วย ที่ราบสูงเดกกันในคาบสมุทรอินเดีย ที่ราบสูงอาหรับ ในคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งจะปรากฏภูมิลักษณ์แบบทะเลทรายบริเวณคาบสมุทรอาหรับ เช่น ทะเลทรายรุบัลคอลี ในประเทศซาอุดีอาระเบีย

ทะเลทรายรุบัลคอลี ประเทศซาอุดีอาระเบีย

          เป็นแหล่งการทำเกษตรกรรมและการตั้งถิ่นฐานที่สำคัญ เนื่องจากเป็นที่ราบที่มีแม่น้ำขนาดใหญ่ไหลผ่าน ที่ราบสำคัญ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำหวางเหอ  แม่น้ำฉางเจียง และแม่น้ำซีเจียง  ในประเทศจีน  และที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง  แม่น้ำโขง  แม่น้ำเจ้าพระยา  และแม่น้ำอิรวดี  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ที่ราบลุ่มแม่น้ำ   คงคา ในประเทศอินเดีย เป็นต้น

    

          พื้นที่ราบริมสองฝั่งแม่น้ำโขงเป็นดินตะกอนแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์สูง จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก และตั้งชุมชน

          ปรากฏเด่นชัดในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเกาะและหมู่เกาะที่สำคัญ เช่น  เกาะญี่ปุ่น  ไต้หวัน  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  หมู่เกาะฟิลิปปินส์  หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่บริเวณ  “วงแหวนแปซิฟิก” ทำให้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว  ภูเขาไฟปะทุ และเกิดสึนามิ อยู่บ่อยครั้ง

    

หมู่เกาะในประเทศฟิลิปปินส์

    

    

           - ประชากรในเอเชียกลาง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม “คอเคซอยด์ผิวขาว”
           - มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาหลักและบางส่วนนับถือศาสนาคริสต์
           - ใช้ภาษาประจำเผ่าพันธุ์ของตนเอง และใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร

           - ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม “มองโกลอยด์”
           - มีความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
           -มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจีน

           - ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม “นิกรอยด์”มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม กันมากเนื่องจากนับถือศาสนาต่างกัน และมีภาษาที่ใช้กันมากกว่า ๘๐๐ภาษา
           - คนอินเดียและเนปาล ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ขณะที่ปากีสถาน บังกลาเทศ และมัลดีฟส์ นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนศรีลังกาและภูฏาน นับถือพระพุทธศาสนา

           - ประชากรมีทั้งกลุ่ม “นิกรอยด์” และ “มองโกลอยด์”มีสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างกันตามลักษณะการนับถือศาสนามีภาษาเฉพาะชนชาติตน
           - ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน และภาคใต้ของฟิลิปปินส์  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ขณะที่ประเทศไทย  เมียนมา  เวียดนาม ลาว กัมพูชา นับถือพระพุทธศาสนา ส่วนฟิลิปปินส์และติมอร์-เลสเต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์

         เป็นแหล่งอารยธรรมของโลก  เรียกว่า “อารยธรรมเมโสโปเตเมีย” ประชากรเป็นกลุ่ม “คอเคซอยด์” ประชากรส่วนใหญ่ในทุกประเทศนับถือศาสนาอิสลาม ยกเว้นประเทศอิสราเอลและประเทศไซปรัสที่ประชากรส่วนใหญ่  นับถือศาสนาคริสต์

          การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของทวีปเอเชีย มีลักษณะเป็นสังคมเมืองและสังคมตะวันตกมากขึ้น ร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดสามารถพบได้โดยทั่วไปในหลายเมืองของประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย

          สภาพสังคมและวัฒนธรรมเป็นแบบผสมผสานมากขึ้นวัฒนธรรมเกาหลีที่เผยแพร่ผ่านทางละคร ภาพยนตร์

    

          การเคร่งครัดในจารีตและวัฒนธรรมน้อยลง  การยินยอมให้สตรีเข้ามามีบทบาทมีสิทธิต่าง ๆ มากขึ้น

        

          เป็นการเพาะปลูกแบบผสมผสาน โดยพืชที่ปลูกมาก เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ฝ้าย กาแฟ ยาสูบ เป็นต้น

 

        

          มีการกระจายตัวอยู่ทั่วทวีป โดยมีแหล่งแร่ที่สำคัญ เช่น ถ่านหิน ดีบุก และเหล็กในประเทศจีน  ดีบุกในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย แร่เชื้อเพลิง ในประเทศซาอุดีอาระเบีย อิรัก อิหร่าน เป็นต้น

          แหล่งการทำป่าไม้ที่สำคัญในทวีปเอเชีย ได้แก่ บริเวณบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเมียนมา ประเทศลาว เป็นต้น

          มีทั้งการเลี้ยงแบบฟาร์มและแบบเร่ร่อน โดยสัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยง เช่น โคนม โคเนื้อ แพะ แกะ ไก่ เป็นต้น

          มีทั้งการจับสัตว์น้ำเค็มและสัตว์น้ำจืด  โดยประเทศที่จับสัตว์น้ำเค็มได้มาก เช่น ญี่ปุ่น ไทย  เวียดนาม ส่วนประเทศที่จับสัตว์น้ำจืดได้มาก เช่น กัมพูชา เป็นต้น

           การทำเครื่องปั้นดินเผา  การทอผ้า ในประเทศลาว เมียนมา ไทย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย

          การผลิตเครื่องดื่มกระป๋อง สิ่งพิมพ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์ ในประเทศไทย  มาเลเซีย ปากีสถาน ตุรกี

          การผลิตรถยนต์        ผลิตเครื่องจักรกล  ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน

           สินค้าทางการเกษตรที่พัฒนาคุณภาพให้ได้ระดับสากลกำลังเป็นที่นิยมของตลาดในยุโรปและอเมริกาเหนือ

            สินค้าอุตสาหกรรมประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล และเฟอร์นิเจอร์ ได้รับความนิยมจากตลาดโลกมากขึ้น

           พาณิชยกรรมในทวีปเอเชียกำลังขยายตัว โดยเปลี่ยนจากการค้ากับประเทศใกล้เคียงไปสู่การค้า       ในตลาดโลกมากขึ้น

          ประเทศส่วนใหญ่ยังมีการพัฒนา ด้านการคมนาคมและการสื่อสารน้อย ส่วนประเทศที่มีการขนส่งอยู่ในระดับมาตรฐาน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

          ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเร่งพัฒนาการคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร



          ปัจจัยทางกายภาพและสังคมที่มีผลต่อการเลื่อนไหลของความคิด เทคโนโลยี สินค้า และประชากรของทวีปเอเชีย

          ปัจจัยทางกายภาพ เช่น สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ และความอุดม-สมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตและดึงดูดให้ประชากรเข้าไปตั้งถิ่นฐาน

          ปัจจัยทางสังคม เช่น การเปิดกว้างทางสังคมในด้านต่างๆ ซึ่งหากประเทศใด  มีการเปิดกว้างทางสังคมมาก ก็จะส่งผลให้เกิดการเลื่อนไหลมากขึ้น

หมู่เกาะต้นปาล์ม (The Palm Island)

          ตั้งอยู่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นการถมทะเลสร้างเป็นเกาะเทียมรูปต้นปาล์มขึ้นมา

เมืองช่างไห่ หรือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai)

            เมืองสำคัญของประเทศ เป็นเมืองที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้มีประชากรหลั่งไหลเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก

    

          การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร

          การขยายตัวทางเศรษฐกิจ

          การเข้ามาของวัฒนธรรมบริโภคนิยม

          ความร่วมมือระหว่างประเทศในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของทวีปเอเชีย

         แนวทางและแผนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของทวีปเอเชีย

          - จัดทำแผนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งออกมาตรการต่างๆ เพื่อลดหรือระงับการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          - ร่วมลงนามปฏิญญาว่าด้วยการยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

          ประหยัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้ประโยชน์  จากสิ่งแวดล้อมในทางสร้างสรรค์ เช่น การตั้งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ

   

          รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และร่วมกันหาทางฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายไป




    << Go Back