<< Go Back

           ลูกโคเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงโคเนื้อ การเลี้ยงโคเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกโคให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่โคควรสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกโคมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการ ของตลาด จึงจะขายได้ราคาดี การที่จะทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของโคระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยง ดูที่เหมาะสม การเลี้ยงโคเนื้อที่จะให้ผู้เลี้ยงได้กำไรตอบแทนมากจะต้องเริ่มตั้งแต่ การเลือกพันธุ์โคที่จะเลี้ยงให้ เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและวัตถุประสงค์ที่จะเลี้ยง เช่น ลูกโคที่ผลิตได้จะสนองความต้องการของตลาด ประเภทใด สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มเลี้ยงโคปัญหาสำคัญคือจะเลี้ยงโคพันธุ์อะไร ดังนั้นจะต้องทราบว่าโคพันธุ์ต่างๆที่จะหาได้มีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะสมกับวิธีการที่เราจะเลี้ยงหรือไม่ ควรซื้อโคที่มีลักษณะอย่างไร เมื่อจัดหาแม่โคได้แล้ว จะต้องมีการจัดการด้านการผสมพันธุ์ที่ถูกต้อง ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของแม่โคระยะต่างๆ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นระยะจากแม่โคคลอดลูกถึง 3-4 เดือนหลังคลอด ระยะที่ 2 เป็นแม่โคท้อง 4-6 เดือน และ ระยะที่ 3 เป็นแม่โคท้อง 3 เดือนก่อนคลอด ลูกโคคลอดแล้วจะต้องจัดการอย่างไร ลูกโคเพศเมียที่หย่านมแล้วซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเก็บไว้เป็นแม่พันธุ์ทดแทนนั้นจะต้องเลี้ยงดูให้โตเร็วไม่แคระแกรนจึงจะใช้ผสมพันธุ์ได้เร็วที่สุดและเป็นแม่พันธุ์ที่ดี การจัดการเลี้ยงดูแม่โคสาวที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกจะแตกต่างกับการเลี้ยงดูแม่โคที่เคยให้ลูกแล้ว เพราะแม่โคสาวยังไม่เติบโตเต็มที่จะต้องทำน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก และเป็นการตั้งท้องและเลี้ยงลูกตัวแรก ผู้เลี้ยงจึงต้องดูแลเอาใจใส่มากกว่าแม่โคที่เคยให้ลูกแล้ว

           การเลี้ยงโคพ่อพันธุ์และการจัดการผสมพันธุ์ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แม่โคผสมติดเพื่อให้ลูกโคได้ดีการผสมเทียมเป็นวิธีการผสมโดยฟาร์มไม่ต้องเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้เอง และเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ ให้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว การให้อาหารที่เหมาะสม จะต้องทราบความต้องการอาหารของโคในระยะต่างๆว่าต้องการโภชนะหรือ คุณค่าของอาหารในแต่ละวันเท่าใด และอาหารที่จะใช้เลี้ยงมีคุณค่าทางอาหารหรือโภชนะเท่าใดจึงจะสามารถคำนวณได้ว่าจะต้องให้อาหารจำนวนเท่าใดจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของโค ความต้องการอาหารส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับขนาดหรือน้ำหนักตัวของโค ผู้เลี้ยงโคที่ไม่มีตาชั่งประจำฟาร์มสามารถหาน้ำหนักโดยประมาณจากความยาวรอบอกโค เมื่อให้อาหารไประยะหนึ่งแล้วควรทำการตรวจสอบโดยดูความสมบูรณ์ของโคจาก คะแนนสภาพร่างกาย นอกจากการจัดการเลี้ยงดูและการให้อาหารที่ถูกต้องแล้ว การดูแลด้านสุขภาพโคก็เป็น

           สิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยฟาร์มที่ดำเนินการเป็นธุรกิจอาจต้องทำการขุนโคและคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์โคให้เหมาะสมกับสภาพ การผลิตและการตลาด ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการจัดการฟาร์มให้ได้ผลกำไรมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในตอนท้ายของหนังสือนี้จึงได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการดังกล่าวให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาเลือกใช้หรือให้คำแนะนำแก่เกษตรกรต่อไป

พันธุ์โค
           โคเนื้อมีหลายพันธุ์ แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะพันธุ์ที่มีอยู่ค่อนข้างแพร่หลายในประเทศไทยที่สามารถหา ซื้อใช้ทำพันธุ์และสามารถหาน้ำเชื้อใช้ในการผสมพันธุ์ได้เท่านั้น

โคพื้นเมือง
           โคพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอแต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อน และอาจมีสีประรวมอยู่ด้วย เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300 – 350 กก.เพศเมีย 200 – 250 กก.

   

                 https://sites.google.com/site/hldzza

<< Go Back