ในทางเคมี ปฏิกิริยาสะเทิน (อังกฤษ: neutralization หรือ neutralisation) หรือ ปฏิกิริยาการสะเทิน หรือ ปฏิกิริยาลบล้างฤทธิ์ ก็เรียก เป็นปฏิกิริยาเคมี ซึ่งกรดและเบสทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นเกลือ บ่อยครั้งที่เกิดน้ำเป็นผลิตภัณฑ์ด้วย แต่ไม่จำเป็นเสมอไป ปฏิกิริยาสะเทินระหว่างกรดและเบสอาร์เรเนียส จะให้น้ำด้วยเสมอ ดังสมการ YOH + HX XY + H2O เมื่อ Y และ X เป็นไอออนบวกและไอออนลบที่มีค่าประจุเป็น +1 และ -1 ตามลำดับ XY จะเป็นเกลือที่เกิดขึ้น ตัวอย่างปฏิกิริยารูปนี้ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก โดยมีโซเดียมเป็น Y และคลอรีนเป็น X การแสดงนี้คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดี เพราะไฮโดรเจนไอออน (H+) แท้จริงแล้วมิได้เกิดขึ้นในสารละลายระหว่างปฏิกิริยาสะเทิน ที่จริงแล้ว ไฮโดรเนียมไออน (H3O+) ต่างหากที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลตามสมการด้านล่าง ในปฏิกิริยาไม่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย (non-aqueous) มีความเป็นไปได้น้อยว่าจะเกิดน้ำขึ้น อย่างไรก็ดี กรดกับเบสจะมีการให้โปรตอนเสมอ (ตามทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด-บาวรี) เนื่องจากมีนิยามกรดและเบสหลายอย่าง ปฏิกิริยาทั้งหลายจึงอาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาการสะเทินได้ ซึ่งทั้งหมดด้านล่างนี้อาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาสะเทินได้ตามนิยามแตกต่างกัน
บ่อยครั้ง ปฏิกิริยาสะเทินเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก ตัวอย่างของการสะเทินแบบดูดความร้อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไบคาร์บอเนต (โซดาทำขนม) กับกรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู) การนำไปใช้ - วิธีการไทเทรตทางเคมีใช้สำหรับวิเคราะห์กรดหรือเบสเพื่อหาความเข้มข้นที่ไม่ทราบค่า สามารถใช้พีเอชมิเตอร์หรือพีเอชอินดิเคเตอร์ซึ่งแสดงจุดสะเทินโดยเปลี่ยนสีอย่างชัดเจน การคำนวณปริมาณสัมพันธ์อย่างง่ายโดยทราบปริมาตรของสารที่ต้องการทราบโมลาริตี และที่ทราบปริมาตรและโมลาริตีของสารที่เติมไป จะให้ค่าเป็นโมลาริตีของสารที่ต้องการทราบนั้น การคำนวณ ในปฏิกิริยาการสะเทิน จำนวนโมลของกรดกับเบสที่ใช้นั้นต้องเท่ากัน ดังนั้น สูตรจึงเป็นดังนี้ เมื่อ a เป็นจำนวนของไฮโดรเจนกรด และ b เป็นค่าคงที่ซึ่งบอกว่าเบสสามารถรับไออน H3O+ ได้มากเท่าใด [A] แทนความเข้มข้นของกรด และ [B] แทนความเข้มข้นของเบส Va คือปริมาตรของกรด และ Vb คือปริมาตรของเบส
ขอบคุณเว็บไซต์ https://th.wikipedia.org/wiki/ปฏิกิริยาสะเทิน#:~:text=ในทางเคมี%20ปฏิกิริยาสะเทิน,ด้วยเสมอ%20ดังสมการ
|