ความหมายของทัศนศิลป์

       ทัศนศิลป์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการความคิดสร้างสรรค์มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน  การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นต่อเนื่อง

       ทัศนศิลป์คือการรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมุติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์  อาจจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม

       ทัศนศิลป์เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทาจินตนาการ  ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะนั้น

       ทัศนศิลป์  เป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์  ซึ่งเป็นศิลปะที่เน้นคุณค่าทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ

       ทัศนศิลป์  มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า Visual Art หมายถึง ศิลปะที่มองเห็น หรือศิลปะที่สามารถสัมผัส รับรู้ ชื่นชมด้วยประสาทตา สัมผัสจับต้องได้ และกินเนื้อที่ในอากาศ

       ทัศนศิลป์  แบ่งออกเป็น  3 ประเภท ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม

http://www.thaigoodview.com/files/u2724/anvari.jpg

ความสำคัญของทัศนศิลป์

     ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน  เราพบเห็นความสามารถในผลงานของมนุษย์  ทั้งด้านความคิด  ฝีมือ  ที่ได้พยายามจินตนาการ  คิดค้น  เพื่อสนองความต้องการในการดำรงชีวิตประจำวัน  ให้ทั้งประโยชน์ใช้สอย  และสิ่งสวยงามประณีต  เพื่อจรรโลงด้านจิตใจ  ความเชื่อ  ความศรัทธา  ไว้ประดับโลก  นอกจากนี้ยังต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกรับรู้  คล้อยตามชื่นชมไปด้วย

http://www.thaigoodview.com/files/u2724/profiles_small.jpg

ลักษณะและประเภทของศิลปะ

ศิลปะเป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก  ยากที่จะตัดสิน  หรือชี้เฉพาะเจาะจงไปได้ว่าเป็นอย่างไร  ศิลปะบางชิ้นไม่สามารถจัดกลุ่ม  จัดประเภทได้  ในขณะที่ผลงานศิลปะบางชิ้นเป็นผลรวมของศิลปะอีกหลายประเภทรวมกัน  แต่เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา  โดยทั่วไปแล้วเรามักจะจัดแบ่งศิลปะออกเป็นประเภทต่าง   ดังต่อไปนี้
     1.
จิตรกรรม ภาพพิมพ์  (Painting and Printing)
     2.
ประติมากรรม  (Sculpture)
     3.
สถาปัตยกรรม  (Architecture)
     4.
วรรณกรรม  (Literature)
     5.
ดนตรี  (Music)
     6.
นาฏศิลป์  (Drama)
       
งานศิลปะประเภทต่าง   ที่กล่าวมานี้ยังจัดแบ่งย่อยได้อีกตามการรับรู้ค่าสุนทรีย์  เช่น 
    
ศิลปะที่รับรู้ด้วยการมองเห็น  เรียกว่า  ทัศนศิลป์  (Visual  Art)  ได้แก่  จิตรกรรม  ภาพพิมพ์  ภาพถ่าย  ประติมากรรม  และสถาปัตยกรรม
    
ศิลปะที่รับรู้ด้วยการได้ยิน  เรียกว่า  โสตศิลป์  (Audio  Art)  ได้แก่  วรรณกรรม  ดนตรี 
    
ศิลปะที่รับรู้ได้ทั้งการมองและการได้ยิน  เรียกว่า  ศิลปะผสม  (Audio Visual  Art)

ความเป็นมาของงานจิตรกรรม     
     งานจิตรกรรมหรือการเขียนภาพ  เป็นงานที่มีกระบวนการสร้างสรรค์ง่าย   แม้แต่เด็กก็สามารถได้รับการฝึกฝนให้มีประสบการณ์มาตั้งแต่ระดับประถม  เช่น  วิชาวาดเขียน  ศิลปศึกษา  เพราะเพียงแต่มีกระดาษ  ดินสอ  สีต่าง   ก็สามารถเขียนเป็นภาพได้  แสดงรูปแบบ  เรื่องราว  ตามที่ต้องการแสดงออกได้  ตามประสบการณ์ของแต่ละคน
    
การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม  ถือว่าเป็นกิจกรรมหรือพฤติกรรมการแสดงออกที่ดีอย่างหนึ่งของมนุษย์  โดยเฉพาะงานจิตรกรรมนับเป็นงานทัศนศิลป์ที่เก่าแก่ที่สุด  ทั้งนี้เพราะได้พบภาพเขียนเก่าแก่ที่ผนังถ้ำอัลตามิระ (Altamira)  ถ้ำลาสโค (Lascaux) อยู่บริเวณตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสติดต่อกับบริเวณตอนเหนือของสเปน

ความหมายของจิตรกรรม
     จากความคิดของผู้รู้สรุปได้ว่า  จิตรกรรม  หมายถึง  การวาดภาพ  การเขียนภาพ  ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำเอาวัสดุต่าง   เช่น  ดินสอ  สี  ปากกา  และวัสดุอื่น มาขูด  ขีด  ลากเขียน  ระบาย  สลัด  ป้าย  ทา  ฯลฯ  ให้เกิดเป็นรูปร่าง  รูปทรง  บนระนาบรองรับ  เป็นเรื่องราวตามความคิดของศิลปินที่ต้องการแสดงออก  ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริงที่พบเห็นได้  หรือเรื่องราวจากจินตนาการ  อันเป็นการสร้างสิ่งที่มองไม่เห็น ให้มองเห็นได้

     จิตรกรรม (Painting)  หมายถึง การวาดภาพ ระบายสี

 ประกอบด้วย
         
จิตรกรรมวาดเส้น (Drawing)
         
จิตรกรรมสีเดียว (Monochrome Painting)
         
และจิตรกรรมหลายสี (Multi-Colour Painting)

เป็นการถ่ายทอดความงามและความรู้สึกนึกคิดลงบนพื้นระนาบ 2 มิติโดยใช้เส้น  รูปร่าง  รูปทรง  สี  แสง  เงา  ฯลฯ  สร้างสรรค์ให้เกิดภาพลวงตา  มีความตื้น-ลึก  ระยะใกล้-ไกล มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ  เราเรียกผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรมว่า "จิตรกร"

ความหมายของทัศนธาตุ

      ทัศนธาตุหมายถึงอะไร

      ทัศนธาตุ (Visual Elements) ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง ส่วนประกอบของศิลปะที่มองเห็นได้ 
                 
ประกอบไปด้วย
                 
จุด
                 
เส้น
                 
รูปร่าง
                 
รูปทรง
                 
น้ำหนักอ่อน-แก่
                 
สี
                 
บริเวณว่าง
                 
และพื้นผิว

       จุด (Dot)  หมายถึง รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม  ปรากฏที่พื้นผิว ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง   เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด

      จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ  เช่น  นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น  และการนำจุดมาวางให้เหมาะสม  ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้  


     
เส้น (Line)  เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้ เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะทุกแขนง ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฏเป็นรูปภาพ

      เส้น (Line)  หมายถึง การนำจุดหลาย จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด เขียน ลาก ให้เกิดเป็นริ้วรอย

     เส้นนอน  ให้ความรู้สึกกว้างขวาง  เงียบสงบ  นิ่ง  ราบเรียบ  ผ่อนคลายสายตา
    
เส้นตั้ง  ให้ความรู้สึกสูงสง่า  มั่นคง  แข็งแรง  รุ่งเรือง
    
เส้นเฉียง  ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง  เคลื่อนไหว  รวดเร็ว  แปรปรวน
    
เส้นโค้ง  ให้ความรู้สึกอ่อนไหว  สุภาพอ่อนโยน  สบาย  นุ่มนวล  เย้ายวน
    
เส้นโค้งก้นหอย  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว  การคลี่คลาย  ขยายตัว  มึนงง
    
เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา  ให้ความรู้สึกรุนแรง  กระแทกเป็นห้วง   ตื่นเต้น  สับสนวุ่นวาย  และการขัดแย้ง
    
เส้นประ  ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง  ไม่มั่นคง  ไม่แน่นอน

     เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง  ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น   เช่น  เส้นโค้งคว่ำลง  ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน  ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า  ผิดหวัง  เสียใจ  แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น  ก็จะให้ความรู้สึก  อารมณ์ดี  เป็นต้น

  รูปร่างและรูปทรง

      รูปร่าง (Shape)  หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ มีความกว้างและความยาว

      รูปร่าง  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  คือ
      1.
รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น  คน  สัตว์  และพืช  เป็นต้น
      2.
รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน  เช่น  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  และรูปวงกลม  เป็นต้น
      3.
รูปร่างอิสระ (Free Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์  ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี  ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนของตัวเอง  เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  เช่น  รูปร่างของหยดน้ำ  เมฆ  และควัน  เป็นต้น

      รูปทรง (Form)  หมายถึง  โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฏแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ  คือมีทั้งส่วนกว้าง  ส่วนยาว  ส่วนหนาหรือลึก  คือ  จะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง  มีเนื้อที่ภายใน  มีปริมาตร  และมีน้ำหนัก

      น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value)  หมายถึง จำนวนความเข้ม ความอ่อนของสีต่าง และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้ เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง

       สี (Colour)   หมายถึง   สิ่งที่ปรากฏอยู่ทั่วไปรอบ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย เช่น ทำให้รู้สึกสดใส ร่าเริง ตื่นเต้น หม่นหมอง หรือเศร้าซึมได้ เป็นต้น

       สีและการนำไปใช้ 
            1.วรรณะของสี (Tone)  จากวงจรสีธรรมชาติ ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ  คือ  สีวรรณะร้อน  ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นหรือร้อน  เช่น  สีเหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม  ส้มแดง  แดง  ม่วงแดง  เป็นต้น  ส่วนสีวรรณะเย็น  ได้แก่  สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย  เช่น  สีเขียว  เขียวเหลือง  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  เป็นต้น
            2.
ค่าของสี (Value of colour)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งทำให้ค่อย จางลงจนขาวหรือสว่างและทำให้ค่อย เข้มขึ้นจนมืด
            3.
สีเอกรงค์ (Monochrome)  หมายถึง  สีที่แสดงอิทธิพลเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว  หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพโดยให้ค่าของสีอ่อน กลาง แก่  คล้ายกับภาพถ่าย ขาว ดำ
            4.
สีส่วนรวม (Tonality)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งที่ให้อิทธิพลเหนือสีอื่นทั้งหมด  เช่น  การเขียนภาพทิวทัศน์  ปรากฏสีส่วนรวมเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน  เป็นต้น
            5.
สีที่ปรากฏเด่น  (Intensity)  หมายถึง
            6.
สีตรงข้ามกันหรือสีตัดกัน (Contrast)  หมายถึง  สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติ  เช่นสีแดงกับสีเขียว  สีน้ำเงินกับสีส้ม  สีม่วงกับสีเหลือง

        บริเวณว่าง (Space)  หมายถึง บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาในการจัดองค์ประกอบใดก็ตามถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว

         พื้นผิว (Texture) หมายถึง พื้นผิวของวัตถุต่าง ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย