วิจิตรศิลป์ (Fine Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางใจ ที่ มุ่งเน้นความงดงาม และความพึงพอใจ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เป็นสำคัญ ศิลปะที่ทำให้เราดูแล้วรู้สึกเพลิดเพลินใจมีความรู้สึกมีคุณค่าทางจิตใจเป็นศิลปะที่เน่นความสวยงาม และความพึงพอใจในงานศิลปะ แสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ที่เป็นศิลปินที่ถ่ายทอดความเป็นศิลปะแบบวิจิตรศิลป์ออกมาแบ่งออกเป็น 6 แขนง คือ
1.1 จิตรกรรม(ภาพเขียน)
1.2 ประติมากรรม(ภาพปั้น)
1.3 สถาปัตยกรรม(งานก่อสร้าง)
1.4 วรรณกรรม(บทประพันธ์)
1.5 ดนตรี และนาฏศิลป์ (การขับร้อง,การบรรเลง)
1.6 การพิมพ์ภาพ
ที่มา : http://www.media.rmutt.ac.th/media/Presenter/04-% % 8%A3%E FineArt.htm
วิจิตรศิลป์ จะเน้นด้านความงามเป็นสำคัญ เช่น ภาพลายไทย ภาพตามผนังวัด หรือภาพพุทธศิลป์ต่างๆ วิจิตรศิลป์แบ่งออกเป็น 5 แขนง ได้แก่
. 1. จิตรกรรม (Painting) หมายถึง การวาดภาพ ระบายสี เป็นการถ่ายทอดความงามและความรู้สึกนึกคิดลงบนพื้นระนาบ 2 มิติ โดยใช้เส้น รูปร่าง
รูปทรง สี แสง และเงาสร้างสรรค์ให้เกิดภาพลวงตา เพิ่มความวามตื้น-ลึก ระยะใกล้-ไกล เพื่อให้มองเห็นภาพเป็น 3 มิติ เราเรียกผู้สร้างสรรค์งาน
จิตรกรรมว่า จิตรกร
. 2. ประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง ศิลปกรรมที่สร้างขึ้นโดยวิธีการปั้น การแกะสลัก และการหล่อ เป็นศิลปกรรมที่มีปริมาตรหรือเป็น 3 มิติ
คือ มีความกว้าง ความยาว และความลึกหรือความหนา งานประติมากรรมอาจทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น หิน ไม้ ดินเหนียว ปูน อิฐ และโลหะ
. 3. สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ทั้งสิ่งก่อสร้างที่คนทั่วไปอยู่อาศัยได้ เช่นสถูป เจดีย์ อนุสาวรีย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังรวมถึงการกำหนดผังบริเวณต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นประโยชน์แก่การใช้สอยตามต้องการ งานสถาปัตยกรรมเป็น
แหล่งรวมของงานศิลปะทางกายภาพเกือบทุกชนิด และมักมีรูปแบบแสดงเอกลักษณ์ของ สังคมนั้น ๆ ในช่วงเวลานั้น ๆ
. 4. วรรณกรรม (Literature) หมายถึง วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา หมายถึงวรรณคดีหรือศิลปะที่เป็นผลงานอันเกิด
จากการคิดและจินตนาการ แล้วเรียบเรียงและนำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปจะแบ่งวรรณกรรมเป็น
2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้
จดบันทึก ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น
. 5. คีตกรรม (Music) หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง เป็นเสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบและมีแบบแผนโครงสร้าง
หรือที่เรียกว่า ดนตรี โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่อง
ของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่างๆ
ขอขอบคุณ :
1.http://www.br.ac.th/CAI/benjamasilp/art%201.html
2.http://thaigoodview.com
3. http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/art/3/ARTS_WEB/WEBPAGE/art1.html
4. http://blog.eduzones.com/clip/10228
|