![](../pic_unit2/Untitled-1.jpg)
ความกลมกลืน หมายถึง การเข้ากันได้ดีไม่ขัดแย้งกันขององค์ประกอบศิลป์ เช่นรูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิวและสีประกอบเข้าด้วยกัน เกิดการประสานกลมกลืนเป็นอย่างดี เช่น กลมกลืนด้วยขนาด เส้น ลักษณะผิว สี สิ่งที่เหมือนกันและสิ่งที่คล้ายกัน
ลักษณะความกลมกลืนมี 6 ลักษณะ ดังนี้ ![](../pic_unit2/328.gif)
1. ความกลมกลืนด้วยขนาด คือ การนำองค์ประกอบที่มีขนาดเท่ากัน หรือใกล้เคียง กันมาจัดรวมกัน ทำให้เกิด
ความกลมกลืนกัน
2. ความกลมกลืนด้วยเส้น คือ การนำเส้นที่มีลักษณะเดียวกัน ขนาดเดียวกันหรือมี ทิศทางเดียวกัน มาจัดองค์
ประกอบให้มีความกลมกลืนกัน
3. ความกลมกลืนด้วยลักษณะผิว คือ การนำลักษณะผิวที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน มาจัดรวม เป็นองค์ประกอบ
เดียวกัน ทำให้มีความกลมกลืนกันด้วยลักษณะผิว
4. ความกลมกลืนจากสิ่งที่เหมือนกัน คือการนำองค์ประกอบที่มีลักษณะเหมือนกันมาจัดรวมกันเพื่อให้เกิดความ
กลมกลืนกัน
5. ความกลมกลืนจากสิ่งที่คล้ายกัน คือการนำองค์ประกอบที่มีลักษณะคล้ายกันมาจัดรวมกันเพื่อให้เกิดการประสาน
กลมกลืนกัน
6. ความกลมกลืนด้วยสี คือ การเลือกใช้สีในวรรณะเดียวกัน หรือการใช้สีเอกรงค์ ( Monochrome ) ซึ่งหมายถึงการ
ใช้สีเดียวเช่น สีน้ำเงินสีเดียว หรือสีน้ำตาลสีเดียว แล้วใส่น้ำหนัก สีอ่อน - แก่ ด้วยการผสมน้ำ (สำหรับสีน้ำ) หรือ
การผสมสีขาว ( สำหรับสีโปสเตอร์) หรือใช้สีใกล้เคียงกัน จัดองค์ประกอบเข้าด้วยกัน เช่น สีส้มเหลืองกับสีส้มแดง
จัดเข้ากับสีส้ม ก็จะได้ความกลมกลืนด้วยสี เป็นต้น
![คำอธิบาย: http://watkadarin.com/E-(new)1/02studio2classrm/unit3/chapt3.8harmony/harmony%20img/01.JPG](Concordance_clip_image001.jpg)
ภาพแสดงความกลมกลืนของภาพ
ที่มา : http://watkadarin.com/E-(new)1/02studio2classrm/unit3/chapt3.8harmony/harmony.htm
ประโยชน์อีกลักษณะหนึ่ง ของความกลมกลืนที่มีต่องานออกแบบทัศนศิลป์ ก็คือ การใช้ความกลมกลืนเป็นตัวกลางหรือตัวประสาน (Transition) ทำสิ่งที่มีความขัดแย้งกัน หรือสิ่งที่มีความแตกต่างกัน ให้อยู่ร่วมกันได้ เช่นสีดำ กับสีขาว เป็นน้ำหนักที่ตัดกันอย่างรุนแรง มีความขัดแย้ง กันอย่างสิ้นเชิง ก็ใช้น้ำหนักเทา หรือ น้ำหนักอ่อนแก่ระหว่างขาว ดำ มาเป็นตัวประสาน ให้สีดำ และสีขาวนั้นมีความกลมกลืนกัน
ขอขอบคุณ :
1. http://www.gotoknow.org/posts/157936
2. http://watkadarin.com/E-(new)1/02studio2classrm/unit3/chapt3.8harmony/harmony.htm
|