หลักการของภาพทัศนียภาพ
เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกเป็น 3 มิติ คือ
มีลักษณะของความเหมือนใกล้เคียงกับภาพที่คนเราเห็นภาพต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น
ถ้าไปยืนอยู่กลางถนน แล้วมองไปไกลข้างหน้า เราจะเห็นถนนจะค่อยเล็กลง
เสาไฟฟ้าก็สั้นเล็กลง ถ้ามีต้นไม้เป็นทิวข้างทางก็จะ เตี้ยลง
แล้วก็จะวิ่งไปรวมกันที่จุดสุดสายตา
หรือถ้าใครอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟก็จะเห็นได้ชัดเจน รางรถไฟจะไปรวมกันที่จุดจุดเดียว
ไม้หมอนที่นอนขวางรับรางเหล็กก็จะสั้นเข้า และรวมกันที่ จุดรวมสายตา
ซึ่งพอจะสรุปลักษณะของภาพ PERSPECTIVE ได้ดังนี้
1. วัตถุ
หรือสิ่งของที่มีขนาดเท่ากันเมื่อยู่ไกลตัวออกไปจะมีขนาดเล็กลง
2. ระยะที่เท่ากันเมื่ออยู่ไกลตัวออกไปจะมีระยะที่ถี่ขึ้นเรื่อย
ๆ จนรวมเป็นจุดเดียวกัน
3. เส้น
หรือสิ่งของที่คู่ขนานกันเมื่อไกลออกไปจะพุ่งเข้าหากัน
4. วัตถุ
หรือสิ่งของต่าง ๆ เมื่ออยู่ไกลตัวออกไป จะมีรายละเอียดและความชัดเจนลดลงไปตามลำดับ

ภาพจุดรวมสายตา
(แสดงให้เห็นถึงการไปรวมของจุดรวมสายตา
ถ้าไปยืนอยู่กลางรางรถไฟมองไกลออกไป
เส้นของรางรถไฟที่ขนานกันจะเล็กลงและไปรวมอยู่เป็นจุดเดียว)
ที่มา : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/ART-DESIGN%20UTF-8%20UNIT-04-1.php

ภาพเส้นระดับสายตา
(แสดงโครงสร้างของภาพที่ประกอบด้วยเส้นระดับสายตา
(Horizon Line) และจุดรวมสายตา (Vanishing
point))
ที่มา : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/ART-DESIGN%20UTF-8%20UNIT-04-1.php

ภาพตำแหน่งการมองด้านข้าง
(แสดงให้เห็นตำแหน่งการมองด้านข้างของรางรถไฟ
จะเห็นว่าในความเป็นจริงของทุกอย่างที่มีขนาดเท่ากันก็จะไปรวมอยู่จุดเดียวกัน)
ที่มา : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/ART-DESIGN%20UTF-8%20UNIT-04-1.php

ภาพเส้นตำแหน่งที่ไม่ใช่อยู่ตำแหน่งกลาง
(แสดงโครงสร้างของการมองของภาพในตำแหน่งที่ไม่ใช่อยู่ตำแหน่งกลางของภาพที่มอง)
ที่มา : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/ART-DESIGN%20UTF-8%20UNIT-04-1.php
หลักการของการวาดภาพ
PERSPECTIVE
หลักการพื้นฐานของภาพ
PERSPECTIVE จะประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ส่วนที่สำคัญ
ที่กำหนดในการลากเส้น คือ
1.เส้นระดับสายตา
หรือที่เรียกว่า Horizon Line ใช้ตัวย่อ HL เป็นเส้นระดับแนวนอน หรือแนวระดับน้ำ จะขึ้น-ลง สูง-ต่ำ
อยู่ในระดับสายตา ซึ่งจะเป็นเส้นที่สำคัญในการกำหนดของการมองวัตถุหรือ
สิ่งก่อสร้างทั้งหมด
2.จุดรวมสายตาหรือเรียกว่า
Vanishing point ใช้ตัวย่อ VP จะเป็นจุดรวมสายตาที่อยู่ในเส้นระดับสายตา
เป็นตำแหน่งที่ลากเส้นสิ่งของต่างๆ ไปรวมกัน มีตั้งแต่ 1 จุดขึ้นไป
แล้วแต่ตำแหน่งของวัตถุที่จัดวาง หรือ ต้องการวาดให้มีความหลากหลายซับซ้อน

ภาพเส้นที่มีจุดรวมสายตา
1 จุด
(แสดงภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา
1 จุด)
ที่มา : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/ART-DESIGN%20UTF-8%20UNIT-04-1.php

ภาพเส้นที่มีจุดรวมสายตา
2 จุด
(แสดงภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา
2 จุด)
ที่มา : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/ART-DESIGN%20UTF-8%20UNIT-04-1.php
ภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด จะให้ความรู้สึกของสิ่งก่อสร้าง สูงชะรูด หรือ ต่ำลึก ลงไป
ใช้กับงานเขียนภาพในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นส่วนใหญ่ จุดรวมสายตาที่ 3 ตำแหน่งจะอยู่ในแกนของแนวดิ่ง จะต่ำ หรือ สูงกว่าเส้นระดับสายตาก็ได้

ภาพมองตัวอาคารในระดับสายตา
เป็นมุมมองที่ปกติทั่วไป
ที่มา : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/ART-DESIGN%20UTF-8%20UNIT-04-1.php

ภาพมอง 1 จุด
ที่มองตัวอาคารในระดับสายตา เป็นมุมมองที่ปกติทั่วไป
ที่มา : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/ART-DESIGN%20UTF-8%20UNIT-04-1.php

ภาพอาคารสูงในลักษณะของการมองแหงนขึ้น
เรียกว่า WORM S EYES VIEW
ที่มา : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/ART-DESIGN%20UTF-8%20UNIT-04-1.php
การวาดเส้นให้มุมมองของอาคารโดดเด่น
สูงสง่า ก็ใช้มุมมองจากล่างขึ้นบน คือ Worm Eyes View เพราะจะได้ภาพสิ่งก่อสร้างที่ดึงดูดความสนใจได้ดี
และ ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่คนยืนแหงนหน้ามองตึกสูงเมื่อสร้างเสร็จแล้ว
การเขียนภาพ PERSPECTIVE ในงานตกแต่งภายใน
งานตกแต่งภายใน
การกำหนดตำแหน่งจุดรวมสายตามีความสำคัญ ที่ช่วยกำหนดมุมมองในการวาดภาพ PERSPECTIVE การร่างเค้าโครงของภาพ โดยการเลือกจุดรวมสายตา
จึงต้องทำความเข้าใจให้ได้ทุกมุมมอง
เพื่อว่าจะได้ภาพที่ต้องการแสดงถึงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย
และ งานตกแต่งได้ครอบคลุม มีมุมมองที่สวยงามดึงดูดความสนใจ
การจัดมุมมองของการตกแต่งภายใน
จะมีตัวเลือกมาก และ มีความแตกต่างในการจัดภาพซึ่งมีผลในการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ
การทำความเข้าใจโครงสร้างเพื่อการร่างภาพจึงมีความสำคัญ ในการถ่ายทอดว่าจะให้ผู้ดู
เข้าใจ หรือ รับรู้ คล้อยตามตามแนวความคิดสร้างสรรค์ได้มากน้อยเพียงใด
โครงสร้างในการจัดภาพ
PERSPECTIVE
การถ่ายทอดภาพ PERSPECTIVE ในงานตกแต่งภายใน
ก็เป็นการสร้างภาพเหมือนจริงขึ้นมาดูก่อนให้เห็นการจัดวาง ความสวยงามของการตกแต่ง
ดังนั้นจึงต้องมีของเขต หรือกรอบในการทำงานซึ่งจะเป็นพื้นที่ของแผ่นกระดาษซึ่งเป็นตัวจำกัดมุมมอง
ดังนั้นการมองในกรอบ โดยมี จุดรวมสายตา เป็นจุดกำหนดก็จะทำให้ทราบพื้นที่มาก
หรือน้อยของแต่ละด้านได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีด้วยกัน 5 ด้าน
ใหญ่ด้วยกัน คือ
1. ด้านหน้า เป็นผนังห้องด้านหน้า หรือเป็นพื้นหลัง
2. ด้านข้างซ้าย ซึ่ง อาจเป็นผนังห้องด้านซ้ายมือ
3. ด้านข้างขวา ซึ่งอาจเป็นผนังห้องด้านขวามือ
4. ด้านบน ซึ่งอาจเป็นเพดานของห้อง
5. ด้านล่าง ซึ่งอาจเป็นพื้นของห้อง
|