ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากประสบการณ์
และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ
สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีการปรับ
ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม
และสิ่งแวดล้อม
ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม
ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในวิถีดั้งเดิมนั้น
ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วนๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน การทำมาหากิน
การอยู่ร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี ความรู้เป็นคุณธรรม
เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน
คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นความสัมพันธ์ที่มีความสมดุล
ที่เคารพกันและกัน ไม่ทำร้ายทำลายกัน ทำให้ทุกฝ่ายทุกส่วนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
ชุมชนดั้งเดิมจึงมีกฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกัน มีคนเฒ่าคนแก่เป็นผู้นำ
คอยให้คำแนะนำตักเตือน ตัดสิน และลงโทษหากมีการละเมิด ชาวบ้านเคารพธรรมชาติรอบตัว
ดิน น้ำ ป่า เขา ข้าว แดด ลม ฝน โลก และจักรวาล ชาวบ้านเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ พ่อแม่
ปู่ย่าตายาย ทั้งที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local
wisdom) ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดให้ความหมายไว้อย่างชัดเจนแต่พอทำความเข้าใจได้ดังนี้
หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดต่อกันจากสถาบันต่างๆ
ในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันความเชื่อและศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง
สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ นอกจากนี้
กรมการศึกษานอกโรงเรียนให้ความหมายคำว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” นั้นเป็นการเชื่อมโยงไปถึงความรู้ประสบการณ์ตรงของคนในท้องถิ่น
ที่ได้จากการสะสมประสบการณ์จากการทำงาน
การประกอบอาชีพและการเรียนรู้จากธรรมชาติแวดล้อมต่างๆ
และถ้าจะพิจารณาภูมิปัญญาท้องถิ่นเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนั้นหมายถึง
เทคนิควิทยาพื้นบ้านได้ด้วย โดยสถานวิจัยสังคมได้ให้คำจำกัดความว่า
เทคโนโลยีนั้นเป็นความรู้ว่าจะทำสิ่งต่างๆ อย่างไร โดยมีองค์ประกอบ 2 ประการคือ เครื่องมือในการทำสิ่งนั้น ๆ และกระทบกันขั้นตอนในการทำสิ่งนั้น
ๆ ซึ่งสามารถแยกได้ในลักษณะความรู้ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
ที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและความจำเป็นในท้องถิ่น เช่น
การประยุกต์ใช้พลังคน สัตว์ และธรรมชาติ ตลอดจนองค์ความรู้ต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นหรือชุมชน ในอันที่จะเป็นทางเลือกในการดำรงชีวิตของมนุษย์
เช่น การประยุกต์ใช้พลังคน สัตว์ และธรรมชาติ ตลอดจนองค์ความรู้ต่างๆ
ที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นหรือชุมชน ในอันที่จะเป็นทางเลือกในการดำรงชีวิตของมนุษย์
เช่น การประยุกต์แนวความคิดที่เป็นมรดกของคนไทยในการประกอบอาชีพ
โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลักพิจารณากิจกรรมหรืออาชีพของชุมชน เช่น
แถบพื้นที่หรือท้องถิ่นใดเป็นที่ราบลุ่ม กิจกรรมของชุมชนก็คือ การทำนา
หรือการปั้นโอ่งและตุ่มน้ำจากดินเหนียว หรือการแกะสลักไม้เป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ
โดยใช้ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เป็นต้น ในการสัมมนาทางวิชาการ โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
สถาบันราชภัฏสุรินทร์
ในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสร้างเครือข่าย นั้นได้ให้คำจำกัดความของคำว่า
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Local wisdom หรือ popular
wisdom) คือพื้นฐานของความรู้ของชาวบ้านหรือคือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และมีประสบการณ์สืบต่อกันมาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่หรือที่เป็นความรู้สะสมสืบต่อกันมา
|