<< Go Back 

                         แฟ้มสะสมงาน   หมายถึง   สิ่งที่เก็บรวบรวมตัวอย่าง  ( Samples )  หรือ  หลักฐาน       ( Evideness )   ที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์    ความสามารถ    ความพยายาม     ความถนัดของบุคคลหรือ ประเด็นที่ต้องจัดทำแฟ้มสะสมงานไว้อย่างเป็นระบบ

            ความสำคัญของแฟ้มสะสมงาน   แฟ้มสะสมงานเป็นการรวบรวมข้อมูลจาก
                        1. ตัวอย่างผลงานที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการ    (Process   Samples)
                        2. ตัวอย่างผลงานที่เป็นผลผลิต  ( Product Samples)
                        3. การสังเกตของครู  (Teacher   Observations )
                        4. ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการวัด และ ประเมินผลด้วยวิธีการหลากหลาย

                        5. ข้อมูลที่เป็นข้อเสนอแนะจากผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง

            วัตถุประสงค์ของแฟ้มสะสมงาน ในการจัดทำแฟ้มสะสมงานมีวัตถุประสงค์   2  ประการ  คือ
                        1. เพื่อให้เจ้าของแฟ้มได้ประเมินตนเองว่า   ผลการเรียนรู้หรืองานที่ทำเป็นอย่างไรประสบผลสำเร็จในระดับใด   มีระบบหรือไม่    ควรจะปรับปรุงแก้ไขหรือไม่อย่างไร

                        2. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ประเมินเจ้าของแฟ้มว่า     มีความสามารถในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร     ประสบความสำเร็จในระดับใด      ควรจะได้รับการช่วยเหลือหรือพัฒนาหรือไม่อย่างไร


                        1. แฟ้มสะสมงานส่วนบุคคล (  Personal  Portfolio )
เป็นแฟ้มที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเจ้าของแฟ้ม   เช่น  พรสวรรค์     กีฬา    งานอดิเรก  สัตว์เลี้ยง    การท่องเที่ยว    และ   การร่วมกิจกรรมชุมชน

                        2. แฟ้มสะสมงานเชิงวิชาชีพ  ( Professional   Portfolio )
เป็นแฟ้มที่แสดงผลงานเกี่ยวกับอาชีพ   เช่น    แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ในการสมัครงาน  แฟ้มสะสมงานเพื่อเสนอขอเลื่อนระดับ

                        3. แฟ้มสะสมงานเชิงวิชาการ  (  Academic   Portfolio )  หรือ
 เป็นแฟ้มที่แสดงผลเกี่ยวกับการเรียนการสอน   เช่น     แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ประเมินผลการผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้     แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ประกอบการประเมินผลปลายภาค/ปลายปี

                        4. แฟ้มสะสมงานสำหรับโครงการ  ( ProJect   Portfolio ) 
 มีลักษณะคล้ายภาพยนตร์    สารคดี       โดยเป็นแฟ้มที่แสดงถึงความพยายามหรือขั้นตอนการทำงานในโครงการหนึ่ง ๆ  หรือ   ในการศึกษาส่วนบุคคล   ( Independent  Study ) เช่น   แฟ้มโครงงานวิทยาศาสตร์      ในแฟ้มประกอบด้วยภาพของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ และ แสดงขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินงานจนได้ผลผลิตที่ต้องการ
                        5. แฟ้มสะสมงานนักเรียน
เป็นแฟ้มสะสมงานของนักเรียนแต่ละคน    ที่แสดงถึงความสามารถ    จุดเด่น      จุดด้อย ความสำเร็จ    ตลอดถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ของนักเรียน


                        แฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ในการแสดง   หรือ    นำเสนอผลงานของนักเรียนที่สอดคล้องกับความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน        เพราะแฟ้มสะสมงานให้ข้อมูลที่ครบถ้วนกว่าผลการทดสอบด้วยการทดสอบ   การจัดทำแฟ้มต้องอาศัยความคิด    ความรู้       ความอดทน

วิจารณญาณ     ความอุตสาหะ    ทักษะต่างๆ  ของเจ้าของแฟ้ม   ดังนั้น แฟ้มสะสมงานจึงสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายประการ    คือ

                        1. สอนนักเรียนเป็นรายบุคคล   ให้นักเรียนจัดทำด้วยตนเอง   แต่ละคนสามารถเลือกทำงานแต่ละชิ้นได้อย่างอิสระตามความสนใจ และ ความสามารถของนักเรียน  และสามารถนำผลงานมาปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้

                        2. ทำหน้าที่สะท้อนความสามารถ และ  วิธีการทำงานของเด็กได้ทุกขั้นตอน

                        3. ทำหน้าที่แตกต่างจากแบบทดสอบ       ที่ส่วนมากเป็นการสอบเพื่อหาที่ผิดพราด  แฟ้มสะสมงานจะทำให้ครูสามารถหาจุดเด่นของนักเรียนได้มากกว่าจุดด้อย  

                        4. ทำหน้าที่สำคัญในการแจ้งผลสำเร็จของนักเรียนให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ      รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการอภิปลายความก้าวหน้าของนักเรียนกับผู้ปกครองได้        การประเมินจากแฟ้มสะสมงานก็มีลักษณะเปิดเผยตรงไปตรงมา
                        5. การเก็บสะสมผลงานงานทุกชิ้นที่พิจารณาคัดเลือกไว้แล้ว   ต้องเขียน  ชื่อ  วัน เดือน ปีติดไว้    เพื่อให้สามารถประเมินพัฒนาการของเด็กได้


                        1. ปก

                        2. คำนำ

                        3. สารบัญ

                        4. วัตถุประสงค์ในการนำเสนอสาระในแฟ้ม

                        5. สาระต่างๆ  ( อาจจะอยู่ในรูปผลงาน  ด้านการเขียน    ผลผลิตชิ้นงาน  )
                        6. ผลการประเมินสาระต่างๆ  และ   แหล่งการประเมินพร้อมทั้งหลักฐานการประเมินเป็นระยะๆ

                        7. ภาคผนวก หรือ แหล่งอ้างอิง

            ขั้นตอนการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน  มีขั้นตอนที่สำคัญ 10 ขั้นตอน คือ
                        1. การวางแผนการจัดทำแฟ้มสะสมงาน

                        2. การเก็บรวบรวมผลงาน

                        3. การคัดเลือกงานหรือหลักฐาน

                        4. การแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงาน

                        5. การตรวจสอบความสามารถของตนเอง

                        6. การประเมินผลงาน

                        7. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับแฟ้มสะสมงาน

                        8. การปรับเปลี่ยนผลงาน

                        9. การจัดระบบของแฟ้มสะสมงาน

                        10. การจัดนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียน ในการดำเนินงานนั้น      อาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางนตอน     แต่ก็มีขั้นตอนหลักๆอยู่  4  ขั้นตอน คือ

                                    1. การรวบรวมผลงานหรือหลักฐาน

                                    2. การคัดเลือกผลงาน

                                    3. การแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึก

                                    4. การประเมินผลงาน

    << Go Back