<< Go Back 

 ประติมากรรม (Sculpture)    เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่ เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ
1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทราง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)


4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่าง ๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูง และแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่าประติมากร

เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร
งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร
งานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของกความลึก ได้แก่
ประติมากรรมนูนต่ำ
ประติมากรรมนูนสูง
ประติมากรรมลอยตัว
นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมโมบาย ที่แขวนลอยและเคลื่อนไหวได้ และ
ประติมากรรมติดตั้งชั่วคราวกลางแจ้ง (Installation Art) ที่เรียกว่า  ศิลปะจัดวาง
1. ประติมากรรมลอยตัว ( Round - Relief ) ได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น รูปประติมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ประติมากรรมรูปเหมือน และพระพุทธรูปลอยตัวสมัยต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรับประดับตกแต่ง เป็นต้น ประติมากรรมประเภทลอยตัวของไทยที่รู้จักกันดี คือ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปคลาสิคของไทยนั้นนับเป็นประติมากรรมลอยตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดของไทย ประติมากรรมประเภทนี้สร้างมากในสมัยปัจจุบัน คือ อนุสาวรีย์และรูปเคารพหรือพระบรมรูปของเจ้านายชั้นสูง เช่น อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์ในจังหวัดต่าง ๆ มากมายเป็นต้น

https://sites.google.com/site/klumsarakarreiynruwichasilpa/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1/pratimakrrm-sculpture

2. ประติมากรรมประเภทนูนสูง ( High – Relief ) ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง แต่มีพื้นเป็นฉากหลังประกอบอยู่ ประติมากรรมประเภทนี้มักใช้ตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาฐานอนุสาวรีย์อาคารทั่วไป เป็นประติมากรรมที่นิยมสร้างขึ้นเพื่อประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาแต่อดีต เช่น ประติมากรรมตกแต่งกระวิหารวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นประติมากรรมปูนปั้นแบบนูนสูง กล่าวกันว่าเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง สร้างขึ้นราวพุทธศวตวรรษที่ 17 โดยด้านหน้าวิหารปั้นเป็นเรื่องปฐมสมโพธิ์และทศชาติด้านหลังเป็นเรื่องการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ประติมากรรมปูนปั้น พระพุทธรูปปางลีลาที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประติมากรรมปูนปั้นที่วิหารทรงม้า วัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชและประติมากรรมปูนปั้นประดับเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์เจ็ดยอดอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ประติมากรรมประเภทนูนสูงที่ใช้สำหรับตกแต่งนี้ควรจะรวมถึง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย เช่น ประติมากรรมปูนปั้นประดับกระจกหน้าบ้าน พระอุโบสถและวิหารต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน เช่น ประติมากรรมที่ปั้นเป็นเรื่องราวหรือเป็นลวดลายประดับตกแต่งอาคาร ตกแต่งฐานอนุสาวรีย์ ตกแต่งสะพาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น


แสงหิรัญได้ถ่ายทอดความแกร่งกล้าของเด็กไทย
และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีต ภาพปั้นสิงห์ ประติมากรรมนูนสูง
https://sites.google.com/site/klumsarakarreiynruwichasilpa/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1/pratimakrrm-sculpture

3. ประติมากรรมประเภทนูนต่ำ ( Bas – Relief ) ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง แต่จะแบนหรือบางกว่าประติมากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซึ่งมักจะได้แก่ ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่ง เช่น แกะสลักด้วยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นต้น ในปัจจุบันมีทำกันมากเพราะใช้เป็นงานประดับตกแต่งได้ดี ซึ่งอาจจะปั้นเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ตามวัตถุประสงค์ของสถาปัตยกรรมที่นำประติมากรรมนั้นไปประกอบนอกจากนี้ ประติมากรรมประเภทนี้ยังใช้ได้ดีในการปั้นเหรียญชนิดต่าง ๆ รวมถึงการปั้นเครื่องหมาย ตรา เครื่องหมายต่าง ๆ กันอย่างแพร่หลาย

รูปปั้น ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ
ของบุญพาต ฆังคะมะโน
https://sites.google.com/site/klumsarakarreiynruwichasilpa/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1/pratimakrrm-sculpture

ประติมากรรมที่มีลักษณะสูงต่ำทั้ง 3 ประเภท มีความสำคัญและการนำไปใช้เพื่อความเหมาะสมต่างๆ กัน ซึ่งพอประมวลได้ดังต่อไปนี้
1. เพื่อเป็นการจำลองคนที่เราเคารพนับถือให้มีรูปแบบหลงเหลือเพื่อเตือนให้ระลึกถึง หรือเพื่อเคารพบูชา
2. เพื่อเป็นการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมให้เป็นรูปทรงปรากฎเป็นหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์
3. เพื่อเป็นการปลุกเร้าให้ผู้พบเห็นตระหนักในความสำคัญของการอยู่ร่วมกัน ความสามัคคี และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม
4. เพื่อเป็นการแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ


ประติมากรรมนั้น หากผู้สร้างต้องการจะเพิ่มจำนวนปริมาณตามความต้องการของสังคม เขาก็มักจะใช้วิธีหล่อโดยสร้างรูปที่ต้องการนั้นให้เป็นแม่พิมพ์ หรือรูปแม่แบบเสียก่อนแล้วจึงทำพิมพ์จากรูปแม่แบบนั้นเพื่อหล่อต่อไป การหล่อมีวิธีทำพิมพ์ 2 วิธี คือ
          1. การทำพิมพ์ทุบ พิมพ์ทุบเป็นแม่พิมพ์ชั่วคราว เมื่อสร้างขึ้นมาแล้ว สามารถใช้หล่อได้ เพียงรูปเดียวเท่านั้น เพราะเมื่อจะนำแม่พิมพ์ออก หลังจากทำการหล่อรูปแล้วนั้น ต้องทำการสกัดแม่พิมพ์ให้แตกออก เหลือเฉพาะส่วนที่เป็นรูปหล่อเท่านั้น แม่พิมพ์ทุบนี้ใช้สำหรับการหล่องานปั้นที่ทำด้วยวัสดุอ่อน เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึ้ง เท่านั้น
          2. การทำพิมพ์ชิ้น ใช้สำหรับการหล่องานปั้นที่มีลักษณะรูปนูนที่มีแง่มุมโค้งเว้ามาก หรือรูปที่ต้องการหล่อออกมาเหมือนรูปต้นแบบหลายๆ รูป การทำพิมพ์ชิ้นไม่นิยมทำจากรูปต้นแบบที่เป็นดินเหนียว ดินน้ำมัน หรือขี้ผึ้ง แต่นิยมทำจากรูปต้นแบบที่มีเนื้อวัสดุแข็งดังนั้น ถ้าจะทำแม่พิมพ์ชิ้น ควรหล่อรูปจากแม่พิมพ์ทุบเสียก่อน เมื่อได้รูปแบบเป็นวัสดุที่ต้องการแล้วจึงแบ่งพิมพ์เป็นชั้น การแบ่งพิมพ์ประติมากรจะรู้ว่าส่วนไหนยื่นโปนออกมา ก็จะต้องแบ่งหลายชิ้น หากมีแง่มุมที่ถอดพิมพ์ยากก็จะแบ่งหลายๆ ชิ้น และควรถอดพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง มิฉะนั้นส่วนยื่นโปนออกมาจะชำรุดได้
          สรุปได้ว่า ประติมากรรมเป็นผลงานรูปทรงที่มนุษย์สร้างขึ้น มีลักษณะ 3 มิติ โดย มีกระบวนการทำ 3 ประการ คือ การเพิ่มการสลักออก และการผสมทั้งเพิ่มและสลัก รูปแบบของประติมากรรมที่เกิดจากกระบวนการเหล่านี้มี 3 แบบเช่นกัน คือรูปแบบลอยตัว รูปแบบนูนสูง และรูปแบบนูนต่ำ รูปแบบทั้งหลายนี้ศิลปินจะเลือกทำตามความเหมาะสมและประโยชน์ใช้สอยที่ตนและสังคมต้องการ

ประติมากรรมกึ่งนามธรรมถ่ายทอดชีวิต
พ่อแม่ลูก ผลงานของเฮนรี่ มัวร์
งานประติมากรรมแบบนามธรรม ผลงานของ
มอน มัดจิแมน ประติมากรชาวอินโดนิเซีย ในงานแสดงประติมากรรมอาเซียน
https://sites.google.com/site/klumsarakarreiynruwichasilpa/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1/pratimakrrm-sculpture

    << Go Back