การวาดรูปสีอะครีลิคทิวทัศน์ต้นไม้ และลำธาร 1.ผมเลือกที่จะรองพื้นทั้งภาพด้วยสีเขียวกลางๆ โดยใช้ Pthalo green +Burnt sienna+ Yellow ochre+ขาว ทาไปประมาณ 2 รอบครับ รอให้แห้ง หรือใครจะเลือกเขียนจากพื้น ขาวๆก็ไม่ว่ากันครับ แล้วแต่ความถนัด 2.ผมแบ่งภาพเป็น 4 ส่วนก่อน(สีแดง) พอได้ตรงนี้แล้วมองกลุ่มของต้นไม้ แบ่งเป็นกลุ่ม ใหญ่ๆ ร่างขึ้นมาโดยไม่ต้องไปสนใจรายละเอียด อันนี้เป็นหลักสำคัญในการร่างรูปเลยนะ ครับ ฝึกให้ติดเป็นนิสัย แล้วจะทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ตามด้วยส่วนต่างๆจนครบครับ ใส่ใจในการร่างภาพก็จะออกมาสวย โดยเฉพาะตรงเส้นสีเหลือง ลำธารของเราจะดูดีหรือ แปลกก็ตรงนี้ จากนั้นจะเพิ่มรายละเอียดรอบสอง ให้เห็นมากขึ้นก็ได้ครับ อันนี้แล้วแต่นะ ครับถ้ากลัวพลาดตอนลงสี ก็ร่างให้ละเอียดหน่อย จากนั้นตัดเส้นด้วยสีครับ เวลาลงสีชั้น ต่อไปเราจะได้เห็นเส้นร่าง 3.ลงสีท้องฟ้าUltramarine+ขาวมากๆ รวมไปถึง แสงที่สะท้อนลงน้ำ 4.เริ่ม ลงกลุ่มต้นไม้ระยะไกลสุด จากต้นแบบผมแยกระยะให้ดูไกลกว่าต้นแบบ โดยหลัง จากผสมเขียวแล้วใส่ขาวมากหน่อยแล้วทาลงไป(บังเอิญว่าผมผสมสีรองพื้น ทีแรกมาก หน่อย ก็เลยเหลือสีเขียวเยอะมากพอที่เราจะเอามาใช้วาดและผสมในส่วนอื่นๆ) หลังจาก นั้นใช้สีฟ้าที่เราทำท้องฟ้ามาเกลี่ย บางๆให้เหมือนกับว่า ต้นไม้กลุ่มนี้อยู่ไกลจนมีสีของ บรรยากาศมาปกคลุมมากๆหน่อย 5.ถัดมาที่ต้นไม้กลุ่มที่ใกล้เข้ามาอีก สีเขียวมีความเข้มขึ้น แต่ก็ยังคงมีสีบรรยากาศ Ultramarine มาผสมบ้าง 6.ถัดมาอีกครับเพิ่มความเข้มไปแล้ว เอาเขียวเข้มเดิมมาใช้ในกลุ่มถัดมาด้วย 7.ทำมาจนถึงกลุ่มข้างหน้าเลยครับ ดูต้นแบบประกอบเยอะๆครับ เอาสีนี้มาลงตรงส่วนที่ เป็นเงาของน้ำด้วยครับ ซึ่งจะมีเขียวเข้มแซมอยู่ 8.เพิ่ม น้ำหนักของสีเขียวให้เข้มขึ้นอีกครับ ลงที่กลุ่มด้านหน้าครับ โดยเอาเขียวเดิม มา ผสมน้ำเงินและน้ำตาล ตามด้วย Yellow ochre +Burnt sienna รองพื้นในส่วนพื้นดินครับ พอถึงตรงนี้ ก็รองพื้นเสร็จรอบแรกครับ จะเห็นภาพรวมของสี น้ำหนัก และระยะ พร้อมที่ จะแก้ไขและเพิ่มเติม 9.เก็บ รายละเอียดกันเลยครับ ตรงต้นไม้ระยะไกลสุดผมคงไม่ไปแก้เพิ่มเติมเพราะค่อน ข้างพอใจ เลยมาเริ่มลงรายละเอียดในกลุ่มถัดมา โดยใช้เขียวเดียวกับที่รองพื้น แต้มทับ ไปทับมาทั้งอ่อนและเข้ม ควบคุมให้ดี โดยไม่ให้ระยะที่เราพยายามแยกตั้งแต่ตอนแรกเท่ากัน 10.กลุ่ม ต่อไป ใช้เขียวโทนเดิมครับ แต่เราเพิ่มส่วนที่เป็นแสง โดยใช้เขียวผสมขาว ถ้า ใส่ขาวแล้วดูเป็นแป้งมากไปให้แตะสีเหลืองเพิ่ม โดยให้เรานึกถึงหลักความเป็นจริง เวลา วัตถุอยู่ใกล้ๆเข้ามาเรื่อยๆก็จะเริ่มมีความชัดเจนขึ้นทีละนิดครับ 11.ถัดมาผสมเขียวให้สว่างขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจน ผมป้ายเป็นทีเล็กๆทับไปมาหลาย รอบนะครับระหว่างโทนอ่อน กลาง เข้ม จะได้ลักษณะการทับซ้อนของใบไม้ 12.ด้านหน้าทับไปอีกครับ โดยเพิ่มความสว่างของสีเขียวอีก และเพิ่มความเข้มของส่วน ที่ลึกด้วย 13.ใช้ Yellow ochre +ขาว แตะแสงในส่วนของพื้นดินทั้งซ้ายและขวา เหล่านี้เป็นการจับ ลักษณะเท่านั้น ไม่ต้องเหมือนซะทั้งหมดก็ได้ จะเห็นว่าการที่เรารองพื้นตอนแรกด้วยสี เขียวทั้งภาพ จะเป็นการคลุมโทนให้สีไม่โดด 14.ลงสีพื้นน้ำ น้ำก็คือกระจก แต่เป็นกระจกที่เลือนราง สิ่งแรกที่สะท้อนลงมาให้เราเห็น อย่างชัดเจนคือ ท้องฟ้า ขอบคุณเว็บไซต์ http://www.thaiartstudio.com/index.php/tip-a-trick/36-thaiartstudio/art-content/99-2012-01-30-09-33-41 |