วัฒนธรรมไทย
วิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย ซึ่งเป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงานและการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดใน
สถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย ได้แก่
1. ภาษาและวัฒนธรรม หมายถึง ภาษาไทยที่ใช้ในการพูดและการเขียนรวมทั้งงานประพันธ์ที่สร้างสรรค์ที่มีการบันทึกไว้
เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2. มารยาท หมายถึง การประพฤติ ปฏิบัติระหว่างบุคคลตjอบุคคลที่สังคมยอมรับ ได้แก่ มารยาททางกาย และมารยาททาง
วาจา
3. การแต่งกาย หมายถึง เครื่องนุ่งห่มที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย
4. ประเพณีและพิธีทางศาสนา หมายถึง กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่างๆ
5. ศิลปกรรม หมายถึง งานศิลปหัตถกรรม จิตกรรม สถาปัตยกรรม และประติมากรรม
6. การแสดงและการละเล่น หมายถึง การละเล่นและของเล่นของไทย ดนตรีไทย เพลงไทยประเภทต่างๆ และศิลปะการ
แสดงของไทย
วัฒนธรรมไทย : ด้านการแต่งกาย
วัฒนธรรมไทยด้านการแต่งกาย ตั้งแต่ในอดีตมานั้นคนไทยมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายที่ใช้ผ้าไทยซึ่งทำจากผ้าไหม ผ้า
ทอมือต่างๆ นำมาทำเป็นผ้าสไบสำหรับผู้หญิงไทย ส่วนผู้ชายก็มีการแต่งกายที่นิยมสำหรับชาวบ้านก็คงหนีไม่พ้นผ้าขาวม้าซึ่ง
นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังมีอยู่
ตัวอย่าง ในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้นหญิงไทยจะนุ่งโจงกระเบนสวนเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงโจง สวม
เสื้อคอปิด ผ่าอกแขนยาว โดยปกติจะไม่นิยมใส่เสื้อ
ซึ่งในปัจจุบันนี้เราหาแทบไม่ได้แล้วสำหรับการแต่งกายแบบนี้ เนื่องจากคนไทยสมัยปัจจุบันนิยมแต่งกายตามแบบนิยม
ตามชาวยุโรปซึ่งทำให้กายแต่งกายแบบอดีตเริ่มเลื่อนหายไปมาก
วัฒนธรรมไทย : ด้านภาษา
ประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใด
ในโลก ทำให้เรามีภาษาไทยใช้มาจนถึงปัจจุบัน และในประเทศไทยก็มีภาษาทางการ คือภาษากลาง ซึ่งคนในประเทศไม่ว่าจะอยู่
ในภาคไหนก็สามารถสื่อสารกันได้ด้วยภาษากลางนั้นเอง เพราะในประเทศไทยเรามีถึง 4 ภาคหลักและในแต่ละภาคก็ใช้ภาษาที่
แตกต่างกันไปบ้างดังนั้นเพื่อให้คนไทยสามารถสื่อสารตรงกันได้เราจึงมีภาษากลางเกิดขึ้นนั่นเอง
วัฒนธรรมไทย : ด้านอาหาร
วัฒนธรรมที่มีความสำคัญกับคนไทยไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมด้านการแต่งกายและวัฒนธรรมด้านภาษาคือวัฒนธรรมด้าน
อาหาร ซึ่งวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยนั้นก็มีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะอาหารการกิน
ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วเราจะเรียกว่าวัฒนธรรมอาหารไทย ซึ่งอาหารไทยนั้นมีมากมายที่ขึ้นชื่อของไทย และโด่งดัง
ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง ผัดไทย เป็นต้น อาหารถือเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของไทย ที่คนไทยควรให้ความสำคัญ และ
ถือว่าอาหารไทยก็ไม่แพ้อาหารของชนชาติใด
วัฒนธรรมไทย : ด้านศิลปกรรม
ถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ โดยเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามก่อให้เกิดความสุขทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่
สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และเป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ผลงาน
ที่ปรากฏตามวัดวาอารามต่างๆ เรือนไทยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ศิลปกรรมไทยที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม
จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณกรรม
ประเภทของวัฒนธรรม
*วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสุขทางกาย อันได้แก่ ยานพาหนะ ที่อยู่
อาศัยตลอดจนเครื่องป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง
*
วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม อันได้แก่
ศาสนาศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี
การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
เหล่านี้คือวัฒนธรรมหลักๆ ที่เรามีอยู่ในประเทศไทยซึ่งจริงๆ แล้วเรายังมีวัฒนธรรมอีกมายมากเพียงแต่อาจจะใช้กันใน
ชุมชนหรือหมู่บ้านของแต่ละท้องถิ่น แต่เมื่อเรามีวัฒนธรรมหลักที่เป็นของเราเองอยู่แล้วเราก็ควรอนุรักษ์ไว้ให้เป็นเอกลักษณ์
ของเราไม่ควรให้ต่างชาติมามีอิทธิต่อเรามากเกินไปเพราะวันหนึ่งเราอาจไม่เหลือวัฒนธรรมไทยอะไรให้จดจำอีกเลย ฉะนั้นเรา
มาร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไว้เถิดเพื่อลูกหลานเราในอนาคตจะได้ไม่หลงลืมไปและพูดถึงประเทศไทยได้อย่างเต็มความ
ภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอดไป
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=765622
ที่มา : http://blog.eduzones.com/poonpreecha/85242