จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

          1. ข้อใดคือความหมายของเกษตรกรรม

                    1.   การปลูกพืช เช่น การทำนา การทำสวน การทำไร่ เป็นต้น

                    2.   การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บก เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู เลี้ยงสัตว์ปีก เป็นต้น

                 กระบวนการผลิตอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

                    4.   การเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดสัตว์น้ำ เป็นต้น

 

          2. ข้อใดคือผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

                      1.   กสิกร เกษตรกร
                      3.   วนกร 4.  กรรมกร

 

          3. ภาคเกษตรกรรมมีความสำคัญเท่าไหร่

                 แรงงานจำนวน 42% ของทั้งโลกอยู่ในภาคเกษตรกรรม

                    2.  แรงงานจำนวน 24% ของทั้งโลกอยู่ในภาคเกษตรกรรม

                    3.   ผลผลิตจำนวน 24% ของทั้งโลกอยู่ในภาคเกษตรกรรม

                    4.   ผลผลิตจำนวน 42% ของทั้งโลกอยู่ในภาคเกษตรกรรม

 

          4. การทำเกษตรกรรมเก่าแก่และเป็นแห่งแรกของโลก เริ่มต้นเมื่อใด

                      1.   100 ปีก่อน ค.ศ. 2.  1,000 ปีก่อน ค.ศ.
                     10,000 ปีก่อน ค.ศ. 4.  100,000 ปีก่อน ค.ศ.

 

          5. การเพาะปลูกเริ่มต้นแห่งแรกของโลก ในภูมิภาคใด

                      1.   เอเชีย เอเชียอาคเนย์
                      3.   อเมริกา 4.  อเมริกากลาง

 

          6. ข้อใดจัดเป็นพืชไร่

                    1.   ดาวเรือง ทานตะวัน องุ่น กระทกรก

                    2.   โกงกาง สน ไม้เบญจพรรณ แสม

                 ธัญพืช พืชตระกูลถั่ว พืชให้น้ำยาง พืชเส้นใย

                    4.   มะม่วง สับปะรด กระเจี๊ยบ ผัก

 

          7. พืชชนิดใดได้รับการพัฒนาจนในปัจจุบัน สามารถปลูกได้ดีในภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                      1.   ข้าว 2.  ข้าวโพด
                      3.   หม่อน ยางพารา

 

          8. ข้อใดถูกต้องตามทฤษฎีใหม่การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน ออกเป็น 4 ส่วนตามอัตรา 30:30:30:10

                    1.   30% ปลูกข้าว 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ สมุนไพร เพื่อเป็นอาหารประจำวัน 30% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ 10% ขุดสระเก็บกักน้ำ

                 30% ขุดสระเก็บกักน้ำ 30% ปลูกข้าว 30% ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ สมุนไพร เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ

                    3.  30% ปลูกไม้ผล ไม่ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ สมุนไพร เพื่อเป็นอาหารประจำวัน 30% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือน 30% ทำป่าไม้ จำหน่ายไม้ และเชื้อเพลิง 10% ขุดสระเก็บกักน้ำ

                    4.  30% ขุดสระเก็บกักน้ำ 30% ปลูกไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ สมุนไพร เพื่อเป็นอาหารประจำวัน 30% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือน 10% ทำป่าไม้ จำหน่ายไม้ ทำเชื้อเพลิง

 

          9. ข้อใด ไม่ใช่ พืชบำรุงดิน และพืชคลุมดิน

                    1.   ถั่วมะแฮะ ถั่วพร่า

                    2.   ถั่วเขียว กระถิน

                 โสณ กล้วย

                    4.  ปอเทือง ขี้เหล็ก

 

          10. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสำคัญ ระดับใด

                      1.   ระดับจังหวัด 2.  ระดับชุมชน / ท้องถิ่น
                   ระดับประเทศ 4.  ระดับบุคคล / ครอบครัว

 

          11. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียงต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะได้แก่ ข้อใด

                    1.   รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง

                 พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

                    3.  พอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

                    4.  ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญา ขยันอดทน

 

          12. เงื่อนไข ความรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือข้อใด

                    1.   ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญา ขยันอดทน แบ่งปัน

                    2.   พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

                 รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง

                    4.  พอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

 

          13. เงื่อนไข คุณธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือข้อใด

                    1.  รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง

                    2.  พอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

                    3.  พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

                 ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญา ขยันอดทน แบ่งปัน

 

          14. การเขียนแผน การทำโครงงานหัวข้อใดที่บ่งบอกว่า “ทำอะไร”

                      1.   ชื่อผู้ดำเนินงาน 2.  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
                     ชื่อโครงงาน 4.  ชื่อสถานที่ประกอบการ

 

          15. การกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการให้ชัดเจน ให้สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ควรเขียนไว้ในหัวข้อใด

                      1.   ชื่อโครงงาน วัตถุประสงค์
                      3.   หลักการและเหตุผล 4.  เป้าหมาย

 

          16. ข้อใดคือ “ผล” ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์

                      1.   ชื่อโครงงาน 2.  หลักการและเหตุผล
                      3.   วัตถุประสงค์ เป้าหมาย

 

          17. การประเมินผลโครงงาน ควรประเมินข้อใด

                    1.   ชื่อโครงงาน หลักการและเหตุผล

                    2.   หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์

                 วัตถุประสงค์ เป้าหมาย

                    4.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม

 

          18. การประเมินความพึงพอใจในผลงาน โดยสมาชิกในกลุ่มเพื่อวัตถุประสงค์ข้อใด

                    1.  เพื่อพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้น

                    2.  รู้ถึงคุณภาพของผลงาน

                    3.   เกิดความภาคภูมิใจในผลงาน

                 ถูกทุกข้อ

 

          19. การสาธิตโครงงาน เพื่อวัตถุประสงค์ข้อใด

                    1.   เพื่อให้ผู้ทำโครงงาน เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงงานให้ครบถ้วน

                 เพื่อให้ผู้ทำโครงงาน มีทักษะการทำโครงงาน

                    3.  เพื่อให้ผู้ทำโครงงาน เตรียมข้อมูลด้านวิชาการเกี่ยวกับการทำโครงงานให้ครบถ้วน

                    4.  เพื่อให้ผู้ทำโครงงาน เตรียมความพร้อมในการทำโครงงาน

 

          20. การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ควรสอดแทรกไว้ในขั้นตอนใดของโครงงาน

                      1.   หลักการและเหตุผล เป้าหมาย
                      3.   วัตถุประสงค์ 4.  ทุกขั้นตอนในการดำเนินงาน