หลักการวาดเส้นภาพคนเหมือนครึ่งตัว (Portrait)
การวาดเส้นภาพคน แบ่งออกเป็น 2 เพศ คือ ผู้หญิง และ ผู้ชาย โครงร่างของ 2 เพศ มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผู้ชายจะมีโครงร่างที่ดูเข้มแข็ง ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเป็นมัด ส่วนผู้หญิงต้องแสดงส่วนโครงร่างส่วนเว้าอย่างชัดเจนแต่ โดยเฉพาะตรงช่วงสะโพกและช่วงหน้าอก การจะวาดภาพคนให้ได้ถูกต้องและสวยงามนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการหมั่นฝึกฝนอย่างจริงจัง จนเกิดความชานาญ โดยเฉพาะส่วนต่างๆ ของร่างกายต้องให้สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง
การวาดเส้น "ภาพคนเหมือนครึ่งตัว"
การวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัวนั้น คือ การวาดตั้งแต่บริเวณส่วนศีรษะจนถึงเอว เป็นการวาดเส้นประเภทที่ผู้เริ่มต้นควรฝึกวาดให้เกิดความชานาญ เพราะใบหน้าเป็นส่วนที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ เช่น ตา หู จมูก ปาก ดังนั้นผู้เริ่มต้นควรฝึกฝนให้เข้าใจ การวาดภาพคนเหมือนนั้นแบ่งสัดส่วนออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วนครึ่ง คือ
ส่วนที่ 1 จากปลายคางถึงปลายจมูก
ส่วนที่ 2 จากปลายจมูกถึงคิ้ว
ส่วนที่ 3 จากคิ้วถึงโคนผม
ส่วนที่ 3 1/2จากโคนผมจนถึงส่วนบนของศีรษะ
ก่อนจะฝึกวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัว ควรฝึกวาดหุ่นปูนเสียก่อน ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัว เช่น หุ่นเหลี่ยม หุ่นวีนัส หุ่นเดวิด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจในการวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัวได้ง่ายยิ่งขึ้นและเพื่อพัฒนาไปสู่การวาดภาพคนเหมือนเต็มตัว (Figure) การวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัวควรแบ่งสัดส่วนให้ถูกต้องชัดเจนเป็นสาคัญ แต่ถ้าฝึกฝนจนชานาญผู้วาดไม่ต้องกาหนดสัดส่วนตามกฎเกณฑ์ก็ได้ โดยอาจจะกาหนดสัดส่วนขึ้นมาเองที่ไม่ต้องลากเส้นแบ่งสัดส่วน แต่ใช้การกะหาระยะด้วยสายตาเอา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและทักษะความชานาญของแต่ละคน
ทั้งนี้ต้องจัดขั้นตอนการฝึกฝนพื้นฐานในการวาดเส้น "ภาพคนเหมือนครึ่งตัว" (Portrait) ด้วยการให้นักศึกษาหรือ ผู้เรียนฝึกวาดจากหุ่นนิ่งปูนปลาสเตอร์ก่อน เพื่อให้ทราบถึงสัดส่วนต่างๆ ของรายละเอียนบนใบหน้า เช่น ช่วงห่างระหว่างศีรษะถึงปลายจมูก และจากปลายจมูกมาถึงปลายคางแบ่งเป็นระยะเท่าๆ กันใช่หรือไม่ ช่วงห่างระหว่าง ดวงตาทั้งสองข้างซ้ายขวาเปรียบเทียบกับสัดส่วนของใบหน้าส่วนอื่นๆ แล้วควรห่างเท่าไร ความกว้างของปีกจมูกกับความกว้างของริมฝีปากเท่ากันหรือไม่ ระดับของใบหูทั้งสองข้างอยู่ตรงไหนถึงจะเหมือนหุ่นต้นแบบ การเลือกมุมมองที่สวยงามเพื่อการฝึกสังเกตแสงเงาและแรเงาน้าหนักต่างๆ จากหุ่นนิ่ง ฝึกการลงน้าหนักแสดงระยะใกล้ไกล เป็นต้น การฝึกฝนพื้นฐานเหล่านี้จะสามารถช่วยให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจทางด้านนี้มีพื้นฐานทางการวาดเส้นอย่างแม่นยา และลอกเลียนแบบได้อย่างเสมือนจริงโดยสังเกตจากต้นแบบที่มาจากสิ่งของใกล้ตัวหรือจากธรรมชาติ
หลักการวาดเส้นภาพคนเต็มตัว (Figure)
การวาดภาพภาพคนเต็มตัวนั้น คือ การวาดคนตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า เพื่อศึกษาระบบกล้ามเนื้อ โครงกระดูก สัดส่วน สรีระร่างกายและท่าทางการเคลื่อนไหว การวาดคนเต็มตัว (Figure) มีการแบ่งสัดส่วนออกเป็นทั้งหมดของร่างกายโดยมาตรฐาน 7 ส่วนครึ่ง คือ
ส่วนที่ 1 จากศีรษะบนสุด จนถึง ปลายคาง
ส่วนที่ 2 จากปลายคาง จนถึง กลางหน้าอก
ส่วนที่ 3 จากกลางหน้าอก จนถึง สะดือ
ส่วนที่ 4 จากสะดือ จนถึง โคนขา
ส่วนที่ 5 จากโคนขา จนถึง กึ่งกลางขาอ่อน
ส่วนที่ 6 จากกึ่งกลางขาอ่อน จนถึง น่อง
ส่วนที่ 7 จากน่อง จนถึง ข้อเท้า
ส่วนที่ 7 1/2 จากข้อเท้า จนถึง ส้นเท้า
การที่จะวาดภาพคนเต็มตัวได้ดีนั้น ควรจะต้องศึกษากายวิภาค (Anatomy) ควบคู่ไปด้วย การศึกษา วิชากายวิภาคจะเป็นการเรียนรู้เรื่องของสัดส่วนเริ่มจากสัดส่วนของกะโหลก กระดูก โครงสร้างของร่างกายทั้งหมด แล้วจึงศึกษาเรื่องกล้ามเนื้อที่ผูกยึดติดกับกระดูกนั้นๆ หลังจากนั้นจึงวาดภาพที่มีผิวหนังห่อหุ้มอยู่เป็นขั้นตอน การเรียนรู้ของกายวิภาคซึ่งจะต้องเรียนรู้ทั้งหมดตั้งแต่ ชาย หญิง วัยรุ่น เด็ก และคนชรา หากเราจะเขียนภาพคนเต็มตัว (Figure) ให้ชานาญถูกต้อง ให้เริ่มโดยการศึกษาเรื่องของโครงกระดูกทั้งร่างกายพยายามจารายละเอียดลักษณะของกระดูกแต่ละส่วนให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะศึกษาเรื่องของกล้ามเนื้อที่มายึดติดกับกระดูก
http://kampon2499.blogspot.com/2014/01/blog-post_30.html |