<< Go Back

การ์ตูนไทย

          การ์ตูนไทย ประวัติจากคำบอกเล่า เริ่มต้นจากเป็นการ์ตูนแนวนิยายพื้นบ้าน ผี และแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ราคาเล่มละหนึ่งบาท โดยมีนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงสมัยนั้น เช่น จุก เบี้ยวสกุล ต่อมาเริ่มมีการ์ตูนแนวตลกสั้น ๆ ในลักษณะ การ์ตูน 3 ช่องจบ ออกมาเพิ่ม เช่น เบบี้ หนูจ๋า ขายหัวเราะ และ มหาสนุก ส่วนการ์ตูนไทยในลักษณะมังงะอย่างที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบันนั้น น่าจะมีมาไม่ถึงยี่สิบปี โดยนิตยสารการ์ตูนไทยในแนวมังงะยุคบุกเบิกได้แก่ ไทคอมมิค (Thai Comic) ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และ เอ-คอมมิค (a-comic) และ cartoon thai studio ของ สยามอินเตอร์คอมมิค

ประวัติ

ยุคแรก


ภาพล้อฝีมือขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) นักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองคนแรกของไทย


ปกหนังสือการ์ตูนเล่มละบาทของสำนักพิมพ์บางกอกสาส์นวาดโดย ชายชล ชีวิน


ปกการ์ตูนนิยายภาพเรื่อง "อวสานอินทรีแดง" จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น วาดโดย ราชันย์ (ภาพจากนิตยสาร "รู้รอบตัว" ฉบับที่ 50 มีนาคม 2533)

          ประวัติศาสตร์การ์ตูนไทยเริ่มจากการเข้ามาของวิทยาการเขียนภาพแบบตะวันตก ซึ่งขรัวอินโข่ง จิตรกรในสมัยรัชกาลที่ 3 - รัช กาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้นำมาใช้เป็นคนแรกในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังลักษณะเหมือนจริง หลายคนจึงถือกันว่าท่าน เป็นนักเขียนการ์ตูนไทยคนแรกต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ภาพล้อหรือการ์ตูน ในเมือง ไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะแนวการ์ตูนล้อการเมือง ยุคนี้ได้มีนักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองคนแรกเกิดขึ้น คือ ขุนปฏิภาค พิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) แม้รัชกาลที่ 6 เองก็โปรดการ์ตูนลักษณะดังกล่าว ดังปรากฏหลักฐานว่า มีภาพวาดฝีพระหัตถ์ล้อเหล่าเสนาบดี และข้าราชบริพารในพระองค์อยู่เสมอๆ ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ดุสิตสมัย

          ถึงสมัยรัชกาลที่ 7 วงการการ์ตูนซบเซาลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ จนถึง พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ทำให้นักเขียนการ์ตูนมีเสรีภาพในการเสนอความคิดเห็นมากขึ้น จึงมีนักเขียนการ์ตูนดังๆ เกิดขึ้นในยุคนี้หลายคน อาทิ สวัสดิ์ จุฑะรพ  ผู้นำเรื่องสังข์ทองมาวาดเป็นการ์ตูนเรื่องยาวเรื่องแรกของประเทศไทย ลงในหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ และเจ้าของตัวการ์ตูน "ขุนหมื่น" ซึ่งดัดแปลงมาจากป๊อบอายและมิกกี้ เมาส์ โดยเป็นตัวตลกแทรกอยู่ในการ์ตูนจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องต่างๆ ต่อมานักเขียนการ์ตูน คนอื่นๆ จึงสร้างการ์ตูนตัวหลักของตัวเองขึ้นมาบ้าง นอกจากนี้ยังมีนักเขียนการ์ตูนแนวเดียวกับ สวัสดิ์ จุฑะรพ คนอื่นๆ เช่น วิตต์ สุทธิเสถียร จำนงค์ รอดอริ ส่วนนักเขียนในยุคเดียวกันแต่วาดคนละแนวก็มีเช่นกัน เป็นต้นว่า ฉันท์ สุวรรณบุณย์ ผู้บุกเบิกการ์ตูน สำหรับเด็กเป็นคนแรกของประเทศไทย

          ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การ์ตูนไทยซบเซาลงจากภัยสงครามเช่นเดียวกับวงการวรรณกรรม เมื่อสิ้นสงครามแล้ว วงการการ์ตูน ไทยจึงฟื้นตัวอีกครั้ง ในยุคนี้ปรากฏนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น ประยูร จรรยาวงษ์ นักเขียนการ์ ตูนเจ้าของฉายา "ราชาการ์ตูนไทย" ซึ่งวาดทั้งการ์ตูนตลกและการ์ตูนการเมือง ในยุคเดียวกันนี้ก็มีนักวาดภาพประกอบผู้โด่งดังซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ
 เหม เวชกร ซึ่งน้อยคนนักจะรู้ว่าท่านก็วาดการ์ตูน ด้วยเหมือนกัน พ.ศ. 2495 ได้มีการ์ตูนสำหรับเด็กเกิดขึ้นเป็นเล่มแรก คือ หนังสือการ์ตูน "ตุ๊กตา" อันเป็นผลงานของพิมล กาฬสีห์ มีตัวละคร หลักสี่คน คือ หนูไก่ หนูนิด หนูหน่อย และหนูแจ๋ว และประสบ ความสำเร็จอย่างสูง (เลิกออกประมาณ พ.ศ. 2530 เนื่องจากพิมล กาฬสีห์ เสียชีวิต) หลังจากนั้นจึงมีการ์ตูน สำหรับเด็กออกมาอีกหลาย เล่ม เช่น การ์ตูน "หนูจ๋า" ของ จุ๋มจิ๋ม (จำนูญ เล็กสมทิศ) ซึ่งเริ่มวางแผงเล่มแรกเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2500 และที่ได้รับความนิยมตาม มาอีกเล่มก็คือการ์ตูน"เบบี้" ของ วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ ซึ่งเริ่มวางแผงฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2504 ตัวการ์ตูนหลักของเบบี้นั้นมีมาก ถึงสิบกว่าคนบางตัวก็มีการนำ ไปแสดงหนังโฆษณาก็มี คือคุณโฉลงและคุณเต๋ว หนังสือทั้งสองเล่มนี้อยู่ในเครือสำนักพิมพ์บรร ลือสาส์น และยังคงออกมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

          นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กที่แฝงสาระมากอีกเล่มหนึ่งก็คือ ชัยพฤกษ์การ์ตูน ซึ่งมี ทาร์ซานกับเจ้าจุ่น เป็นตัวชู โรง ผู้วาดก็คือ รงค์ นักเขียนการ์ตูนนิยายภาพที่สร้างชื่อเสียงในชัยพฤกษ์การ์ตูน อย่างเช่น เตรียม ชาชุมพร ที่เขียนเรื่อง "เพื่อน" โอม รัชเวทย์ สมชาย ปานประชา พล พิทยกุล เฉลิม อัคภู ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ได้ปิดตัวไปแล้วนักเขียนคนอื่นที่มีชื่อเสียงร่วมสมัยได้แก่  พ.บางพลี (เจ้าของผลงานเรื่อง อัศวินสายฟ้า และศรีธนญชัย), ราช เลอสรวง, จุก เบี้ยวสกุล ฯลฯ ซึ่งในยุคนี้ส่วนมากจะนิยมวาดการ์ตูน เรื่อง บางเรื่องยาวเป็นร้อยๆ หน้า นับว่าเป็นยุคทองของการ์ตูนเรื่องทีเดียว

          มายุคต่อเนื่องจาก ชัยพฤกษ์การ์ตูน กลุ่มนักการ์ตูนแนวหน้า 5 ท่าน มารวมกลุ่มกันใหม่ชื่อว่า กลุ่มเบญจรงค์ เปิดเป็น สำนักงานเล็กแถวสีแยกเสือป่า ถนนเจริญกรุง โดยมี เตรียม ชาชุมพร, โอม รัชเวทย์, สมชาย ปานประชา, พล พิทยกุล, เฉลิม อัคภู ทำหนังสือการ์ตูนรายเดือน ขึ้นมา ชื่อ "เพื่อนการ์ตูน" อยู่ในตลาดได้พักใหญ่ก็ปิดตัวลง ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ก็มีกล่มทำงานเล็กๆกลุ่ม หนึ่ง ซึ่งห้องข้างๆของ กลุ่มเบญจรงค์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสำนักพิมพ์คุณภาพผลิตหนังสือสำหรับ เด็กมากมายนั่นคือสำนักพิมพ์ ห้องเรียนโดยคนคุณภาพอย่าง คุณศิวโรจน์, คุณเล็ก เป็นกำลังสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นยุคที่เงียบหาย

          การ์ตูนไทยยังแอบทำหน้าที่เงียบๆ ตามซอกหลืบ เป็นการ์ตูนราคาถูกที่พอให้ผู้อ่านหาซื้อได้โดยเบียดเบียนเงิน ในกระเป๋า ให้น้อยที่สุด อาจจะลดคุณภาพลงบ้างตามความจำเป็น นี่คือยุคของ "การ์ตูนเล่มละบาท" โดยเริ่มเกิดขึนครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์สากล ต่อมาหลายสำนักพิมพ์ก็ทำตามออกมา สำนักพิมพ์สุภา, บางกอกสาส์น, สำนักพิมพ์สามดาว เป็นต้น นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาว นานที่การ์ตูนทำหน้าที่เพื่อต่อผ่านไปยังการ์ตูนยุคต่อมา แม้กระนั้นนักเขียนการ์ตูนยุคนั้นก็ฝากฝีมือไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม หลายท่านด้วย ก้น เช่น นักรบ รุ่งแก้ว, รุ่ง เจ้าเก่า, ชายชล ชีวิน, แมวเหมียว, ราตรี, น้อย ดาวพระศุกร์, ดาวเหนือ, เพลิน, เทพบุตร, มารุต เสกสิทธิ์, นอม เป็นต้น โดยบางครั้งก็ได้นักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงในยุคก่อนหน้านั้นช่วยเขียนปกให้ เพื่อเสริมคุณภาพขึ้นอีกระดับหนึ่ง เช่น จุก เบี้ยวสกุล เป็นเหตุทำให้การ์ตูนเล่มละบาท ได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมากในยุคหนึ่ง จนสามารถทำให้คำว่า"การ์ตูนเล่มละบาท" กลายเป็นตำนาน เป็นชื่อเฉพาะ และเป็นสัญลักษณ์ ที่เรียกกันมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นสไตล์การ์ตูนที่มีลักษณะเฉพาะสำนักพิมพ์ที่เป็น แหล่งรวมของนักเขียนการ์ตูน มีมากมาย เช่น บางกอกสาส์น, ชนะชัย การ์ตูนเล่มละบาทนี้เป็นที่ฝึกฝนฝีมือของนักเขียนการ์ตูน หน้าใหม่ นักเรียนศิลปะที่ต้องการหารายได้ในระหว่างเรียนหนังสือ ปัจจุบันหลายท่านกลายเป็นนักเขียนการ์ตูนคุณภาพระดับแนว หน้าของเมืองไทยแนวเรื่องของการ์ตุนเล่มละบาท มีทั้งเรื่องชีวิต, เรื่องผี, เรื่องตลก, นิทาน, เซ็กซ์ โดยเฉพาะเรื่อง "ผี" เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมอย่างมากของผู้อ่าน เป็นความตื่นเต้นแบบง่ายๆ ที่ใกล้ชิดชาวบ้านมากที่สุด

ยุคปัจจุบัน

          ปัจจุบัน การ์ตูนไทยที่ถือได้ว่าครองใจคนทุกเพศทุกวัยเป็นอันดับหนึ่งของประเทศในเวลานี้ก็คือ ขายหัวเราะ-มหาสนุก ในเครือ สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ซึ่งแนวทางการ์ตูนจะเป็นการ์ตูนประเภทการ์ตูนแก๊กและการ์ตูนเรื่องสั้นจบในตอนเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียว กันก็เริ่ม มีการพัฒนาการ์ตูนไทยรูปแบบคอมมิคขึ้น จากกลุ่มคนที่มีประสบการณ์การ อ่านการ์ตูนแนวมังงะของญี่ปุ่น เท่าที่ปรากฏ ในเวลานี้ สำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์การ์ตูนไทยแนวดังกล่าวได้แก่ สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ สำนักพิมพ์บุรพัฒน์ และสำนักพิมพ์ เนชั่น

          เอ็ดดูเทนเมนท์ ตลาดของการ์ตูนกลุ่มนี้ส่วน ใหญ่เน้นที่กลุ่มวัยรุ่น ในขณะที่การ์ตูนนิยายภาพแบบดั้งเดิมยังคงมีการผลิตอยู่เรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะอิงกับตลาดระดับล่างเช่นหนังสือเล่มละบาท ซึ่งปัจจุบันปรับตัวมาขายในราคาเล่มละห้าบาทการ์ตูนในเมืองไทย เริ่มพัฒนาต่อเนือง หลังจากการ์ตูนแนวญี่ปุ่นเข้ามากระตุ้นตลาดการ์ตูนไทยในช่วงหลายปี่ที่ผ่าน นักวาดการ์ตูนที่เป็นเด็กรุ่นไหม่ ได้ซึมซับการ์ตูนแนวมังงะจนเกิดการ์ตูนแนวนี้ขึ้นมาอย่างแพร่หลายในตลาด มีหลายสำนักพิมพ์ที่เป็นหัวหอกสำคัญทำหนังสือการ์ตูน ไทยในแนวมังงะ เช่นไทยคอมมิก ของวิบูลย์กิจ การตอบรับ ของผู้อ่านเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเกิดเหตุการณ์การ์ตูนแนวมังงะฟรีเวอร์ เกิดการ์ตูนความรู้ในรูปแบบการ์ตูนภาพเกิดขึ้น เช่นเรื่อง รามเกียรติ ซึ่งประ สบความสำเร็จขายดีถล่มทลาย จนมีหนังสือในแนวนี้ออก มาเต็มตลาดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน กระตุ้นให้เกิดนักวาดการ์ตูน มากมายซึ่งเป็นผลดีต่อวงการเป็นอย่างมาก

          อีกช่วงของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดของการ์ตูนไทย คือการ์ตูนที่ไม่เป็นแนวตลาดซึ่งพัฒนาแยกออกจากการ์ตูนแนวมัง งะอีกที มีลักษณะการออกแบบมีความเป็นเฉพาะมากขึ้น แนงเรื่องก็เฉพาะเจาะจงมากขึ้น กำลังได้รับความนิยมของคนอ่านขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากเกิดหนังสือการ์ตูนรายเดือนวางตลาด เช่น หนังสือชื่อ"Lets" ในกลุ่มของสตาร์พิค และกำลังจะออกมาอีกหลายๆเล่ม ในขณะที่การ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาในไทยก็ได้มีชนกลุ่ม หนึ่งอยากผลิดการ์ตูนขึ้นเองบ้างแต่ก็มีลาย เส้นป็นเอกลักษ์เฉพาะตัวจะเห็น ได้จากพวกที่วางขายของ hand made ตามถนนแต่บางพวกก็ส่งผลงานเข้าสำนักพิมพ์ที่อยู่ใน ไทยก็มี เช่น สำนักพิมพ์ NED สำนักพิมพ์  จิณนา สตูดิโอ  สำนักพิมพ์บงกช พับลิชชิ่ง ก็มี ปัจจุบันมีการสอนวาดรูปการ์ตูนชนิดนี้มากขึ้น โดยสื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบท บาทสำคัญ ในการพัฒนาฝีมือโดยอาศัยแลกภาพกันติชม วิจารณ์ผ่านเว็บบอร์ด หรือสร้างเว็บไซต์แสดงผลงานกันในอินเทอร์เน็ต อีกทั้งงานประจำปีของการ์ตูนปัจจุบันมีมากมาย หลากหลายไม่แต่เฉพาะในกรุงเทพ ยังขยายไปตามต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น

          มังงะคือการ์ตูนที่ชาวญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นในช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยญี่ปุ่นที่แพ้สงครามได้รับอิทธพลจากการ์ตูนของ อเมริกาที่นำเข้ามาพร้อมกับอเมริกาในสมัยนั้นต่อมา เท็ตสึกะ โอซามุ เป็นคนแรกที่นำการเล่าเรื่องคล้ายกับภาพยนตร์มาใช้ในนิยาย ภาพจนเกิดสไตล์การเล่าเรื่องที่สมจริงคล้ายภาพยนตร์ ชาวญี่ปุ่นจึงใช้วิธีการเล่าเรื่องลักษณะนี้จะพัฒนามาเป็นมังงะในปัจจุบันแนว มังงะในไทย คือ การ์ตูนไทยที่ได้รับอิทธิพลการวาด การเล่าเรื่อง การออกแบบตัวละครแบบมังงะดังที่อธิบายไปข้างต้น

ภาพยนตร์การ์ตูนไทย

          สุดสาคร ถือได้ว่าเป็น ภาพยนตร์การ์ตูนไทยเรื่องแรก เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 สงบไปไม่นาน ก่อนที่จะมี  ก้านกล้วยประวัติพระพุทธเจ้า และ นาค ดังที่รู้จักกันในปัจจุบัน

          อย่างไรก็ตาม พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ได้กล่าวถึงแอนิเมชันของไทยว่า ยังไม่ได้รับการแก้ไขในเรื่องของการเคลื่อนไหว ที่ค่อนข้างเร็ว เกินไปในฉากแอ็คชั่น

การตอบรับ

          เดิมที หลายคนต่างมีความเห็นว่าวงการการ์ตูนไทยอาจไปไม่รอด แต่ในปัจจุบัน การ์ตูนไทยได้เป็นสื่อที่ได้รับการ ยอมรับอย่าง กว้างขวาง รวมทั้ง มีนักเขียนการ์ตูนชาวไทยหลายท่านที่ประสบความสำเร็จโดยสามารถสร้างชื่อเสียง ในต่างแดนครั้งหนึ่ง วีรวิชญ์ ธนพงศ์ทวีวุฒิ ซึ่งเป็นนักวาดการ์ตูนไทยเจ้าของนามปากกา ปีกนกบูรพา ได้ให้สัม ภาษณ์กับทางมติชนว่า ปัจจุบัน ภาพลักษณ์ของ วงการการ์ตูนไทยดีกว่าที่มีอยู่เดิมเป็นอย่างมาก โดยเริ่มได้รับความ นิยมตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2553 - 2554 ซึ่งมีการจ้างงานและจัดจำหน่าย เพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนที่ภาพพจน์ของ นักเขียนการ์ตูนไม่ค่อยดีเท่าใดนัก ก่อนที่กลุ่มนักเขียนการ์ตูนได้ร่วมกันช่วยยกระดับ ให้ดีขึ้นในเวลาต่อมา

 

ที่มา - th.wikipedia.org/wiki/การ์ตูนไทย