<< Go Back

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี


ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

            ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ  คอร์ราโด เฟโรชี - Corrado Feroci ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย โดยได้สร้าง คุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง และครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากร  จนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์และได้รับการยกย่องเป็น ปูชนียบุคคล ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย ได้แก่ พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่สวนลุมพินี และ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย และเป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัย ศิลปากร


อนุสาวรีย์ศิลป์ พีระศรี ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

ประวัติ

            ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์  ประเทศ อิตาลี บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci เมื่ออายุ 23 ปี สามารถสอบผ่านเป็น ศาสตราจารย์ จากราชวิทยาลัยศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (The Royal Academy of Art of Florence)

            ปี พ.ศ. 2441 ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม หลักสูตร 5 ปี หลังจากจบหลักสูตร จึงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนระ ดับมัธยมอีก 5 ปี หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้าน ประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม

            ปี พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงเดินสู่ แผ่นดินสยาม เพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา

            ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาเลียน  ในประเทศไทยตกเป็น เชลยของ ประเทศเยอรมนี กับ ญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง และ  หลวงวิจิตรวาทการ  ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของ ท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟ สายมรณะ และ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี

         ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ  โรงเรียนประณีต ศิลปกรรม  ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง และในปีพ.ศ. 2485กรมศิลปาก รได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนัก นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะ นั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็น วัฒนธรรม ที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ อธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน  ดำเนินการ ปรับปรุงหลักสูตร และ ตรา พระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร  มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขา จิตรกรรม และสาขา ประติมากรรม โดยมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรง ตำแหน่งคณบดี คนแรก

            ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์ สำคัญของประเทศไทย โดยการปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2472 - 2477 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. 2484 พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล

            ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน

เกียรติยศ

วันสำคัญ

            จัดตั้งวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี เป็น วันศิลป์ พีระศรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2470 - Order of the Crown of Thailand - 4th Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
  • พ.ศ. 2475 - Order of the White Elephant - 5th Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
  • พ.ศ. 2482 - Order of the Crown of Thailand - 3rd Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
  • พ.ศ. 2483 - Order of the White Elephant - 3rd Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
  • พ.ศ. 2492 - Order of the Crown of Thailand - 2nd Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
  • พ.ศ. 2495 - Order of the White Elephant - 2nd Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
  • พ.ศ. 2496 - Dushdi Mala - Civilian (Thailand).png เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ฝ่ายพลเรือน) (ร.ด.ม.(ศ))
  • พ.ศ. 2497 - Order of the Crown of Thailand - 1st Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)




       ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2435 (ค.ศ.1892) ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี นามเดิมคือ คอร์ราโด เฟโรจี ตรงกับรัชกาล 6 ในขณะนั้น รัฐบาลประเทศสยาม มีนโยบายขอให้รัฐบาลประเทศอิตาลีคัดเลือกประติมากรผู้มีฝีมือ มารับราช การปฏิบัติงานหมีคำไม่สุภาพ ละถ่ายทอดความรู้แก่ชาวสยาม ให้มีความรู้ทางด้านศิลปะทัดเทียมกับชาวตะวันตก ตามพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ.2466 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงได้รับมอบหมายและเดินทางมารับราชการ กรมศิลปากร กระทรวงวัง ในตำแหน่งช่างปั้น ที่ประเทศสยาม ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2466 เมื่ออายุท่านย่าง 32 ปี ผลงานที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงจนได้รับเลือกมารับราชการในประเทศสยาม คือ ประติมากรรมอนุสาวรีย์สงคราม ที่เมืองปอร์โต เฟอราอิโอ ทางด้านชีวิตครอบครัว ก่อนเดินทางมาประเทศไทย ท่านเคยแต่งงานมาครั้งหนึ่งแต่ได้แยกทางกัน และท่านเดินทาง มากับภริยาใหม่ คือ นางฟันนี วิเวียนนี และได้ใช้ชีวิตร่วมกันในประเทศสยาม จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวขอท่านจึงกลับประเทศอิตาลีพร้อมลูกชาย และลูกสาว แต่ท่านกลับอยู่ประเทศสยามด้วยความเสียสละเพื่องานศิลปะ และด้านศิลปะศึกษาที่ท่านรัก ท่านแยกทางกันแต่มีโอกาสได้พบกันเมื่อท่านลางานเพื่อเยี่ยมเยือนครอบครัวในบางปี


     ปี พ.ศ.2486 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี มีสัญชาติอิตาเลี่ยนซึ่งแพ้สงครามจึงถูกกักกันตัว (บางครั้ง กล่าวว่ากักบริเวณ ) ท่านจึงเปลี่ยนชื่อ และสัญชาติโดยมีชื่อ “ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” แทนนามเดิม ท่านแต่งงานกับคุณมาลินี แคนนี่ แต่ไม่มีบุตร ธิดาด้วยกัน ท่านอุทิศตนจนถึงวาระสุดท้ายให้กับการบุกเบิกศิลปะ และศิลปะศึกษาในประเทศไทย แม้อายุท่านล่วงเลยเกิน 60 ปีแล้ว จวบจนท่านถึงแก่กรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2505 โดยสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมโดยเฉพาะ อนุสาวรีย์ที่สำคัญต่างๆ ในประเทศไทย


ความรับผิดชอบในหน้าที่ 
          ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ให้การอบรมแก่ศิษย์ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติโดยมิได้เหน็ดเหนื่อย ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันขันแข็ง ท่านมาทำงานแต่เช้าก่อนเวลา ๘.๐๐ น. และกลับบ้านหลังเวลา ๑๘.๐๐ น.ทุกวัน ตั้งใจถ่ายทอดวิชาอย่างจริงจัง ทำให้ศิษย์ทุกคน มีความขยัน หมั่นเพียร ใครเกียจคร้านท่านจะไม่พูดด้วย ท่านชอบที่อยู่ใกล้ศิษย์เสมอ ปกติท่านมิเคยลาป่วยหรือลาหยุดแล้ว ในทางตรงกันข้ามมาทำงานตั้งแต่เช้ายันค่ำ ท่านทำงานไม่หยุดว่าง ทั้งงานประติมากรรมอนุสาวรีย์ของส่วนราชการ และงานสอน ที่ท่านทุ่มเท ท่านเคารพต่อราชการไม่เคยใช้เวลาราชการ และไม่เคยทำงานพิเศษเป็นส่วนตัวแสวงหารายได้เพื่อเลี้ยงชีพเพิ่มพูนรายได้ นอกจากเงินเดือนราชการความขยันหมั่นเพียรของท่าน ควรค่าแก่การเคารพในเกียรติยศของท่าน

ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร
          ปี พ.ศ.2469 ศาสตราจารย์ศิลป์ ได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดกองประณีตศิลปกรรม กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ ระหว่างนั้นท่านได้เริ่มสอนศิลปะแก่ผู้สนใจโดยเฉพาะทางด้านประติมากรรม ทั้งทางด้านทฤษฎี และปฏิบัติ ศิษย์รุ่นแรกๆส่วนใหญ่ มาจากโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อทางราชการเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาทางด้านศิลปะจึงให้ท่านเป็นผู้วางหลักสูตร และตำราขึ้น โดยมีมาตรฐานเช่นเดียวกับยุโรป อาจารย์ดำรง วงศ์อุปราช กล่าวว่า ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นบุคคลผู้มีความสำคัญที่สุดในการ ทำให้เกิดศิลปิน และศิลปะแบบใหม่ขึ้นในประเทศไทยอย่างแท้จริง ศิลปินมีการสร้างสรรค์ศิลปะที่มีฐานของความรู้และความเข้าใจ ท่านเห็นว่า การสร้างสรรค์งานศิลปะนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบและแบบแผน ท่านจึงพยายามให้ทางราชการเปิด โรงเรียนสอนศิลปะ จนเปิดโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้น    ในปี พ.ศ.2477 กรมศิลปากรจึงจัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์เป็นผู้อำนวยการและเป็นผู้สอนวิชาศิลปะทั้งทางด้านทฤษฎี และปฏิบัติ โรงเรียนประณีตศิลปกรรมได้ยกฐานะ เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ.2486 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นโรงเรียนสอนศิลปะสากลแห่งแรกของประเทศสยามและเอเชียอาคเนย์


ผู้วางรากฐานการศึกษา และริเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยช่างศิลป์
     ในระดับเตรียมมหาวิทยาลัยนั้น ท่านได้ริเริ่มวางรากฐานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 การเรียนศิลปะ ศาสตราจารย์ศิลป์ กล่าวว่า การศึกษาศิลปะ ต้องใช้เวลามาก อย่างน้อยต้อง 8 ปี แต่ในระดับปริญญาตรี ใช้เวลา 5 ปี ท่านจึงสนับสนุนให้ตั้งโรงเรียนศิลปศึกษา หรือโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร และสามารถเปิดเป็นโรงเรียนศิลปศึกษาขึ้น ในปี พ.ศ.2495 ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น โรงเรียนช่างศิลป และปัจจุบันคือวิทยาลัยช่างศิลป ตามลำดับ ซึ่งจัดการเรียนการสอนทางด้านศิลปะระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และผลิตบุคลากรศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทางด้านศิลปะมาเป็นเวลานาน ในการจัดทำหลักสูตร ในช่วงเริ่มต้นเปิดโรงเรียนนั้น อาจารย์ประยูร อุลุชาฏะ เป็นผู้ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ไว้วางใจให้เป็นผู้จัดทำหลักสูตร ตลอดจนการดำเนิน งานต่างๆในขั้นแรกเริ่มตั้งโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร ในขณะนั้นยังไม่มีสถานที่เรียน ต้องอาศัยสถานที่ในมหาวิทยาลัย ศิลปากร จนเมื่อย้ายสถานที่เรียนมาอยู่ที่ตึกกระทรวงคมนาคม ซึ่งถูกรื้อ และสร้างเป็นโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน

ที่มา - th.wikipedia.org/wiki/ศิลป์_พีระศรี
ที่มา - http://www.thaiart.in.th/index.php?topic=44.0