สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน: วงดนตรีพื้นเมือง

    << Go Back

วงดนตรีพื้นเมือง
             วงดนตรีพื้นเมือง คือวงดนตรีที่คนในท้องถิ่นคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงหรือประกอบการแสดงชุดต่าง ๆ ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เครื่องดนตรีที่ใช้จะเป็นเครื่องดนตรีที่ท้องถิ่น นั้น ๆ จัดทำขึ้นเอง ส่วนมากเป็นแบบง่าย ๆ วัสดุที่ใช้ทำเป็นวัสดุหาง่าย ๆ ในท้องถิ่นนั้น ๆ
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ คือวงดนตรีที่คนในท้องถิ่นภาคเหนือได้คิดค้นจัดวงขึ้น ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีในท้องถิ่นภาคเหนือเอง ได้แก่ กลองขนาดใหญ่ (กลองแอว) ฉาบ ฆ้องหุ่ย ปี่จุม เป็นต้น นำมาผสมวงเพื่อใช้บรรเลงประกอบการขับร้องและประกอบการแสดงการฟ้อนต่าง ๆ ของภาคเหนือ เช่น วงสะล้อซอซึง เป็นต้น
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้


วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
ที่มาภาพ : http://www.chiangrai.ru.ac.th/app/Culture8.html
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ คือวงดนตรีที่คนในท้องถิ่นภาคใต้ใช้บรรเลงประกอบการแสดงพื้นเมืองของชาวภาคใต้ เช่น วงปี่พาทย์ชาตรีใช้บรรเลงประกอบการแสดงโนราห์และหนังตะลุง วงกาหลอใช้บรรเลงในงานศพ และวงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงรองเง็ง ซึ่งประกอบด้วยไวโอลิน กลองแขก และกลองอเมริกัน เป็นต้น
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน
             วงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน คือวงดนตรีที่คนในท้องถิ่นภาคอีสานใช้บรรเลงประกอบการแสดงพื้นเมือง เช่น การฟ้อนรำ (เซิ้ง) ที่มีลีลาจังหวะสนุกสนาน รวดเร็ว กระฉับกระเฉง ได้แก่ วงแคน วงโปงลาง เป็นต้น
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง
             ส่วนในภาคกลางจะนิยมเล่นเพลงพื้นบ้าน จะไม่มีวงดนตรีพื้นเมือง ส่วนวงดนตรีที่ใช้ในโอกาสต่าง ๆ จะใช้วงดนตรีไทยธรรมดา เพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันในแถบภาคกลาง ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงปรบไก่ เพลงพิษฐาน เพลงอีแซว เพลงพวงมาลัย เป็นต้น

ลักษณะดนตรีพื้นเมือง
              1. บทเพลงต่างๆ ตลอดตนวิธีเล่น วิธีร้อง มักจะได้รับการถ่ายทอดโดยการสั่งสอนกันต่อๆมาด้วยวาจา และการเล่นหรือการร้องให้ฟัง การบันทึกเป็นโน้ตเพลงไม่ใช่ลักษณะดั้งเดิมของดนตรีพื้นบ้าน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดดนตรีพื้นบ้านโดยการใช้โน้ตดนตรีกันบ้างแล้ว
              2. เพลงพื้นบ้านมักเป็นบทเพลงที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ มิใช่แต่ขึ้นมาเพื่อให้ฟังเฉยๆ หรือเพื่อให้รู้สึกถึงศิลปะของดนตรีเป็นสาคัญจะเห็นได้ว่า เพลงกล่อมเด็กมีขึ้นมาเพราะต้องการใช้ร้องกล่อมเด็กให้ เป็นต้น
              3. รูปแบบของเพลงพื้นบ้านไม่ซับซ้อน มักมีทานองหลัก 2-3 ทานองร้องเล่นกันไป โดยการเปลี่ยนเนื้อร้อง จังหวะประกอบเพลงมักจะซ้าซากไปเรื่อยๆ อาจจะกล่าวได้ว่าดนตรีหรือเพลงพื้นบ้านเน้นที่เนื้อร้อง หรือการละเล่นประกอบดนตรี เช่น การฟ้อนราหรือการเต้นรา
              4. ลักษณะของทานองและจังหวะเป็นไปตามลักษณะของกิจกรรม หรือการละเล่น เช่น เพลงกล่อมเด็กจะมีทานองเย็นๆเรื่อยๆ จังหวะช้าๆ เพราะจุดมุ่งหมายของเพลงกล่อมเด็กต้องการให้เด็กผ่อนคลายและหลับกันในที่สุด ตรงกันข้างกับเพลงราวงจะมีทานองและจังหวะสนุกสนานเร็วเร้าใจเพราะต้องการให้ทุกคนออกมารายราเพื่อความครึกครื้น
              5. ลีลาการร้องเพลงพื้นบ้านมักเป็นไปตามธรรมชาติ การร้องมิได้เน้นในด้านคุณภาพของเสียงสักเท่าใดลีลาการร้องไม่ได้ใช้เทคนิคเท่าใดนัก โดยปกติเสียงที่ใช้ในการร้องเพลงพื้นบ้านไม่ว่าชาติใดภาษาใดมักจะเป็นเสียง ที่ออกมาจากลาคอมิได้เป็นเสียงที่ออกมาจากท้องหรือศีรษะ ซึ่งเป็นลีลาการร้องเพลงของพวกเพลงศิลปะ
              6. เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงพื้นบ้านมีลักษณะเฉพาะเป็นของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ทาให้เราได้ทราบว่า ดนตรีพื้นบ้านที่ได้ยินได้ชมเป็นดนตรีของท้องถิ่นใด หรือของชนเผ่าใดภาษาใด ตัวอย่าง เช่นดนตรีพื้นบ้านของชาวภาคเหนือจะมี ซึง สะล้อ เป็นต้น

ประเภทวงดนตรีพื้นเมือง
             ๑. ประเภทวงเครื่องสายพื้นเมือง  เรียกว่า วง สะล้อ ซอ ซึง ประกอบด้วย สะล้อ ปี่หรือขลุ่ยพื้นเมือง (หรือขลุ่ยหลีบ) ใช้กลองพื้นเมือง (กลองป่งป้ง) และฉาบเป็นเครื่องประกอบจังหวะสำหรับฉิ่งไม่นิยมใช้กับวงประเภทนี้แต่จะนำมา ใช้ก็ได้
             ๒. วงปี่จุม เป็นวงประเภทเครื่องเป่า จะมีปี่ขนาดต่าง ๆ กัน เล่นรวมกัน 3-5 เลา หรืออาจจะเล่นถึง 5 เลา โดยมีซึงเป็นเครื่องประกอบ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบทำนองและจังหวะ จะไม่ใช้เครื่องประกอบจังหวะอย่างอื่นมาร่วมเล่นด้วย วงปี่จุมจะใช้ประกอบการสอน
             ๓. วงป้าดก๊อง หรือวงเท่งติ้ง    มีลักษณะคล้ายวงปี่พาทย์จะมีระนาด ป๊าด (ฆ้องวง) ปี่ฉาบใหญ่ (สว่า) กล่องเท่งติ้ง (ตุ้มปิ้ง)
             ปัจจุบันในหลาย ๆ ท้องที่ ได้นำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาประสมวงแล้วเรียกตัวเอง “วงแห่พื้นเมืองประยุกต์”
             ๔. วงก๊องก๋อง   เป็นวงประเภทที่ใช้กลองเป็นเครื่องดนตรีหลักในการบรรเลง มีหลายประเภท เช่น
                          ๔.๑ วงก๋องตึ่งนง หรือ ตึ้งบ้ง มีกลองแอว กลองตะล๊ดป๊ด และฉาบใหญ่ (สว่า) มีการนำปี่แนมาประกอบ ใช้บรรเลงประกบการฟ้อนเล็บและขบวนแห่ครัวทาน
                          ๔.๒ วงกลองปู่จา (บูชา) มีกลองสองหน้าขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เรียกว่า ลูกตุบ อีกประมาณ 3 ลูก เวลาตีจะมีผู้ตีใช้ไม้เรียวเล็ก ๆ ตีข้างกลองใหญ่ ตีให้จังหวะ เรียกว่า ตีแสะ บางแห่งอาจจะนำฆ้องใหญ่ (มุยหรือฆ้องอุ้ย) ฆ้องโหม่งขนาดกลาง (ฆ้องโหย้ง) และฉาบใหญ่ (สว่า) เป็นเครื่องประกอบจังหวะ นิยมใช้ตีเมื่อเป็นสัญญาณบอกเหตุ เช่น เรียกประชุม แจ้งเหตุฉุกเฉิน ตีเป็นสัญญาณบอกวันโกน ตีเป็นพุทธบูชาในวันพระหรือตีเป็นมหรสพในงานบุญของวัด
                          ๔.๓ กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่ย่อส่วนมาจากกลองในข้อ ๔.๒ (กลองบูชา ออกเสียงเป็น ก๋องปู่จา) โดยลดขนาดตามความยาวของตัวกลองลง แล้วใส่คานหาม ใช้คนหาม 2 คน เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย เพื่อนำมาประกอบในขบวนแห่ การตีผู้ตีกลองจะฟ้องเชิง (เจิง) ตบมะผาบและใส่ลีลาการต่อสู้ เช่น การใช้หมัด เท้า เข่า ศอก ประกอบการตี ทำให้น่าชมยิ่งขึ้น
                          ๔.๔ วงกลองซิงม้อง  คล้ายวงกลองยาวของภาคกลางหรือกลองยาวของชาวใต้ในแคว้นสิบสองปันนา นิยมใช้ตีประกอบงานรื่นเริง งานปอยและขบวนแห่ต่าง ๆ
                          ๔.๕ วงประเภทอื่น ๆ

http://www.gotoknow.org/posts/270013
http://nawin.org.a27.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539411644&Ntype=3


                        

    << Go Back