วงเครื่องสาย

ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ทำด้วยสายทั้งประเภทดีดและสี โดยมี เครื่องเป่าที่มีเสียงนุ่ม เช่น ขลุ่ย เป็นส่วนประกอบ จึงเหมาะกับการบรรเลงเพลง ประเภท “เพลงกรอ” วงเครื่องสายแบ่งตามประเภทของวงออกได้ ๓ ประเภท

๑. วงเครื่องสายไทย นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “วงเครื่องสาย” ประกอบด้วยเครื่องดนตรีทำทำนอง ซึ่งได้แก่ จะเข้ ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ และ เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ได้แก่ โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง วงเครื่องสายมีด้วยกัน ๒ ขนาดคือ วงเครื่องสายเล็ก และวงเครื่องสายคู่ ซึ่งจะเหมือนวงเครื่องสายเล็ก แต่เพิ่มจำนวนเครื่องประเภททำทำนองเป็นอย่าง ละ ๒ ชิ้น (เครื่องเป่าจะเพิ่มขลุ่ยลิบ)

๒. วงเครื่องสายผสม เป็นวงที่นำเอาเครื่องดนตรีนอกเหนือจากเครื่องสายไทยมาผสม เช่น ขิม ออร์แกน ไวโอลิน แคน หากนำเครื่องดนตรีใดมาผสม ก็เรียกชื่อวงตามเครื่องดนตรีนั้น เช่น วงเครื่องสายผสมขิม เป็นต้น

๓. วงเครื่องสายปี่ชวา ต่างจากวงเครื่องสายไทยคือ ใช้ปี่ชวาบรรเลง แทนขลุ่ยเพียงออ แต่ยังคงมีขลุ่ยลิบประสมอยู่ และเครื่องประกอบจังหวะ จะเปลี่ยนจาก โทน รำมะนา เป็น กลองแขก แบ่งวงออกได้เป็น ๒ ขนาดเช่นเดียวกับวงเครื่องสายไทย

 

 

วงปี่พาทย์

เป็นวงที่มีการประสมของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและตี โดยมี ปี่ใน เป็นประธานของวง และมีฆ้องวงใหญ่บรรเลงทำนองหลักของเพลง ในขณะที่เครื่องดนตรีอื่นจะเล่นแปรทำนองไปตามทางเฉพาะของตน วงปี่พาทย์จะนิยมเล่นในงานประเพณีหรืองานบุญเทศกาลต่างๆ รวมทั้ง บรรเลงประกอบการแสดง เช่น โขน ลิเก ละคร เป็นตัน ในปัจจุบัน แบ่งวงออกได้เป็น ๖ ประเภท ดังนี้

๑. วงปี่พาทย์ชาตรี เป็นวงที่ใช้บรรเลงประกอบละครชาตรี มีมาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วงปี่พาทย์เครื่องห้า ชนิดเบา” เพราะประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๕ ชิ้นคือ ปี่นอก โทน กลองชาตรี ฆ้อง ฉิ่ง

๒. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงมาตรฐานที่ได้รับความนิยมสูงสุด เครื่องบรรเลงจะใช้ไม้ตีชนิดแข็งตามชื่อวง จึงมีเสียงดังและหนักแน่น เหมาะกับงานรื่นเริง แบ่งตามขนาดของวงได้ ๓ ขนาด คือ


วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า : ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพนและกลองทัด ฉิ่ง


วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ : เพิ่มจากขนาดวงเครื่องห้า ด้วย ปี่นอก ระนาดทุ้ม และ ฆ้องวงเล็ก


วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ : มีระนาดเหล็กทั้งเอก และทุ้ม เพิ่มเติมจากวงเครื่องคู่

 

๓. วงปี่พาทย์ไม้นวม เกิดขึ้นเพราะความต้องการให้วงปี่พาทย์มีเสียงที่ไม่ดังเกินไป โดยเปลี่ยนจากไม้แข็งที่ใช้ตีระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่เป็นไม้นวม และยังเปลี่ยนเครื่องเป่าจากปี่เป็นขลุ่ยเพียงออแทน พร้อมกับ เพิ่มซออู้เข้าไปอีกด้วย เพื่อให้เสียงเพลงเบาและนุ่มนวลขึ้น มีการแบ่งวงออกตามขนาดได้ ๓ ขนาดเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง

๔. วงปี่พาทย์นางหงส์ คล้ายคลึงกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพียงแต่ปรับเปลี่ยนเอาปี่ชวา มาบรรเลงแทนปี่ในและปี่นอก และเปลี่ยนเป็นกลองมลายู แทนกลองทัดกับตะโพน

๕. วงปี่พาทย์มอญ เดิมทีนิยมเล่นกันเฉพาะในหมู่ชาวไทยรามัญ ทั้งงานมงคลและอวมงคลทั่วไป แต่ปัจจุบันนิยมเล่นแต่ในงานศพ ลักษณะเด่นของวงที่เห็นความแตกต่างได้ชัดก็คือเครื่องดนตรี ซึ่งได้แก่ เปิงมางคอก ฆ้องมอญ ปี่มอญ และตะโพนมอญ มีการแบ่งขนาดวงเช่นเดียวกับปี่พาทย์ไม้แข็ง

๖. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นวงที่ใช้บรรเลงประกอบละคร ดึกดำบรรพ์ในอดีต ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา นุวัดติวงศ์ได้ทรงปรับปรุงขึ้น เครื่องดนตรีในวงจะคัดเฉพาะที่มีเสียงทุ้มต่ำ นุ่มนวล คล้ายกับวงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่ และมีเครื่องดนตรีที่ต่างออก ไปอีก เช่น ขลุ่ยอู้ และฆ้องหุ่ย

 

วงมโหรี

เป็นวงดนตรีโบราณที่มีมาแต่สมัยอยุธยา จัดเป็นวงประสมที่มีเสียงเครื่องดนตรีครบสมบูรณ์ เพราะมีทั้งเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องสายและ กลุ่มปี่พาทย์รวมกัน เรียกว่าครบทั้ง ดีด สี ตี เป่า เดิมทีใช้บรรเลงประกอบ ละครใน ซึ่งต้องใช้ผู้เล่นเป็นหญิงล้วน ทำให้ต้องมีการลดขนาดเครื่องตีทุก ชนิดที่วงปี่พาทย์ชายใช้เล่นกันทั่วไปให้เล็กลง ไม่ว่าจะเป็น ระนาดเอก ทุ้ม หรือ ฆ้องวง เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระและการเคลื่อนไหวของผู้หญิง ธรรมเนียมนี้ มีมาจนถึงในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงยกเลิก จากนั้นเมื่อมีผู้ชายเริ่มสนใจวงเครื่องสาย และนำมาบรรเลงร่วมกับวงปี่พาทย์ที่ตนเล่นอยู่ก่อนแล้ว จึงเกิดการประสมวง แบบใหม่ที่เรียกว่า “วงมโหรีเครื่องสาย” ซึ่งเป็นวงผู้ชายบรรเลงล้วน ต่อมาใน ภายหลังมีทั้งผู้เล่นที่เป็นหญิงและชาย จึงเรียกวงรวมในลักษณะนี้ว่า “วงมโหรี” วงมโหรีแบ่งตามขนาดของวงได้ ๓ ขนาด คือ

วงมโหรีเล็ก : ประกอบด้วย จะเข้ ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ โทน-รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง 

 

วงมโหรีเครื่องคู่ : จะมีเครื่องดนตรีหลักในวงมโหรีเล็ก ตั้งแต่จะเข้ ถึง ฆ้องวง เพิ่มอีกอย่างละ ๒ ชิ้น

 

วงมโหรีเครื่องใหญ่ : เพิ่มเครื่องดนตรีจากมโหรีเครื่องคู่อีก ๒ อย่างคือ ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก

 

 เราจะแบ่งลักษณะของวงดนตรีสากลออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันดังนี้ 

วง Orchestra 

2. วง Band

          1. วง Orchestra หรือ ดุริยางค์ เป็นลักษณะของวงดนตรีประเภทหนึ่งที่ใช้ เครื่องดนตรีประเภท เครื่องสาย (String) เป็นหลัก หรือเป็นเครื่องที่มีบทบาทมากที่สุด สำคัญที่สุดมากกว่าเครื่องดนตรีกลุ่มอื่น ๆ
          2.
วง Band เป็นลักษณะของวงดนตรีประเภทที่ใช้เครื่องดนตรีประเภท เครื่องเป่า เป็นหลัก เป็นเอกหรือเป็นเครื่องที่มีบทบาทมากที่สุด

ชนิดของวง Orchestra
          1. Symphony Orchestra เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่มากประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่ม คือ 
                    1. เครื่องสาย
                    2. เครื่องลมไม้
                    3. เครื่องเป่าทองเหลือง
                    4. เครื่องเคาะ 

          ขนาดของวง
                    วงเล็ก Small Orchestra ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 60 - 80 คน 
                    วงกลาง Medium Orchestra ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 80 - 100 คน 
                    วงใหญ่ Full Orchestra ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 100 คนขึ้นไป   
 
          2. Orchestra for accompaniments for opera วงดุริยางค์ประเภทนี้ใช้บรรเลง ประกอบการแสดง โอเปรา คล้ายกับละครหรือลิเกของไทย ที่ต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบด้วย ใช้นักดนตรี ประมาณ 60 คนหรือมากกว่า

          3. Chamber Orchestra   วงดุริยางค์ประเภทนี้เป็นวงเล็ก ๆ มีผู้เล่นไม่เกิน 20 คน บางครั้งเราเรียกวงดนตรีประเภทนี้ว่า Chamber Music เพราะวงประเภทนี้ตั้งขึ้นเพื่อร่วมกันเล่นหรือบรรเลง เพื่อการผ่อนคลายอารมณ์และพบปะสังสรรค์ยามว่าง เพลงที่เล่นก็เป็นเพลงง่าย ๆ และผู้เล่นอาจจมีตั้งแต่ 2 คนถึง  
ตัวอย่างเพลง Ensemble CANON IN D by PACHELBEL 
          ถ้ามีผู้เล่น 2 คน เรียกว่า "วงดูเอ็ท"   Duet 
                 "      3       "          "วงทริโอ"   Trio 
                 "      4       "          "วงควอดเต็ด"  Quartet 
                 "      5       "          "วงควิเต็ด"   Quintet 
                 "      6       "          "วงเซ็กเต็ด"   sextet 
                 "      7       "          "วงเซ็บเต็ท"   Septet 
                 "      8       "          "วงอ๊อกเต็ด"   Octet 
                 "      9       "          "วงโนเน็ท"   Nonet 


ชนิดของวง Band 
          1. Symphonic Band เป็นวงที่มีเครื่องเป่าเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญ ประกอบด้วย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องเคาะ และ ดับเบิ้ลเบส กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้จะมี คลาริเนท บีแฟล๊ต เป็นจำนวนมากเปรียบเสมือนกับ ไวโอลิน ของวง Orchestra ตัวอย่างเพลง Kentucky Sunrise   

           2. Military Band (วงโยธวาทิต) ตามมาตรฐานวงชนิดนี้จะมีผู้เล่นอยู่ราว 54 คน ประกอบด้วย 
เครื่องลมไม้ เครื่องทองเหลือง เครื่องเคาะ แต่จะไม่ใช้ ดับเบิ้ลเบส วงประเภทนี้จะใช้ในพิธีสวนสนามของทหาร 
หรือขบวนแห่ต่าง ๆ   ตัวอย่างเพลง Battle Hyme of the republic  , Stars & Stripes Forever "  

          3. Brass Band วงชนิดนี้คล้ายกับวงโยธวาทิตต่างกันก็ตรงที่ ไม่มี เครื่องลมไม้ และ เครื่องสาย ใด ๆเลย 
 
          4. Jazz Band วงแจ๊ส วงดนตรีแบบนี้เกิดขึ้นในกลุ่มนิโกรเป็นครั้งแรกและในปัจจุบันนี้วงแจ๊สส่วนใหญ่ก็ยังเจริญอยู่กับพวกนิโกร วงดนตรีประเภทนี้ประกอบด้วย กลุ่มแซ๊กโซโฟน ซึ่งมีโซปราโนแซ๊กโซโฟน อัลโตแซ๊กโซโฟน เทนเนอร์แซ๊กโซโฟน บาริโทนแซ๊กโซโฟน คลาริเนท ทรัมเป็ท ทรอมโบน ดับเบิ้ลเบส เปียโน และเครื่อง Percussion ตามความเหมาะสม เช่น กลองชุด ทอมบา บองโก มารากัส เป็นต้น ตัวอย่างเพลง WASHING TON POST-SWING, Autumn Leaves  
  
          5. Combo Band (วงคอมโบ) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก มุ่งประกอบการขับร้องเป็นส่วนใหญ่ นิยมนำไปบรรเลงตามร้านอาการ ไนต์คลับ หรือตามสถานที่เริงรมย์ต่าง ๆ วงดนตรีประเภทนี้มีจำนวนนักดนตรีและเครื่องดนตรีไม่แน่นอน ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกในการจัดวง แต่ส่วนมากมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีคือ trumpet , Tenor Saxophone , Alto Saxophone , Trombone , Piano กีตาร์คอร์ด กีตาร์เบส กลองชุด เครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ
นอกจากนี้ยังมีวงดนตรีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่อีกหลายชนิด ซึ่งวงที่เกิดขึ้นใหม่นี้ก็อาศัย ดัดแปลง ปรับปรุง แก้ไข จากของเดิมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ปัจจุบันที่ต้องการความง่าย ๆ สะดวก สบาย รวดเร็ว เช่น

          6. Shadow (วงชาโดว์) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก สะดวกในการขนย้ายไปแสดงในที่ต่าง ๆ ใช้บรรเลงประกอบการขับร้อง และบางครั้งบรรเลงเฉพาะดนตรีอย่างเดียว เครื่องดนตรีที่ใช้มี กีตาร์ลีด (เมโลดี้) กีต้าร์คอร์ด กีตาร์เบส กลองชุด เครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ

          7. String combo วงดนตรีประเภทนี้ดัดแปลงมาจากวงคอมโบ และวงชาโดว์ คือ นำเอาเครื่องดนตรีในวงชาโดว์ผสมกับวงคอมโบ แต่ยังคงให้เครื่องดนตรีประเภทกีตาร์ เป็นเครื่อง ที่มีความสำคัญกว่าเครื่องดนตรีอื่น ๆ

          8. Folk Song วงโฟล์คซอง เป็นวงดนตรีขนาดเล็กที่สุด มีผู้เล่นไม่เกินวงละ 3 คน แต่ที่นิยมมากที่สุด นิยมเพียงคนเดียว เครื่องดนตรีที่ใช้ กีตาร์โปร่งเพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้เล่นกีตาร์จะร้องและดีดกีตาร์ไปด้วย

          9. String Band เป็นวงดนตรีที่ปรับปรุงจากวง คอมโบ โดยเพิ่ม ไวโอลิน มาร่วมบรรเลงด้วยประมาณ 6 - 10 คัน เพื่อให้ ไวโอลิน เหล่านี้เล่น เป็นทำนอง และ back ground ทำให้เพลงที่บรรเลงมีความไพเราะยิ่งขึ้นหนักแน่นขึ้น วงประเภทนี้ได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น วงดารากร วงเจมส์ลาส 

 

เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบัน การดูแลรักษา

เครื่องดนตรีสากลในสมัยใหม่ แบ่งตามหลักในการทำเสียงหรือวิธีการบรรเลงเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1.เครื่องสาย
เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือนสายที่ใช้เป็นสายโลหะหรือสายเอ็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย แบ่งตามวิธีการเล่นเป็น 2 จำพวก คือ

1) เครื่องดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ ฮาร์ป
2) เครื่องสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา


2.เครื่องเป่าลมไม้
เครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งตามวิธีทำให้เกิดเสียงเป็น 2 ประเภท คือ

1) จำพวกเป่าลมผ่านช่องลม ได้แก่ เรคอร์เดอร์ ปิคโคโล ฟลูต

2) จำพวกเป่าลมผ่านลิ้น ได้แก่ คลาริเน็ต แซกโซโฟน


3.เครื่องเป่าโลหะ เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าลมให้ผ่านริมฝีปากไปปะทะกับช่องที่เป่า ได้แก่ ทรัมเป็ต ทรอมโบน เป็นต้น


4.เครื่องประเภทลิ่มนิ้ว(คีย์บอร์ด) เครื่องดนตรีประเภทนี้เล่นโดยใช้นิ้วกดลงบนลิ้มนิ้วของเครื่องดนตรี ได้แก่ เปียโน เมโลเดียน คีย์บอร์ดไฟฟ้า อิเล็กโทน

5.เครื่องตี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1) เครื่องตีที่ทำทำนอง ได้แก่ ไซโลไฟน เบลไลรา ระฆังราว
2) เครื่องตีที่ทำจังหวะ ได้แก่ ทิมปานี กลองใหญ่ กลองแตร็ก ทอมบา
กลองชุด ฉาบ กรับ ลูกแซก

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีสากลมีหลายประเภท ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามประเภทของเครื่องดนตรี ซึ่งจะทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน การดูแลรักษามีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1.เครื่องสาย

ก่อนหรือหลังการเล่น ให้ใช้ผ้าแห้งลูบเบาๆ บนสายและตัวเครื่อง เพ่อขจัดฝุ่นคราบไคลต่างๆ
ถ้าเป็นเครื่องสายที่ใช้คันชักสี เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ต้องปรับคันชักไม่ให้สายตึงเกินไป ก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่องเพราะหากปล่อยให้สายตึงเป็นเวลานาน อาจชำรุดได้

2.เครื่องเป่าลมไม้

ประเภทเป่าลมผ่านช่องลม ให้ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องก่อนและหลังการเป่า ส่วนเครื่องเป่าที่เป็นโลหะ ให้ใช้ผ้านุ่มและแตะน้ำมันที่สำหรับทำความสะอาดเครื่องดนตรี แล้วลูบไปตามกระเดื่องกลไกและตัวเคลื่อนให้ทั่ว เพื่อทำให้กระเดื่องกลไกเกิดความคล่องตัวในการใช้งาน และช่วยไม่ให้เกิดสนิม

3.เครื่องเป่าลมทองเหลือง
ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้กดกระเดื่องสำหรับไล่น้ำลายแล้วเป่าลมแรงๆ เข้าไปตรงปากเป่าเพื่อไล่หยดน้ำลายที่ค้างอยู่ในท่อ เสร็จแล้วถอดปากเป่าออกมาทำความสะอาด โดยใช้ผ้าเช็ดและใช้เศษผ้าแตะครีมขัดโลหะลูบเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย
4. เครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้ว
ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าแห้ง เช็ดถูที่ตัวเครื่องและบริเวณลิ่มนิ้วให้สะอาด ปิดฝาครอบแล้วใช้ผ้าคลุมให้เรียบร้อย

 

 

วงปี่พาทย์                        วงมโหร

ออร์เคสตรา                     วงแชมเบอร์มิวสิก

วงโยธวาทิต                     แตรวง

วงแจ๊ส                             วงคอมโบ