บันทึกอยู่บนบรรทัด 5 เส้น และเส้นน้อย  โดยมีกุญแจประจำหลักบันทึกไว้ตอนเริ่มต้นของบรรทัด 5 เส้น เป็นเครื่องหมายกำกับให้อ่านชื่อตัวโน๊ต กุญแจหลัก มี 2ชนิดคือกุญแจซอล              และ กุญแจฟา           ตามด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ    จะเขียนเหมือนเลขเศษส่วนแต่จะไม่มีขีดคั่นกลาง  เลขตัวล่างหมายถึงลักษณะตัวโน้ตที่บันทึกตามจังหวะเพลง    และ เมื่อจบเพลงจะใช้   เส้นกั้นห้องสองเส้นตัวอย่างการบันทึกตัวโน้ตในบรรทัด   5   เส้น และเส้นน้อย ด้วยกุญแจประจำหลักซอล          และ  กุญแจประจำหลักฟา          

 
 

 

            ลักษณะตัวโน้ตสากล

ตัวโน้ต  เป็นเครื่องหมายชนิดหนึ่งที่ใช้บันทึกแทนเสียงดนตรี  และเสียงขับร้อง  มีชื่อเรียกตามลักษณะต่างๆ และมีอัตราจังหวะที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

 

การเปรียบเทียบอัตราโน้ต

 

การเขียนจัดกลุ่มโน้ต

การเขียนจัดกลุ่มโน้ต นิยมใช้กับโน้ตตัวเขบ็ตลักษณะต่างๆ ดังตัวอย่าง

 

 

การเขียนจัดกลุ่มโน้ตในบทเพลง

 

 

 


ตัวหยุด  หรือเครื่องหมายหยุด  เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการบันทึกร่วมกับตัวโน้ตทั้ง 7 ลักษณะเพื่อจะทำให้เกิดเสียงเงียบหรือหยุดในขณะที่บรรเลงดนตรี ซึ่งจะหยุดนานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องหมายหยุดที่จะมีระยะต่างกันไปตามลักษณะและอัตราความยาวของตัวหยุด เครื่องหมายหยุด มี 7 ลักษณะ แตกต่างกันออกไป มีดังนี้

 

                       

เครื่องหมายกำหนดจังหวะ และเส้นกั้นห้อง

 

 

จะเขียนเหมือนเลขเศษส่วนแต่จะไม่มีขีดคั่นกลาง  ซึ่งความหมายของเลขตัวล่างหมายถึงลักษณะของตัวโน้ต ส่วนเลขตัวบนหมายถึง  จำนวนจังหวะในห้อง 1 ห้อง ตัวอย่างเช่น  มีความหมายว่าให้มีโน้ตตัวดำ……   2 ตัว…… …….. ใน  1  ห้อง  แต่ถ้าไม่ใช่โน้ตตัวดำ 2 ตัวจะใช้โน้ตตัวอื่นแทนก็ได้แต่ต้องมีลักษณะของตัวโน้ตรวมกันให้ได้โน้ตตัวดำ  2 ตัว เช่น ……. ………  เป็นต้น  การเขียนเครื่องหมายกำกับจังหวะจะเขียนต่อจากกุญแจประจำหลัก

 


                                   

           

 

               2.1 การอ่านโน้ตบทเพลงสากล

                การอ่านโน้ตเพลงสากลจะต้องอ่านเสียงตัวโน้ตตามกุญแจประจำหลักให้ถูกต้อง เช่น ถ้ากุญแจประจำหลักซอล จะต้องอ่านตัวโน้ตที่บันทึกคาบเส้นที่ 2 เป็นเสียงซอล แล้วไล่ระดับเสียงสูงต่ำตามบรรทัด 5 เส้น นอกจากนี้ยังต้องอ่านตามอัตราจังหวะของตัวโน้ต และสัญลักษณ์แทนเครื่องหมายหยุด

  2.2 โน้ตสากลในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C major

                โน้ตที่มีการบันทึกทั้งกุญแจซอลและกุญแจฟาเบสพร้อมกันนั้น มีความมุ่งหมายที่ให้ใช้กับการบรรเลงเครื่องดนตรีโดยตรง เช่น การบรรเลงด้วยเปียโน กุญแจซอลใช้เล่นด้วยมือขวา กุญแจฟาเบสเล่นด้วยมือซ้าย บันไดเสีบงเมเจอร์ เป็นบันไดเสียงที่มีแฟลต ……   ไม่มีชาร์ป…… หรือบางทีอาจใช้ในการร้องประสานเสียง (ร้องโน้ต) ก็ได้

 

            แบบฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตสากล

ตัวอย่าง โน้ตสากลในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C major เพลงลอยกระทง

เพลงลอยกระทง

 

                                                                                                                                                                                                                                   

2. สัญญาลักษณ์เครื่องหมายทางดนตรีไทย

            แต่เดิมบทเพลงไทยไม่มีการบันทึกด้วยตัวอักษรหรือสัญญาลักษณ์ใดๆ การถ่ายทอดทำนองเพลงของไทยนั้น ฝึกหัดและต่อบทเพลงจากผู้ที่เป็นครูทางดนตรี ด้วยการจำ และปฏิบัติซ้ำ ที่เรียกว่าการฝึกซ้อมคือทุกวันจนเกิดความแม่นยำ และช่ำชองและสืบทอดต่อกันมาเรื่อยๆ

            ต่อมาเมื่อเริ่มการศึกษาเรื่องโน้ตสากล จึงเห็นความสำคัญเพราะเป็นเครื่องช่วยจำได้อย่างดี และเป็นแบบแผนที่บันทึกไว้ แต่การใช้โน้ตในการบันทึกเพลงไทยก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว บางครั้งมีการบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นตัวเลข บางครั้งก็บันทึกด้วยโน้ตสากล แต่ส่วนใหญ่มักใช้บันทึกตัวโน้ตเพลงไทยด้วยตัวอักษรไทยแทนตัวโน้ตสากลดังนี้

โน้ตเพลงไทยแบบที่กล่าวถึงนี้ใช้บันทึกด้วยอักษรไทยแทนการออกสียงของโน้ตเพลงสากล คือ

ตัว                 ใช้แทนเสียง    โด

ตัว                 ใช้แทนเสียง    เร

ตัว                 ใช้แทนเสียง    มี

ตัว                ใช้แทนเสียง    ฟา

ตัว                ใช้แทนเสียง    ซอล

ตัว                 ใช้แทนเสียง    ลา

ตัว                ใช้แทนเสียง    ที,ซี

 

แบบฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตเพลงไทย

 

เพลงลาวลำปาง 2 ชั้น

---รํ

---ซ

---ล

-ดํ-รํ

-มํ-ลํ

-ด-รํ

-ซ-มํ

-รํ-ดํ

---

-ลลล

-รํดํล

-ซ-ฟ

---ร

-ฟ-ซ

---ล

-ดํ-รํ

 

 

 

            การเรียนรู้ทางด้านดนตรีไทย  แต่เดิมไม่มีการบันทึกด้วยอักษรหรือสัญลักษณ์อะไร ต่อมาได้มีการบันทึกเพลงไทยด้วยตัวโน้ตสากลเพื่อเข้าใจได้ตรงกันดังนั้นจึงมีการเทียบตัวโน้ตเป็นอักษรไทยดังนี้

โด                                                 

เร                                                 

มี                                                   

ฟา                                                 

ซอล                                             

ลา                                                 

ที(ซี)                                              

 

   4.1 เครื่องหมายแปลงเสียง

                เครื่องหมายแปลงเสียงมี  3 ลักษณะ ดังนี้

                 #   เรียกว่า  ชาร์ป (sharp) คือ เครื่องหมายแปลงเสียงตัวโน้ตที่กำกับอยู่นั้นจะมีเสียงสูงขึ้นครึ่งเสียง

……..  เรียกว่า  แฟลต (flat)  คือ เครื่องหมายแปลงเสียงตัวโน้ตที่กำกับอยู่นั้นจะมีเสียงต่ำลงครึ่งเสียง

……..  เรียกว่า  เนเจอรัล  (natural) คือ เครื่องหมายแปลงเสียงตัวโน้ตที่ถูกเครื่องหมาย # หรือ…..

กำกับอยู่นั้นจะมีเสียงคงเดิม

           

               4.2  เครื่องหมายโยงเสียง  (         )

                 เครื่องหมายโยงเสียง คือ เครื่องหมายที่บอกให้ผู้ร้องหรือผู้บรรเลงดนตรีใช้เสียงลาวยาวต่อเนื่องกัน  ใช้โยงบนตัวโน้ตหรือด้านหลังตัวโน้ต

              4.3 การประจุด (  . )

                การประจุด คือ การเพิ่มจังหวะของตัวโน้ตที่ประจุดเพิ่มขึ้นครึ่งเสียง ตัวอย่างเช่น เพลงลาวจ้อย

 

ตัวอย่างบทเพลงไทย บันทึกด้วยโน้ตสากล

ลาวจ้อย

 

 

 


           

 

 

 

 

       ความรู้เพิ่มเติม

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             

                                                          เครื่องหมายแปลงเสียง                                               

 

            การขับร้องเพลงไทยในบทเพลงต่างวัฒนธรรม

            ในการสร้างสรรค์เสียงดนตรี เพื่อสร้างความสุขใจทั้งผู้บรรเลงและผู้ฟัง อิทธิพลสำคัญคือ ภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่มีวัฒนธรรมต่างกันจึงเกิดบทเพลงที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในบทเพลงมากมายในสังคม และเพื่อให้สอดคล้องกับเสียงดนตรีก็มีวัฒนธรรมทางภาษา คือ บทขับร้องเข้าไปสอดแทรกประสานทำให้บทเพลงมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น การขับร้องจึงเป็นเอกลักษณ์สำคัญในทำนองเพลงเพื่อการสื่อความหมาย

 

 

 

 


            การร้องเพลงเป็นการแสดงความรู้สึกนึกคิด  การแสดงอารมณ์หรือสิ่งที่ได้พบเห็นออกมาเป็นคำพูดด้วยอารมณ์  และความรู้สึกด้วยการร้องเพลงซึ่งพัฒนามาจากการร้องเพลงทางศาสนาโดยการสวดอ้อนวอนพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพนับถือ เพื่อขอสิ่งที่ตนต้องการพัฒนาการมาเป็นเสียงเพลงเพื่อความบันเทิง ผ่อนคลายความตึงเครียดในยามว่างหรือเพื่อเพิ่มความสนุกสนานและผ่อนคลายอิริยาบถ เช่น เพลงร้องและระบำต่างๆ

            การขับร้องเพลงนั้น  ร่างกายและอวัยวะที่แข็งแรงมีความจำเป็นมากที่สุดสำหรับการขับร้องเพลง ได้แก่ สมาธิ และวิธีการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ช่วยในการสร้างเสียงที่มีพลัง เมื่อเราเปล่งเสียงร้องทุกครั้งจะทำให้ดูเหมือนกับสะกดให้ผู้ฟังได้เคลิบเคลิ้มไปกับอารมณ์เพลง

            วิธีการขับร้องเพลงไทยก็เช่นเดียวกัน ลักษณะการฝึกการขับร้องเพลงไทยนั้น มีลักษณะและวิธีการดังนี้

 

หลักการขับร้องเพลงไทย

ผู้ขับร้องเพลงที่ดี  ต้องศึกษาหลักการขับร้องในหัวข้อต่อไปนี้

 

            1. วิธีการเปล่งเสียง

ในการขับร้องเพลง สิ่งแรกที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจคือ เสียง ผู้ขับร้องต้องรู้จักวิธีการเปล่งเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพออกมา การเปล่งเสียงร้องที่ดีต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นขั้นตอน ดังนี้

            การฝึกออกเสียง  เป็นการเริ่มต้นการฝึกหัดร้องเพลง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับระดับเสียงดนตรี  โดยการเทียบกับเสียงของเครื่องดนตรี เช่น ระนาดหรือฆ้อง ให้ผู้เรียนฟังและออกเสียงตามเสียงที่ได้ยิน โดยออกเสียงคำว่า “เออ” ให้ยาวจนสุดลมหายใจ เป็น 1 คำ  หรือ 1 เสียง ต่อมาเป็นเสียงคำที่ 2-3-4--- ตามเสียงดนตรีไปจนครบ 7 เสียง ฝึกทั้งขึ้นสูงและลงต่ำจนคล่อง ให้เสียงที่เปล่งออกมาฟังเรียบตลอดคำ ไม่สะดุดหรือขาดช่วงไป

การฝึกการบังคับเสียง  เป็นการบังคับเสียงให้ออกมาโดยถูกทิศทาง  ซึ่งอาจต้องใช้อวัยวะภายในปากเป็นส่วนช่วยในการเปล่งเสียง ได้แก่ คอ ลิ้นปี่ เพดาน ปุ่มเหงือก ไรฟัน ฟัน ลิ้น คางและปาก เช่น

เสียง “เออ” เสียงจะต้องผ่านลำคอออกมาโดยตรงไม่กระทบส่วนใด

เสียง “อือ” เสียงจะต้องผ่านออกมาในระหว่างครึ่งปากและครึ่งจมูก

เสียง “เอ๋ย” เสียงจะผ่านออกมาทางจมูก เป็นเสียงนาสิก

การฝึกกล้ามเนื้อคอ  เพื่อให้เกิดความแข็งแรง  สามารถบังคับกล้ามเนื้อให้เปล่งเสียงตามที่ต้องการ มักจะใช้กับการร้องที่ต้องการเสียงที่อ่อนพลิ้ว สั่นระรัว เช่น การครั่นเสียง เป็นต้น การใช้เสียงพิเศษเหล่านี้จะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับท่วงทำนองของเพลงและความสามารถเฉพาะตัวของผู้ร้องเองเป็นสำคัญ

การฝึกกล้ามเนื้อหน้าท้อง  การฝึกกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องให้แข็งแรงจะเป็นประโยชน์ในการขับร้องเพลงที่มีเสียงสูง ซึ่งในขณะเปล่งเสียงสูง ผู้ร้องต้องเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง แล้วค่อยๆ เปล่งเสียงออกมา โดยให้ลมบริเวณหน้าท้องเลื่อนขึ้นมา เสียงที่เปล่งออกมามีน้ำหนัก ดังลึก ทำให้ช่วยยืดเสียงให้ยาวต่อไป การฝึกด้วยวิธีนี้บ่อยๆจะทำให้เกิดเสียงใส น้ำเสียงมีพลัง การร้องจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หลังจากที่ฝึกการเปล่งเสียงจนได้เสียงที่ดีแล้ว จึงเริ่มฝึกการขับร้องบทเพลง โดยใช้ทำนองที่ง่ายๆ เช่น เพลง 2 ชั้น หรือเพลงชั้นเดียว โดยฝึกการใช้ลมหายใจควบคู่ด้วย

 

            2.  การฝึกไล่เสียง

            หลังจากที่ได้ฝึกการเปล่งเสียงร้องจนมีความชำนาญแล้ว ควรฝึกการไล่เสียงร้องเพื่อให้ถูกต้องตรงตามระดับเสียงดนตรี การฝึกการไล่เสียงนี้ควรใช้เครื่องดนตรีเป็นหลักในการร้องเพลงด้วย โดยเริ่มจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูง และเสียงสูงไปหาเสียงต่ำ สามารถร้องได้ตามเสียงที่ต้องการแล้วต่อไปจึงเริ่มฝึกร้องให้ได้เสียงสูงขึ้นเรื่อยๆ จะหยุดร้องที่ระดับเสียงเดียวไม่ได้ ให้ฝึกร้อง ไปจนกว่าจะถึงระดับเสียงสุดท้ายที่มีกำลังร้อง คือ ไม่สามารถเปล่งเสียงได้สูงกว่านี้อีกแล้ว จึงหยุดที่เสียงนั้น และฝึกในระดับเสียงที่ต่ำลงมาเรื่อยๆ จนถึงเสียงสุดท้ายเช่นเดียวกัน เพื่อให้ได้กำลังร้องที่ดีและร้องได้เสียงสูงสุดและต่ำสุด

3. การใช้ลมหายใจ

            การใช้ลมหายใจในการร้องเพลง มีส่วนช่วยให้การร้องเพลงเกิดความไพเราะน่าฟังในการร้องเพลงทุกประเภท การรู้จักใช้ลมหายใจให้ถูกต้องนั้นจะทำให้การร้องเพลงนุ่มนวลอ่อนหวาน ไม่แข็งกระด้าง หรือเสียงขาดเป็นช่วงๆ อีกทั้งเป็นการช่วยผ่อนแรงในการร้องทำให้นักร้องไม่รู้สึกเหนื่อยมากจนเกินไป

            ในการฝึกลมหายใจนี้พยายามทำให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด โดยไม่ให้ผู้ขับร้องพะวงกับการหายใจให้ถูกที่มากเกินไป เพราะอาจทำให้เพลงขาดความไพเราะและความอ่อนโยนลงไปได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาและประสบการณ์ในการร้องมากๆ จนเกิดความชำนาญและเคยชินไปเองในที่สุด

            4.  การใช้คำในการขับร้อง

              4.1 การเอื้อน เป็นสิ่งสำคัญมากในการขับร้องเพลงไทย ผู้ขับร้องต้องรู้จักการใช้เสียงใน

                การเอื้อน ซึ่งมีอยู่หลายวิธี หลายเสียง การออกเสียงเอื้อนจำเป็นต้องอาศัยพยัญชนะสระ และเสียงวรรณยุกต์ ที่แตกต่างกันออกไป ที่นิยมนำมาใช้กันมาก คือ

                        เสียงพยัญชนะ                         , , ,

                        เสียงสระ                                 เออ, อือ

                        เสียงวรรณยุกต์                        เอก, โท, ตรี, จัตวา

เสียงเอื้อนที่มีใช้  ได้แก่ เออ เฮอ อือ เงอ เงย เออะ เอิง หือ เป็นต้น

                        การใช้เสียงต่างๆเหล่านี้ผู้ขับร้องต้องรู้ลักษณะและแหล่งกำเนิดของเสียงรวมทั้งวิธีทำเสียงให้ถูกต้องด้วย

               4.2 การออกเสียงคำร้อง การออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขรวิธี ชัดถ้อยชัดคำ รวมทั้งการแบ่งคำร้องและการแบ่งวรรคตอนในขณะทำการขับร้องได้เหมาะสม เป็นสิ่งที่ผู้ขับร้องทุกคนต้องปฏิบัติ อาจจะมีข้อยกเว้นในกรณีที่ร้องเพลงภาษา เพราะการขับร้องเพลงที่มีสำเนียงภาษาต่างๆ นั้น ผู้ขับร้องต้องขับร้องให้มีสำเนียงไปตามเพลงนั้นๆ เพื่อก่อให้เกิดความไพเราะน่าฟังมากยิ่งขึ้น

 

            เทคนิคในการขับร้องเพลงไทย

            ในการขับร้องเพลงไทยนอกจากผู้ขับร้องจะมีน้ำเสียงที่ดี  ไพเราะ มีลีลา อารมณ์ ในการร้องเพลงที่ดีแล้ว การเลือกใช้เทคนิควิธีการร้องก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ขับร้องสามารถร้องเพลงได้ไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น เทคนิควิธีการขับร้องเพลงไทยนี้ได้รับความนิยมมากในการร้องเพลงไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณซึ่งจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ยากพอสมควร รวมทั้งผู้ขับร้องจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบ ในการเลือกใช้เทคนิควิธีต่างๆ เหล่านี้ให้เหมาะสมกับลักษณะของเพลงและลีลาการเอื้อนของแต่ละเพลงด้วย แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็จะทำให้ไม่ไพเราะเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันถ้าไม่มีเสียเลยก็หมดความไพเราะไปได้เช่นกัน ซึ่งเทคนิคการร้องเพลงไทยสามารถจำแนกได้ดังนี้

การใช้เสียงพิเศษ

เสียงพิเศษที่ใช้ในการขับร้องนี้ เป็นเทคนิคนักร้องที่สมัยโบราณนิยมใช้กันมาก และนักร้องทุกๆ คนจะพยายามฝึกฝนเสียงต่างๆเหล่านี้ เพื่อให้การขับร้องเพลงได้ไพเราะยิ่งขึ้น แต่การใช้เสียงพิเศษนี้ไม่ใช่จะทำได้ทุกคน นักร้องที่ไม่ได้ฝึกฝนไม่สามารถจะทำได้เพราะเป็นสิ่งที่ยากพอสมควร เสียงพิเศษได้แก่ เสียงปริบ เสียงโปรย เสียงหวน เสียงโหย เสียงครั่น เสียงกรอก เสียงกลืน เสียงเกลือก

            การแสดงออกถึงอารมณ์ในการขับร้อง

การขับร้องเพลงไทยให้ได้ความไพเราะซาบซึ้งเกิดจากผู้ขับร้องใส่อารมณ์และความรู้สึกในบทเพลง การใส่อารมณ์ในการขับร้องเป็นเรื่องที่ทำค่อนข้างยาก ผู้ขับร้องที่จะร้องเพลงให้ได้อารมณ์นั้น ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการขับร้องมาเป็นระยะเวลาพอสมควร การสร้างอารมณ์ในการขับร้องต้องอาศัยส่วนประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น ความเข้าใจในบทขับร้องการเน้นคำร้อง การแบ่งวรรคตอน การเอื้อน การใช้เสียง เป็นต้น

 

 การแสดงออกทางบุคลิกภาพ

บุคลิกภาพของนักร้องและนักดนตรีมีความสำคัญมาก ผู้บรรเลงและผู้ขับร้องจะอยู่ในอาการที่สงบเสงี่ยม เรียบร้อย มองดูนุ่มนวล อ่อนโยน ไม่กระด้าง แข็งขืน ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ชวนมอง นักร้องเพลงไทยควรปฏิบัติตนดังนี้

3.1 นั่งพับเพียบไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ลำตัวตรง ไม่เอียง

3.2 ขณะร้องไม่ทำหน้าตาบึ้งตึง ควรยิ้มเพียงเล็กน้อย มองดูอ่อนโยน และไม่ควรยิ้มมากเกินไป

3.3 การเคาะจังหวะ ไม่ใช้เท้าเคาะจังหวะจะทำให้มองดูไม่งาม ควรใช้ปลายนิ้วมือเคาะจังหวะแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

นักร้องที่มีบุคลิกดีจะทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกชื่นชมและต้องการฟัง เป็นส่วน ช่วยเสริมให้การร้องเพลงไพเราะรับกัน ถ้านักร้องมีน้ำเสียงที่ดีไพเราะและร้องเพลงได้อย่างถูกต้องโดยไม่ผิดเพี้ยนจะยิ่งเพิ่มความไพเราะเกิดอรรถรสกับผู้ฟัง

 

 ลักษณะของผู้ที่จะฝึกหัดขับร้อง

ผู้ที่จะสามารถขับร้องเพลงให้ไพเราะได้นั้น  ต้องมีคุณลักษณะเฉพาะตัวหลายประการซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีความสามารถในการฝึกหัดขับร้องเพลง  ควรมีลักษณะดังนี้

4.1  มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ดี  คือ  ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ  โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเปล่งเสียง

4.2  มีเสียงกังวานแจ่มใส ไม่แตกพร่า เสียงไม่โตหรือห้าว และไม่เล็กแหลมเกินไป

4.3  ออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี  สามารถออกเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ได้ชัดเจนถูกต้อง  รวมทั้งต้องออกเสียงคำให้ถูกต้องตามหลักภาษา

4.4  จังหวะ  คือ  การที่นักร้องสามารถขับร้องได้ถูกจังหวะตามทำนองเพลงจังหวะนั้นถือเป็นหัวใจของการขับร้องและการบรรเลงดนตรี ถ้าผู้ที่จะฝึกหัดขับร้องมีกระแสเสียงดีแต่ไม่มีจังหวะก็ไม่สามารถเป็นนักร้องที่ดีได้

4.5  เป็นผู้ชอบการแสดง คือ สามารถแสดงออกในที่สาธารณะได้อย่างไม่เก้อเขินหรือประหม่า เพราะถ้าเก้อเขินหรือประหม่าแล้ว จะทำให้ไม่มีสมาธิที่จะขับร้องเพลงให้ไพเราะและบางครั้งอาจจะทำให้ลืมเนื้อร้องหรือทำนองได้

4.6  เป็นผู้ที่มีความจำอยู่ในเกณฑ์ที่ดี คือ ผู้ขับร้องสามารถจดจำทำนองเพลงได้อย่างแม่นยำ และควรจะต้องจำบทร้องให้ได้ เพราะการจำบทร้องได้ก็จะทำให้ผู้ขับร้องเข้าถึงอารมณ์เพลงนั้นได้

4.7  เป็นผู้ที่สามารถจดจำเพลงที่ครูถ่ายทอดให้อย่างรวดเร็วหรือต่อเพลงเร็ว แต่ก็มีข้อควรระวัง คือ ต้องท่องเพลงนั้นให้ขึ้นใจเพราะอาจจะทำให้ลืม เพลงนั้นได้อย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

 

ลักษณะการขับร้องเพลงไทย

การขับร้องเพลงไทยจะมีความแตกต่างกันออกไป 4 ลักษณะ ดังนี้

            ร้องลำลอง นักร้องจะขับร้องไปตามทำนองของตน เนื้อร้องจะถูกบรรจุไว้ตรงตามเสียงของลูกฆ้อง นักดนตรีก็บรรเลงทำนองเพลงประกอบไปพร้อมๆกับนักร้องและใช้ลูกฆ้องอย่างเดียวกัน  แต่นักดนตรีจะทำการแปรลูกฆ้องให้เป็นทำนองเต็ม (Full melody) ไปตามวิธีการบรรเลงและหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดที่นำมาใช้บรรเลงอยู่ในขณะนั้น

ร้องคลอ นักร้องจะขับร้องไปพร้อมนักดนตรีที่บรรเลงทำนองเพลงประกอบไปพร้อมกัน โดยที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินทำนองไปแนวเดียวกัน

ร้องรับหรือร้องส่ง นักร้องจะต้องร้องเพลงขึ้นก่อน เมื่อนักร้องขับร้องเนื้อเพลงใกล้จะจบนักร้องดนตรีก็จะบรรเลงโดยทำการสวมร้องก่อนที่เนื้อเพลงจะจบลง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความกลมกลืนทั้งในด้านความช้า-เร็วของอัตราจังหวะและในด้านของระดับเสียงของทั้งสองฝ่ายทั้งการขับร้องและการบรรเลงดนตรี การขับร้องและการบรรเลงดนตรีจะใช้ลูกฆ้องอย่างเดียวกันการร้องนั้นจะต้องแปรเสียงของลูกฆ้องให้มาเป็นทาง “เอื้อน”แต่นักดนตรีจะต้องแปรเสียงของลูกฆ้องให้เป็นทำนองเต็ม

ร้องเคล้า  นักร้องจะขับร้องไปตามทำนองของตน นักดนตรีก็จะบรรเลงไปตามทำนองของตน ทำนองของทั้งสองฝ่ายจะมีความแตกต่างกัน ฟังแล้วเหมือนกับเป็นคนละเพลงที่ถูกนำมาบรรเลงเคล้ากันไป

 

 

 

 

 


เพลง แขกสาหร่าย (สองชั้น)

เนื้อร้อง  ขุนชำนิกระบวนสาร

            ทำนอง  ช้อย  สุนทรวาทิน

 

                       อันเพลงไทยใช่จะไร้ในคุณค่า            หรือด้อยกว่าเขาอื่นก็หาไม่

เพลงของเราก็เสนาะเพราะจับใจ                               ทั้งยังเป็นสมบัติไทยสืบเนื่องมา

(สร้อย) โอ้เจ้าดอกจำปาของข้าเอ๋ย                            สีสวยกระไรเลย  กลิ่นหอมชวนเชยชื่นนาสา

ตามสายพระพายพัดมา                                              หอมกลิ่นจำปา  ไม่แพ้บุปผาของใครเอย

                        เรามีชาติถ้าขาดวัฒนธรรม                สิ่งจำเป็นสำหรับชาติเสียแล้วหนา

ใช่ว่าไทยจะอยู่ได้ในโลกา                                         อย่าลืมคิดพิจารณาดูให้ดี

(สร้อย) อันชาติไทยต้องไม่กลายเป็นอื่น                    ไทยต้องยั่งยืน ไทยต้องชมชื่นนิยมไทย

ร่วมชีวิตร่วมจิตใจ                                                      ร่วมกันใช้ของไทย  อย่าเห็นของใครดีกว่าเอย

 

เพลง  เต่ากินผักบุ้ง  (สองชั้น)

                                                                                                เนื้อร้อง  มนตรี  ตราโมท

                                                                                                            ทำนอง  เพลงเก่า

 

ยามเรียนเราจะเรียนเพียรศึกษา                        เพื่อก้าวหน้าต่อไปไม่ถอยหลัง

จะเหนื่อยยากสักเท่าไหร่ไม่หยุดยั้ง                             จนกระทั้งสำเร็จเสร็จสมใจ

(สร้อย)  ดอกเอ๋ย  ดอกมะไฟ                                       จิตมุ่งมั่นอันใดจะไม่แคล้วไปเลยเอย

ผลแห่งความพยายามจะตามมาสนอง                         สิ่งใดใฝ่ปองต้องเสร็จสมอารมณ์เอย

                                                           

            ในการขับร้องเพลงไทย ยังมีบทเพลงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นแต่ละภูมิภาคของไทย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเพลงพื้นบ้านหรือเพลงพื้นเมือง บทเพลงพื้นบ้านแบ่งออกเป็น 4 ภาคดังนี้

 บทเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ

บทเพลงพื้นบ้านภาคเหนือเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ  อ่อนหวาน นุ่มนวล มีการใช้ภาษาท้องถิ่นที่เรียบง่าย มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเกี้ยวพาราสีกัน หรือการบรรยายถึงธรรมชาติ วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ซึ่งในการขับร้องบทเพลงพื้นบ้านภาคเหนือจะมีการนำเครื่องดนตรีมาบรรเลงคลอประกอบการขับร้อง เช่น ปี่ ซอ ซึง สะล้อ พิณเพียะ เป็นต้น บทเพลงพื้นบ้านภาคเหนือที่นิยมนำมาขับร้อง เช่น เพลงจ๊อย เพลงซอน้อยไชยา เพลงฟ้อนดวงดอกไม้ เป็นต้น

 

           

  

  เพลงซอน้อยไชยา (น้อยไจญา)

 

ดวงดอกไม้  แบ่งบานสลอน       หมู่ภมร  แม่เผิ้งสอดไซ้

ดอกพิคุน (ดอกพิกุล) ของพี่ต้นไต้          ลมพัดไม้  มาสู่บ้านตู

รู้แน่ชัด  เข้าสู่สองหู                                ว่าสีชมพู  เพิ่มปล่ำเค้าเนิ้ง (ตัดโค่น) (โอนแอนไปแล้ว)

เค้ามันตาย ปลายมันเสิ้ง                          ลำกิ่งเนิ้ง ไหวหวั่นตวยแนว (แอน) (ส้ม)

ดอกพิคุน ก็คือดอกแก้ว                          ไปเปนของเพิ่นเสียแล้วเนอ

(ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม 6)

 

การบรรเลงบทเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ

 

 

 

กล่องข้อความ: คำถามท้าทาย                                   เพลงพื้นบ้านภาคเหนือสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งใด?

 

  บทเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

            ภาคกลางมีบทเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพราะคนในภาคกลางประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ จึงเกิดบทเพลงที่ใช้ร้องโต้ตอบกัน หรือเกี้ยวพาราสีกันขณะทำงานเพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย บทเพลงที่เป็นที่รู้จักและนิยมนำมาขับร้องกันอย่างแพร่หลาย เช่น เพลง เกี่ยวกับข้าว เพลงลำตัด เพลงอีแซว เป็นต้น

            เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการขับร้อง เช่น โทน รำมะนาลำตัด ฉิ่ง กลองยาว  ขลุ่ย  ทำไห้บทเพลงจึงมีความสนุกสนาน และสะท้อนถึงวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของคนภาคกลาง

 

 


เพลงอีแซว

แม่กอไก่นพเก้าโอ้แม่สาวเมืองกาญจน์

ดูสวยโก้เข้าก้านไปทั่ววรกาย

ดูสวยโก้เดินเกร่นสวยเก๋เป็นกอง

สวยโก้ลือก้องไปทั่วเมืองไกล

เขาลือก้องทั่วกันอยู่ในชั้นอากาศ

แม่ช่างเปิ๊ดสะก๊าดน่ากอดนอนก่าย

สวยกวนชวนกอดนุ่งสก๊อตสวมสะเกิ๊ต

ช่างแหวกอากาศมาเกิดนะแม่กอลูกไก่

(เพลงเกี้ยวอักษร ก. ที่มา  : สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง เล่ม 15)

 

การขับร้องและบรรเลงดนตรีประกอบเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

 

กล่องข้อความ: คำถามท้าทาย
 


                   เพลงพื้นบ้านภาคกลางส่วนมากมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งใด?

 

บทเพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทเพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นบทเพลงที่มีความสนุกสนาน มีจังหวะทำนองที่เร้าใจ ใช้ภาษาท้องถิ่นในการขับร้องแต่อาจมีสำเนียงหรือเสียงขับร้องที่แตกต่างกัน เพราะภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภูมิประเทศติดกับประเทศเพื่อนบ้าน  ทั้งประเทศลาวและกัมพูชา ทำให้ได้รับอิทธิพลทางภาษาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย ลักษณะเพลงพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้

            กลุ่มอีสานเหนือ  ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี นครพนม หนองคาย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุบลราชธานีเลย สกลนคร ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร จะเป็นเพลงประเภทหมอลำต่างๆเชิ้งต่างๆ เช่น เพลงลำเต้ย เชิ้งบั้งไฟ เชิ้งนางแมว เป็นต้น

            กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ จะเป็นเพลงประเภทกันตรึม เพราะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของประเทศกัมพูชา เช่น กันตรึมเจรียง

            กลุ่มอีสานเฉพาะเมืองโคราช  ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา มีบทเพลงที่เรียกว่าเพลงโคราช เป็นที่นิยมมาก

            เครื่องดนตรีที่นำมาใช้บรรเลงประกอบการขับร้อง เช่น โปงลาง แคน โหวด เป็นต้น ทำให้บทเพลงมีจังหวะทำนองที่สนุกสนาน สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม ประเพณีของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ

 

 

เพลงโคราช (เพลงเกี้ยว)

โอ้...โอ่  อีแม่ร่ม  น้องงามจนหนุ่มมาหลง

รักแม่เรือพึ่งพาย

พี่ก็หมายพึ่งพัก  อยู่เหมือนกับหวีพึ่งผม

น้องควรมีคู่สองชิด

อยู่เหมือนมีดสองชั้น  แม่ปากไหสองชั้น

พี่อยากเป็นคู่สองเชย

(ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน เล่ม 3)

กล่องข้อความ: คำถามท้าทาย                                      

 

                เพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือแตกต่างจากภาคอื่นอย่างไร?

 

 บทเพลงพื้นบ้านภาคใต้

เพลงพื้นบ้านภาคใต้ เป็นบทเพลงที่สนุกสนาน ใช้ร้องประกอบการละเล่นในเทศกาลต่างๆ มีการขับร้องที่ใช้ภาษาท้องถิ่น ภาษามลายู  ภาษายาวี  มีเนื้อหาเกี่ยวกับการโต้ตอบซักถามหรือประชาสัมพันธ์บอกข่าวต่างๆ เพลงที่นิยมขับร้อง เช่น เพลงนา เพลงบอก เพลงฮูลู เพลงตันหยง เป็นต้น  ในการขับร้องจะมีการนำเครื่องดนตรีประเภทตี่ และเป่า เช่น ฆ้องคู่ กลองชาตรี ปี่ไฉน มาบรรเลงประกอบการ ขับร้องทำให้บทเพลงมีจังหวะคึกคัก เร้าใจ

 

 

เพลงบอกในวันสงกรานต์

มาหยุดยั่งเพียงหน้าประตู  ด้อมแลดูเค้าลาดเลาท่าที

เขาเจ้าของบ้าน  คงสำราญใจ

วันนี้เป็นวันสงกรานต์  ท่านเจ้าบ้านคงพักผ่อนลุกขึ้น

นั่งหวังพึ่งนอน  พักผ่อนไม่ไปไหน

คณะผมนำไปทำบุญ สมทบทุนด้วยน้ำใจ มานั่งหน้า

แดนอยู่แน่นหน้าได โปรดเห็นใจจริง

ท่านทำบุญแม้ครั้งละนิดผลบุญย่อมปลิดไปปลดเปลื้อง

แม้เพียงบาทขาดเพียงเฟื้อง ไม่เปลืองสักเท่าไร

ท่านมอบแล้วขออำนวยพร  จงถาวรจำเริญสุข

ห่างความทุกข์ใกล้ความรัก  สมศักดิ์ศรี

ผมว่าดังมิได้หวังเด่น ว่าพอเป็นกระทู้ทงน้อมตัวลง

ด้วยสุภาพ  ผมต้องกราบลา

(ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม 11)

 

การขับร้องเพลงไทยสากลรูปแบบต่างๆ

 บทเพลงปลุกใจ 

 

กล่องข้อความ: คำถามท้าทาย    


นักเรียนรู้จักเพลงปลุกใจเพลงใดบ้าง?

 

เนื้อเพลงที่ใช้ในทำนองของบทเพลงปลุกใจที่มีท่าทางประกอบส่วนใหญ่จะเป็นบทเพลงที่

พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ได้แต่งประกอบละครปลุกใจ ทุกเพลงมีเนื้อหาสาระที่ให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์มากมาย ส่วนท่ารำที่ใช้ประกอบบทเพลง ครูและนักเรียนสามารถคิดท่าประกอบเองได้  โดยนำความรู้เรื่องนาฏยศัพท์และภาษาท่ามาประยุกต์ใช้  นอกจากนี้สาระการเรียนรู้อื่นๆ สามารถนำบทเพลงปลุกใจไปบูรณาการในการเรียนการสอนได้ เช่น สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์  เป็นต้น

บทเพลงปลุกใจที่จะนำมาใช้ในระดับชั้นนี้  ได้แก่  เพลงต้นตระกูลไทย  ซึ่งเป็นเพลงประกอบการแสดงชุดอานุภาพพ่อขุนรามคำแหงในเนื้อหาของเพลงได้กล่าวถึงบุคคลสำคัญที่มีความสำคัญต่อชาติไทย

 

ตัวอย่างเพลงปลุกใจ

เพลงต้นตระกูลไทย

คำร้อง : หลวงวิจิตรวาทการ

ทำนอง : หลวงวิจิตรวาทการ ดัดแปลงจากทำนองเพลงเก่า

(สร้อย) ต้นตระกูลไทย  ใจท่านเหี้ยมหาญ  รักษาดินแดนไทย  ไว้ให้ลูกหลาน

สู้จนสูญเสีย แม้ชีวิตของท่าน เพื่อถนอมบ้านเมืองไว้ให้เรา

ลุกขึ้นเถิด พี่น้องไทย อย่าให้ชีวิตสูญเปล่า

รักชาติยิ่งชีพของเรา เหมือนดังพงศ์เผ่า ต้นตระกูลไทย

            ท่านพระยาราม ผู้มีความแข็งขัน สู้รบป้องกัน มิได้ยอมแพ้พ่าย

พระราชมนู ทหารสมัยกู้ชาติ แสดงความสามารถ ได้ชัยชนะมากหลาย

เจ้าพระยาโกษาเหล็ก ท่านเป็นแม่ทัพชั้นเอก ของสมเด็จพระนารายณ์

สีหราชเดโช ผจญสงครามใหญ่โต ต่อตีศัตรูแพ้พ่าย

เจ้าคุณพิชัยดาบหัก ผู้กล้าหาญยิ่งนัก ล้วนเป็นต้นตระกูลไทย   (สร้อย)

            หมู่บุคคลสำคัญ หัวหน้าชาวบางระจัน ที่เราหาชื่อได้

นายแท่น นายดอก นายอิน นายเมือง ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองแสงใหญ่

นายโชติ นายทองเหม็น ท่านพวกนี้ล้วนเป็น ผู้กล้าหาญชาญชัย

นายจันหนวดเขี้ยว กับนายทองแก้ว ทำชื่อเสียงเพริศแพร้ว ไว้ลายเลือดไทย

ชาวบางระจัน สำคัญยิ่งใหญ่ เป็นต้นตระกูลของไทย ที่ควรระลึกตลอดกาล  (สร้อย)

            องค์พระสุริโยไท ยอดมิ่งหญิงไทย สละพระชนม์เพื่อชาติ

ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร ป้องกันถลางนคร ได้ด้วยความสามารถ

ท้าวสุรนารี ผู้เป็นนักรบสตรี กล้าหาญองอาจ

ป้องกันอีสาน ต้านศัตรูของชาติ ล้วนเป็นสตรีสามารถ ต้นตระกูลของไทย  (สร้อย)

 

 บทเพลงประสานเสียง 2 แนว

บทเพลงประสานเสียง 2 แนว มีลักษณะการร้องแบบราวด์และแบบแคนนอน ซึ่งเป็นการร้องที่เป็นพื้นฐานในการร้องเพลงประสานเสียง

            การร้องแบบราวด์  (Roud) คือ การร้องเพลงวนทำนองมาขึ้นต้นใหม่เสมอ คือแต่ละกลุ่มร้องขึ้นพร้อมกันและจบพร้อมกัน โดยใช้เพลงและทำนองเดียวกัน

            การร้องแบบแคนนอน (Cannon) คือ การร้องคนละเนื้อร้อง ทำนอง แต่ร้องพร้อมกัน

ตัวอย่างบทเพลงราวด์ (Round)

เพลง Row Row Your Boat

           

 

ตัวอย่างเพลงแคนนอน (Cannon)

          เพลงชื่นชีวิต

คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล                                     ทำนอง เอื้อ  สุนทรสนาน

 

ชื่นชีวิตจิตใจ                           รักคู่หทัยเร้าในอารมณ์

พี่กับน้องชื่นชม                                   ทุกสิ่งเกลียวกลมภิรมย์ฤทัย

            ชื่นใจรักฝากคำ                      ฝังจิตใจจำน้อมนำกันไป

เธอมีฉันมั่นใจ                                    เราชื่นฉ่ำในฤทัยไม่จาง

แม้วันไม่สดชื่น                       แม้คืนจะเปล่าเปลี่ยว

รักเธอคนเดียว                                   รื่นรมย์กลมเกลียวทุกทาง

แสงเงินไม่สาดส่อง                  แสงทองไม่สุกสว่าง

รักเรามีทาง                                          สดชื่นไม่จางไม่ร้างห้างกัน

รักเธอเสมอมิ่งขวัญ… ในฤทัยไม่จาง

  รักกันนิรันดรไป

 

 บทเพลงรูปแบบ ABA

บทเพลงรูปแบบ ABA เป็นลักษณะของบทเพลงหรือโครงสร้างของบทเพลงที่เรียกว่าฟอร์ม (Form) ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้

เพลงที่มีลักษณะเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เรียกว่า ตอน A จะมีลักษณะแตกต่างจากตอน B

โดยความยาวของตอน A และ B มีความยาวเกือบเท่ากัน

 เพลงที่มีลักษณะเป็น  3 ตอน คือ A – B- A คือ จากตอนที่ A และ B แล้วกลับมาตอน A อีกครั้งหนึ่ง

การบรรเลงและร้องเพลงในลักษณะนี้จะเรียกว่า  รูปแบบเทร์นารี (Ternary Forn) ซึ่งอาจจะซ้ำตอนใดตอนหนึ่งอีกก็ได้ เช่น A – A- B – B, A – B – A – A  เป็นต้น

 

ตัวอย่างบทเพลงรูปแบบ ABA

 เพลงหากรู้สักนิด

 

ซึ่งสามารถแบ่งเป็นท่อง ABA ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ท่อน  A  -  หากฉันรู้สักนิดว่าเธอรักฉัน................

                     ......... เป็นของใคร

            ท่อน B  - เพียงแต่กระซิบว่าสุดที่รัก......................

                     …… คงไม่สลายมลายลงครัน

            ท่อน A – หากฉันรู้สักนิดว่าเธอรักฉัน..................

                     ......... จากสุดที่รักเอย

 

4.  บทเพลงประกอบการเต้นรำ

            บทเพลงประกอบการเต้นรำ คือ บทเพลงที่มี การขับร้องและบรรเลงประกอบการเต้นรำประกอบท่าทางต่างๆ ซึ่งการเต้นรำที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ ลีลาศ ซึ่งถือเป็นกีฬาชนิดหนึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้จังหวะดนตรี ในการเคลื่อนไหวประกอบท่าเต้นรำ ลีลาศ แบ่งเป็น  2 รูปแบบ คือ

            1. ลีลาศแบบบอลรูม หรือแสตนดาร์ด  มี  5 จังหวะ  ได้แก่ วอลทซ์ (Waltz) แทงโก้ (Tango) 

สโลว์ฟอกซ์ทรอท (Cuban  Rumba) พาโซโดเบล (Paso Doblle) และไจว์ฟ (Jive)

 

ตัวอย่างบทเพลงประกอบการเต้นรำ ตะลุงสากล

(ใช้ประกอบจังหวะตะลุง เป็นจังหวะลีลาศเพื่อเข้าสังคม)

คำร้อง: สมศักดิ์ เทพานนท์

ทำนอง: เอื้อ สุนทรสนาม

                        โหน่งเน้ง โหน่งแกละ               นั่นแหละเสียงเพลงชาวใต้

ตะลุงเป็นของคนไทย                          มาแปลงเปลี่ยนไปเป็นสากล

ฉิ่งฉับกรับโหม่ง                                   เท่งม่งฆ้องกลองมาปน

บรรเลงเพลงสากล                               คิดค้นเต้นรำแบบใหม่

อ่อ ออ เอย พวกเรา                              เสียงเพลงตะลุงเย้ายวนใจ

ช่วยกันเผยแพร่ไป                               ให้โลกชม

เพลงเอยชาวใต้                                    คนไทยนี้ควรนิยม

ฝรั่งไทยมาเริงรมย์                               ชื่นชมตะลุงสากล