โน้ตบทเพลงสากล
1.
เพลงศาสนา
เพลงศาสนาหรือดนตรีศาสนา (Church music หรือ Sacred
music) นี้เองมีส่วนทำให้ศาสนาโดยเฉพาะศาสนา
คริสต์เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา นับเป็นเวลาที่ยาวนานมาถึงร่วม 7 ศตวรรษ เพลงศาสนานี้จัดได้ว่าเป็นคำตรงกันข้ามกับ คำว่า ดนตรีบ้าน (secular
music) ดนตรีศาสนาจะขับร้องและบรรเลงกันในวัดหรือโบสถ์
ส่วนดนตรีบ้านเป็นดนตรีชาวบ้านที่ฟังหรือบรรเลงกันตามบ้านทั่ว ๆ
ไปเพลงศาสนาประเภทนี้เป็นเพลงประเภทขับร้องที่มีเนื้อร้องเกี่ยวกับศาสนาโดยเฉพาะ
มีทั้งประเภทที่ขับร้องเดี่ยว และ ขับร้องประสานเสียง อาจประกอบดนตรี หรือไม่ก็ได้
เพลงศาสนามีหลายชนิด อาทิ
แคนตาต้า
(Cantata)
เป็นเพลงร้องสั้น
ๆ เนื้อร้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งมีทั้งชนิดที่ใช้ร้องในโบสถ์
และร้องตามบ้าน ตัวอย่าง เพลง Cantata Duetto from Cantata n. 10
(Bach)
คอรอล
(Chorale)
เป็นเพลงที่ร้องเป็นเสียงเดียวกันหลายคนในบทสวด
ของศาสนาคริสตนิกายโปแตสแตนท์ของเยอรมัน ตัวอย่างเพลง (Chorale)
For Unto Us a Child is Born (From Messiah)
ฮีมน์ (Hymn)
คือเพลงสวดที่เกี่ยวกับศาสนา
มีลักษณะเป็นบทกลอน ร้องเพื่อศาสนาเพียงอย่างเดียว
แมส
(Mass)
คือบทร้องในศาสนานิกายโรมันคาทอลิค ร้องแบบประสานเสียง
เพิ่งมีดนตรีประกอบเมื่อ ศตวรรษที่ 17 ตัวอย่างเพลง Mass
Mozart, Mass in C Minor
โมเตท
(motet)
เป็นเพลงร้องทางศาสนา การร้องไม่มีดนตรีคลอ ส่วนมากร้องเป็นภาษาลาติน ตัวอย่างเพลง
Motet Intermedio di felici pastor โดย Banchieri
โอราโทริโอ (oratorio)
เป็นเพลงสวดที่นำเนื้อร้องมาจากพระคัมภีร์ มีทั้งร้องเดี่ยว ร้องหมู่
และมีดนตรีวงใหญ่ประกอบตัวอย่างเพลง Oratorio Hallelujah From Messiah
Haydn
แพสชั่น (Passion)
เป็นเพลงสวดที่มีเนื้อหา เนื้อเพลงเกี่ยวกับความทุกข์ยากของพระเยซู
รีเควี่ยม (Requiem)
เป็นเพลงสวดที่เกี่ยวกับความตาย ร้องในโบสถ์โรมันคาทอลิคในพิธีฝังศพ
หรือวันครบรองแห่งความตาย หรือวันรวมวิญญาณของศาสนาคริสต์คือ วันที่ 2 พ.ย. ของทุก ๆ ปี
2. เพลงที่ใช้ขับร้องในละครอุปรากร หรือละครโอเปร่า
เป็นละครชนิดหนึ่งที่แสดงโดยใช้การร้องเพลงโต้ตอบกันตลอดทั้งเรื่อง
มีการร้องดังนี้
อาเรีย (Aria)
เป็นเพลงขับร้องที่ร้องรำพันแสดงความรู้สึกทางจิตใจอย่างลึกซึ้ง
เป็นการขับร้องเดี่ยวโดยมีเครื่องดนตรีประกอบ เพลงหนึ่ง ๆ มี 3 ท่อน ท่อนที่ 1 , 2 ทำนองไม่เหมือนกัน ส่วนท่อนที่ 3
ทำนองจะเหมือนท่อนที่ 1
คอรัส (Chorus)
เป็นเพลงขับร้องหมู่ อาจเป็นเสียงเดียวกันหรือคนละเสียงก็ได้
คอนเสิรทไฟนอล (Concert
Final)
เป็นเพลงขับร้องหมู่ ใช้ขับร้องตอนเร้าความรู้สึกสุดยอด (Climax)
อาจเป็นตอนจบ หรือตอนอวสาน หรือตอนหนึ่งตอนใดก็ได้
เรคซิเรทีพ (Recilative)
เป็นการขับร้องกึ่งพุด การพูดนี้มีลีลาลักษณะของเสียง สูง ๆ ต่ำ ๆ
คล้ายกับการขับเสภาของเรา
ใช้สำหรับให้ตัวละครร้องเพื่อเล่าถึงเหตุการณ์ในท้องเรื่องทั้งสั้นและยาว ซึ่งมี 2 แบบ คือ
ดาย เรคซิเรทีพ (Dry
Recilative) เป็นการร้องกึ่งพูดอย่างเร็ว
มีเครื่องดนตรีประกอบ
เป็นครั้งคราว
เพื่อกันเสียงหลง
อินสทรูเมนท์ เรคซิเรทีพ (Instrument
Recilative) เป็นการร้องที่ใช้ดนตรีทั้งวง
ประกอบ
การร้องจะเน้นความรู้สึกและมีความประณีตกว่าแบบแรก
3. เพลงลีลาศ
ได้แก่เพลงทุกชนิดที่ใช้ในการลีลาศได้ เช่น เพลงแทงโก วอลท์ ช่าช่าช่า
ฯลฯ มีทั้งชนิดขับร้องและบรรเลง
4. พลงชาวบ้าน
ในขณะที่ดนตรีศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้น
ดนตรีที่ให้ความบันเทิงรื่นเริงก็ได้มีการเจริญเติบโตไปพร้อมกัน
มีการนำเอาบทเพลงที่ประกอบไปด้วยจังหวะและทำนองมาประกอบการดำเนินชิวิตประจำวัน
โดยเฉพาะในการประกอบการทำงานต่าง ๆ เช่น เมื่อช่วยกันเกี่ยวข้าว เพลงชาวบ้านโดยมากเป็นเพลงง่าย
ๆ การแต่งก็ไม่มีการบันทึกไว้เป็นโน้ต ร้องต่อ ๆ กันจนจำได้ มีทำนองซ้ำ ๆ
กันหลายต่อหลายท่อนในเพลงแต่ละเพลง เช่น เพลงเต้นกำรำเคียวของไทย
หรือในรัสเซียเพลงที่มีชื่อเสียงก็คือ Song of tht volga boatmen เป็นเพลงของชาวเรือในแม่น้ำโวลก้า พวกชาวเรือเหล่านั้นจะยืนอยู่บนริมฝัง
และช่วยกันฉุดลากเรือเพื่อให้แล่นทวนกระแสน้ำ
พร้อมกับร้องเพลงเพื่อให้จังหวะในการออกแรงอย่างพร้อมเพรียงกัน หรือในอิตาลีเพลง Santa
lucia ซึ่งเป็นเพลงของชาวเรือ เนเปิลส์
เพลงนี้ชาวเรือจะร้องในยามค่ำคืน รำพึงถึงความอ้างว้างของท้องทะเล และความงดงาม
เพลงนี้ได้มีการนำมาใส่คำร้องเป็นภาษาไทย
และเป็นเพลงประจำของคณะศิลปกรรมของมหาวิทยาลัยศิลปกร (สาเหตุคงเป็นเพราะว่า
ท่านอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ท่านเป็นชาวอิตาเลียน)
5. เพลงตะวันตก
หมายถึงเพลงที่ขับร้องกันในภาคตะวันตกของสหรัฐ เท่านั้น
พวกที่บุกเบิกในการร้องคือ พวกกรรมกรรถไฟ พวกโคบาล พวกพเนจร
พวกเจ้าของที่ถือครองเกษร
เพลงลูกทุ่งของไทยจะเรียกว่าเลียนแบบเพลงตะวันตกหรือเพลงชาวบ้านก็ได้
เพลงตะวันตกนับได้ว่าเป็นเพลงอเมริกันแท้เพราะเกิดในอเมริกา
และเกิดจากสิ่งแวดล้อมและจิตใจของคนที่อยู่อเมริกา
6 เพลง Chamber music
ประกอบขึ้นด้วยเครื่องดนตรี ตั้งแต่ 3 - 7 คนขึ้นไป และบางทีก็มีการร้องแทรกอยู่บ้าง
เป็นเพลงสำหรับฟังเล่นเย็น
ๆ ให้อารมณ์ผ่อนคลาย เปรียบได้กับเพลงจากวงดนตรีเครื่องสายไทย เพลง Chamber
music มักจะต้องประกอบด้วยนักดนตรีฝีมือเยี่ยม เพราะถ้าใครเล่นผิดพลาดไปคนฟังก็สังเกตได้
7. เพลงกล่อมเด็ก (Lullaby)
เป็นเพลงที่เกิดจากแรงดลใจภายในตัวแม่
เพื่อกล่อมลูกให้หลับแต่แล้วก็กลายเป็นทำนองอันไพเราะไป
เพลงกล่อมเด็กแทบทุกเพลงมีทำน้องช้า ๆ โหยหวน ฟังแล้วชวนหลับ
8. เพลง Sonata
เป็นเพลงที่แต่งขึ้นให้เล่นด้วยเครื่องดนตรีหนึ่งหรือ 2 ชิ้น ซึ่งโดยมากมักจะเป็น ไวโอลินกับเปียโน โดยมากเป็นเพลงช้า ๆ
เล่นให้กับบรรยากาศขณะที่ศิลปินประกอบแต่งเพลงนั้น ๆ เพลง moonlight Sonata
ของบีโธเฟนแต่งขึ้นเมื่อมีแสงจันทร์ส่องลอดเข้ามาทางหน้าต่างเป็นต้น
9. เพลงเซอเรเนค (Seranade)
หมายถึงเพลงยามเย็น เป็นเพลงที่เกี่ยวกับความรัก การเกี้ยวพาราสี
คล้ายกับเพลงยาวของไทย
10 เพลงพาเหรด (March)
ได้แก่เพลงซึ่งมีจังหวะเน้นหนักเบา
โดยมากเพื่อประกอบการเดินแถวของพวกทหาร หรือเพื่อประโยชน์ในการปลุกใจ ฟังคึกคัก
ตื่นเต้น เพลงเดินนี้เรียกว่า Military March มีเพลงชนิดหนึ่งมีจังหวะช้า
ใช้ในการเดินขบวนแห่ โดยเฉพาะการแห่ศพ เรียกว่า Processional March
11. เพลงแจ๊ส (Jazz)
เพลงแจ๊สเป็นเพลงอเมริกันแท้อีกชนิดหนึ่ง ลักษณะสำคัญของเพลงแจ๊สคือ
การมี Syncopation (ซินโคเปชั่น) หมายถึงการเน้นจังหวะที่จังหวะยก
มากกว่าจังหวะตก โดยมากเพลงแจ๊สจะเป็นเพลงที่มีเสียงอึกทึกอยู่ไม่น้อย
แต่เพลงแจ๊สที่เล่นอย่างช้า ๆและนุ่มนวลก็มีเช่นกัน
เพลงแจ๊สรุ่นแรกเกิดขึ้นทางภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาโดยพวกชนผิวดำที่
ที่มาเป็นทาส เพลงแจ๊สที่เกิดทางใต้นี้มีชื่อเรียกว่า Dixieland Jazz เพลงแจ๊สได้รับการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาจนกลายมาเป็นเพลง Blue ลักษณะของเพลง Blue นี้จะเล่นอย่างช้า ๆ เนิบนาบ
12. เพลงซิมโฟนี (Symphony)
หมายถึง ลักษณะของดนตรีที่พัฒนาถึงจุดสุดยอดในเรื่องของ จังหวะ ทำนอง
ความแปรผัน และความละเอียดอ่อนทั้งหลาย
นอกจากนั้นซิมโฟนียังเป็นดนตรีที่มีการแสดงออกในด้านต่าง ๆ อย่างบริบูรณ์
มีการเร้าอารมณ์โดยไม่ต้องมีคำอธิบาย ไม่ต้องตีความ
ถ้าจะเปรียบกับการแต่งประโยคในการเรียงความ
เพลงซิมโฟนีก็จะเป็นประโยคเชิงซ้อนมากมายตั้งแต่ต้นจนจบ โครงสร้างของเพลงซิมโฟนี
ตามแบบมีดังนี้
ก. ทำนองบอกกล่าว (Statement)
ข. ทำนองนำ หรือทำนองเนื้อหา (Exposition)
ค. ทำนองพัฒนา (Development)
ง. ทำนองอวสาน (Conclusion)
เพลงซิมโฟนีตามแบบมักจะมี
4 กระบวน (ท่อน) แต่ละกระบวนมีทำนองเนื้อหาของตนเอง
ก. กระบวนที่ 1 มักจะเล่นในจังหวะ เร็วและแข็งขัน
ข. กระบวนที่ 2 เรียบและเรื่อยเอื้อย หรือช้าและแช่มช้อย
ค. กระบวนที่ 3 สั้น ๆ และระรื่น
ง. กระบวนที่ 4 รวดเร็วดังและรุนแรง
เพลงซิมโฟนีนอกแบบอาจมีถึง 5 - 6 กระบวนก็ได้
โดยปกติเพลงซิมโฟนีไม่มีการขับร้องแทรกปนเว้นแต่เพลงซิมโฟนีหมายเลข 9 ของบีโธเฟน และเพลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของกุสตาฟมาห์เลอร์ วงดนตรีที่จะใช้เล่นเพลงซิมโฟนีให้ได้มาตรฐาน
จะต้องมีเครื่องดนตรีไม่ต่ำกว่า 70 ชิ้น
13. เพลง Program music
อาจนับได้ว่าเป็นเพลงอยู่ในจำพวกซิมโฟนี
เพราะมีหลักการโครงสร้างคล้ายกัน
เนื้อเพลงอาจสั้นกว่าและอาจมีกระบวนหรือไม่มีก็ได้
แต่สาระสำคัญของเพลงประเภทนี้คือว่ามีการพยายามเล่าเรื่องหรือบรรยายภูมิประเทศด้วยเสียง
แต่ความพยายามนี้ก็มิค่อยสำเร็จนัก จึงมักจะต้องมีการแจกบทความเล่าเรื่องนิยายหรือภาพนั้น
ๆ ให้ผู้ฟังได้ทราบก่อนฟัง
แล้วผู้ฟังจะจินตนาการหรือนึกภาพจากเสียงดนตรีอีกทีหนึ่ง
เพลงนิยายมักจะมีชื่อบอกเนื้อเรื่องเช่น Don Juan le route d'ompha ถ้าแบ่งเป็นกระบวนก็จะเรียกว่า Suite (อ่านว่า สวีท)
เช่น Grand canyon
suite
หรือ peer gynt suite เป็นต้น
14. เพลง (Concerto)
มีลักษณะของการประกอบแต่งเช่นเดียวกันกับเพลงซิมโฟนีเกือบทุกประการ
แต่วัตถุประสงค์เพื่อแสดงความสามารถและฝีมือเล่นเดี่ยวของเครื่องดนตรีชนิดนั้น ๆ
ซึ่งจะเล่นแทรกขึ้นมาเดี่ยว ๆ แล้ววงดนตรีก็จะประโคมรับ หรือเล่นให้เบาลงเป็นแบคกราว
ถ้าจะว่าก็คล้ายคลึงกับบทขับร้อง แต่แทนที่จะเป็นการขับร้อง
ก็กลายเป็นการนำเครื่องดนตรีมาบรรเลงเดี่ยว
15. เพลงโอเวอร์เจอร์ (Overture)
เป็นเพลงเล่นด้วยวงดนตรีสำหรับซิมโฟนี หรือวงดนตรีขนาดใหญ่
เล่นประกอบอุปรากรหรือละครดนตรี เล่นโหมโรงก่อนเปิดฉากการแสดงอุปรากรหรือละครดนตรีและโดยมากมักเอาทำนองเพลงต่าง
ๆ ที่จะขับร้องในอุปรากรเรื่องนั้น ๆ มาปะติดปะต่อกันเข้าเป็นงานอีกชิ้นหนึ่ง
เพลงอมตะ
(Immoral song)
หมายถึง เพลงใด ๆ ก็ได้ ที่ได้รับการยอมรับยกย่องว่า มีความไพเราะ
และเป็นที่นิยมอยู่ทุกยุคทุกสมัย หรือ เป็นที่นิยมรู้จัก ฟังไพเราะอยู่เสมอไม่ว่า
เวลาใด ยุคใด สมัยใด เช่นเพลงบัวขาว แสงทิพย์ ของไทย
บทเพลงเพลงพระราชนิพนธ์
ลมหนาว หรือ Love in Spring
เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่
๑๙ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และได้พระราชทานเพลงนี้
ออกบรรเลงครั้งแรก ในงานประจำปีของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ
เวทีลีลาศสวนลุมพินี เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา
แต่งคำร้องภาษาไทยถวาย
Love in Spring
Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: H.H. Prince Chakrabandh Pensiri
Love in spring
sets my heart aflame,
Burning as embers glow.
Everytime when I hear your name,
Then my burning tears begin to flow.
There'll come a day
When skies will be so blue.
May be you'll say
You are in love with me too.
I'll find joy then in everything,
For I find my love in spring
I am longing for love in spring
When the days are so fair.
What supreme happiness it'll bring.
All the red roses bloom everywhere.
Birds in the trees
Will sing a lovely tune.
And in the breeze
We'll watch the bright lovely moon.
I'll find joy then in everything,
for I find my love in spring.
เพลงพระราชนิพนธ์ สายฝน Falling Rain
Rain winds sweep across the plain.
Thunder rumbles on high.
Lightening flashes; Bows the grain.
Birds in fright nestward fly.
But the rain pours down in blessing;
Filled with cheer our hearts expand.
As the woods with notes of pleasure ring,
Sunlight streams o'er the land.
Bright the rainbow comes in view.
All the world's cool and clean.
Angels' tears the flowers renew.
Nature glistens in green.
Rain beads sparkle in your hair, love.
Rainbows glitter when you smile.
Thus we soon forget the clouds above,
Beauty so does beguile.
เพลงพระราชนิพนธ์
ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย
ส่วนภาษาอังกฤษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
ทรงแต่งร่วมกับท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา เพลงพระราชนิพนธ์สายฝนนี้
มีลีลานุ่มนวลอ่อนหวาน
บรรเลงครั้งแรกในงานรื่นเริงของสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ณ
เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงเป็นเพลงยอดนิยมของพสกนิกรไทยอีกเพลงหนึ่งจนถึงปัจจุบัน
เพลงพระราชนิพนธ์ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๘๙
ขณะทรงเป็นสมเด็กพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ
ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทย โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
ทรงช่วย ส่วนคำร้องภาษาอังกฤษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่
ณ อยุธยา ประพันธ์ขึ้น และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
ทรงช่วยแก้ไข
แล้วพระราชทานให้วงดนตรีสุนทราภรณ์นำออกบรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมโฆษณาการ
(กรมประชาสัมพันธ์ปัจจุบัน) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๙
เพลงพระราชนิพนธ์ ใกล้รุ่ง Near Dawn
How calm the world all nature slumber still.
Grey
is the sky. No breezes blow.
O'er
roof and hill, the moon now low
Sends
gentle light to guard below.
Cocks
waking call 'cross the fields:
Grey
shadows flee. Stars disappear.
But,
here I lie sleepless, dear.
Bats
flutter home. The dawn is near.
Gold
streaks the east.
Its
glow, the reefs reflect,
Dark
leaves turn green.
And
flow'rs with light, are deck'd.
Now
birds and babes wake to play.
The
world expectant waits
To
greet a bright, new day.
Dew
fresh and cool. The town awakes from sleep!
Its
throb I hear: car, speeding, hum.
Of
love and hope the birds sing, dear
Come,
rise don't mope. The dawn is near.