การเปรียบเทียบตัวโน๊ตเป็นอักษรไทย

สำหรับผู้ที่เริ่มเรียนดนตรีไทยและยังไม่มีพื้นฐานด้านดนตรีมาก่อนอาจจะไม่เข้าใจลักษณะการอ่านโน้ตเพลงไทยดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการอ่านจึงขอใช้หลักการอ่านโน้ตไทยตามหลักทฤษฎีของ พ.ท.พระอภัยพลรบ (เพ็ง เพ็ญกุล)ซึ่งเป็นผู้แต่งตำราดนตรีวิทยาเมื่อ พ.ศ.2450 แล้วบัญญัติหลักการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษรขึ้นถือเป็นทฤษฎีที่ได้รับความนิยมมากโดยใช้ตัวอักษรไทยมาเปรียบเทียบให้ตรงกับเสียงของโน้ตสากลดังนี้

ด=โด

ร=เร

ม =มี

ฟ=ฟา

ซ=ซอล

ล=ลา

ท=ที

               ในกรณีที่โน้ตเสียงสูงจะใช้การประจุดไว้บนเสียงโน้ต เช่น ดํ = โด สูง เป็นต้นหลักการนี้จะทำให้ผู้ที่เริ่มเรียนจะเข้าใจได้ง่ายสำหรับวิธีการบันทึกโน้ตไทยนั้นจะใช้การบันทึกไปบนช่องตารางโดยแบ่งออกเป็นบรรทัด ๆ ละ 8 ห้อง ในแต่ละห้องจะมีบรรจุโน้ตไว้ 4 ตัวถ้าเป็นอัตราจังหวะ 2 ชั้นโน้ตตัวสุดท้ายของแต่ละห้องจะเป็นโน้ตเสียงตกจังหวะซึ่งในที่นี้จะอธิบายเฉพาะการอ่านโน้ตแบบอัตรา 2 ชั้นเป็นหลัก

 

ฉิ่ง ฉับฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ

 1234

 1234

 1234

1234

 1234

 1234

 1234

 1234

 

               นอกจากโน้ตที่บันทึกลงในช่องแล้วยังมีเครื่องหมาย – ซึ่งแทนตัวโน้ตเอาไว้ด้วยโดย 1 ขีด (-)แทนโน้ต 1 ตัวแสดงถึงการเพิ่มเสียงตัวโน้ตที่อยู่ข้างหน้าเครื่องหมายให้มีเสียงยาวขึ้นทั้งนี้ความยาวของเสียงจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนขีด (-)ดังนี้

ถ้ามี -มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ ¼ จังหวะ

ถ้า –มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 2/4 จังหวะ

ถ้ามี—มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ ¾จังหวะ

ถ้ามี—-มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 4/4 หรือ เท่ากับ 1 จังหวะ

              เมื่อเข้าใจถึงเครื่องหมายต่าง ๆ แล้ววิธีการอ่านโน้ตไทยนั้นจะใช้การเคาะจังหวะที่โน้ตท้ายห้องแทนเสียงฉิ่งฉับซึ่งอัตรา 2 ชั้นจะมีโน้ตตัวสุดท้ายเป็นเสียงตกจังหวะเสมอกำหนดให้ 1 บรรทัดโน้ตเท่ากับ 1 หน้าทับปรบไก่ดังที่กล่าวไว้ในบทที่ 1ดังนั้นเมื่ออ่านโน้ตอัตรา 2 ชั้นควรเคาะจังหวะที่โน้ตห้องสุดท้ายแทนเสียงฉิ่งเสียงฉับจะทำให้เข้าใจวิธีการบันทึกได้ง่ายขึ้นสำหรับการบันทึกโน้ตไทยโดยทั่วไปจะมีการบันทึกไว้7แบบซึ่งเป็นแบบที่พบกันมากที่สุดดังนี้

 

1.โน้ตแบบ 4 ตัวต่อ 1 ห้อง

ฉิ่ง ฉับฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ

 ดดดด

 รรรร

 มมมม

ฟฟฟฟ

ซซซซ

ลลลล

ทททท

ดํดํดํดํ

 

 2.      โน้ตแบบ 3 ตัวต่อ 1 ห้อง

ฉิ่ง ฉับฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ

 -ดดด

 -รรร

 -มมม

-ฟฟฟ

 -ซซซ

 -ลลล

 -ททท

 -ดํดํดํ

 

3.โน้ตแบบ 2 ตัวต่อ 1 ห้อง (ตัวที่ 2 และตัวที่ 4)

ฉิ่ง ฉับฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ

 -ด-ด

 -ร-ร

 -ม-ม

-ฟ-ฟ

-ซ-ซ

 -ล-ล

 -ท-ท

 -ดํ-ดํ

 

4. โน้ตแบบ 2 ตัวต่อ 1 ห้อง (ตัวที่ 3 และตัวที่ 4)

ฉิ่ง ฉับฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ ฉิ่ง ฉับ

 –ดด

 –รร

 –มม

 –ฟฟ

 – ซซ

 – ลล

 –ทท

–ดํดํ

 

5.      โน้ตแบบ 1 ตัวต่อ 1 ห้อง (ตัวที่ 4)

ฉิ่ง ฉับฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ ฉิ่ง ฉับ

 - – -

 —

—

—

—

—

—

 —ดํ

 

6.โน้ตแบบ 1 ตัวต่อ 2 ห้อง (ซึ่งเป็นโน้ตแทนเสียงที่ยาวห่าง ๆ การมี–คือแทนเสียงโน้ตตัวนั้น)

ฉิ่ง ฉับฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ ฉิ่งฉับ

 —-

 —

 —-

—

—-

 —

 —-

—

             

 จากวิธีการบันทึกโน้ตไทยทั้ง 6 แบบถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเริ่มอ่านโน้ตเพลงอัตรา 2 ชั้นที่จะนำมาศึกษาและสามารถครอบคลุมวิธีการอ่านโน้ตเพลงได้ทั้งหมด เพราะการศึกษาเพลงไทยนั้นควรจะต้องทราบถึงวิธีการอ่านโน้ตไทยเสียก่อน