จังหวะทำนอง (Duration) หมายถึงความสั้นยาวของเสียงทุกเสียงในทำนองเพลง
1 เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
ดนตรีเป็นโสตศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับเสียงและเวลาเวลาในทางดนตรีถูกกำหนดโดยใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะเป็นตัวเลขคล้ายกับเลขเศษส่วน
แต่ไม่มีเส้นตรงขีดระหว่างตัวเลขบนและล่าง
ตัวเลขตัวบน ใช้บอกจำนวนตัวโน้ต หรือจังหวะภายในแต่ละห้อง เช่น
เลข 2 หมายถึง มีตัวโน้ตได้ 2 ตัว
เลข 3 หมายถึง มีตัวโน้ตได้ 3 ตัว
เลข 4 หมายถึง มีตัวโน้ตได้ 4 ตัว
เลข 6 หมายถึง มีตัวโน้ตได้ 6 ตัว
ตัวเลขตัวล่าง ใช้บอกลักษณะตัวโน้ตที่ใช้เป็นเกณฑ์
เลข 2 ใช้แทนโน้ต ตัวขาว
เลข 4 ใช้แทนโน้ต ตัวดำ
เลข 8 ใช้แทนโน้ต ตัวเขบ็ต 1 ชั้น
เลข 16 ใช้แทนโน้ต ตัวเขบ็ต 2 ชั้น
โดยทั่วไปในทางดนตรีสามารถจำแนกอัตราจังหวะได้ 2 ประเภทคือ
อัตราจังหวะธรรมดา (Simple Time Signatures) และอัตราจังหวะผสม
(Compound Time Signatures)
จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ สี่ สี่ หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวดำ
(เลข 4 ตัวล่าง) ได้จำนวน 4 ตัว (เลข 4
ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1 ห้อง มี 4
จังหวะ ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ
ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4
จังหวะ
จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ สาม สี่ หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวดำ
(เลข 4 ตัวล่าง) ได้จำนวน 3 ตัว (เลข 3
ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1 ห้อง มี 3
จังหวะ ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ
ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3
จังหวะ
จากตัวอย่างข้างต้น
อ่านว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ สาม แปด หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวเขบ็ต
1 ชั้น (เลข 8 ตัวล่าง) ได้จำนวน 3
ตัว (เลข 3 ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1
ห้อง มี 3 จังหวะ ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ
ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3
จังหวะ
จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ หก สี่ หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวดำ
(เลข 4 ตัวล่าง) ได้จำนวน 6 ตัว (เลข 6
ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1 ห้อง มี 2
จังหวะ เนื่องจากเป็นอัตราจังหวะผสม โน้ตตัวดำ 3 ตัวให้นับ 1 จังหวะ หรือ 1 เคาะในอีกความหมายหนึ่งก็คือ
ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 6
จังหวะ (อัตราตัวโน้ตปกติ)
จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ หก แปด หมายความว่าภายในหนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวเขบ็ต
1 ชั้น (เลข 8 ตัวล่าง) ได้จำนวน 6
ตัว (เลข 6 ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1
ห้อง มี 2 จังหวะ เนื่องจากเป็นอัตราจังหวะผสม
โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัวให้นับ 1
จังหวะ หรือ 1 เคาะในอีกความหมายหนึ่งก็คือ
ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3
จังหวะ (อัตราตัวโน้ตปกติ)
จากตัวอย่างข้างต้น อ่านว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ เก้า แปด หมายความว่าภายใน
หนึ่งห้องเพลงที่กำหนดด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะนี้ประกอบด้วยตัวโน้ตตัวเขบ็ต
1 ชั้น (เลข 8 ตัวล่าง) ได้จำนวน 9
ตัว (เลข 9 ตัวบน) ในการปฏิบัติให้ถือว่า 1
ห้อง มี 3 จังหวะ เนื่องจากเป็นอัตราจังหวะผสม
โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัวให้นับ 1
จังหวะ หรือ 1 เคาะในอีกความหมายหนึ่งก็คือ
ภายหนึ่งห้องจะประกอบด้วยตัวโน้ตหรือตัวหยุดชนิดใดก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน4
จังหวะ (อัตราตัวโน้ตปกติ)
2 ความเร็วจังหวะ (Tempo) หมายถึง ความเร็วของบทเพลงต่าง ๆ
ที่อัตราความช้าเร็วต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์เพลงผู้กำหนดว่าจะให้มีความช้า
เร็ว เท่าไร อาจมีจังหวะเร็ว ปานกลาง หรือช้าก็ได้
แต่ต้องเคาะจังหวะให้ช่องของจังหวะห่างเท่ากันเสมอ
ในทางปฏิบัตินั้นการกำหนดความช้า เร็ว
ของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันจึงมีผู้ประดิษฐ์เครื่องมือที่ใช้เคาะจังหวะขึ้นมาเรียกว่า
เมโทรโนม (Metronome) เพื่อให้ใช้ยึดว่าความช้า
เร็ว
เท่าใดควรจะเคาะอย่างไรโดยการกำหนดเป็นคำศัพท์ทางดนตรีดังนี้เช่น
largo |
(very
slow, broad) 40-56 |
ช้ามาก |
grave |
(very
slow, solemn) |
ช้ามาก
ๆ |
adagio |
(slow)58-70 |
ช้า
ๆ ไม่รีบร้อน |
andante |
(moderately
slow)72-90 |
ช้า, ก้าวสบาย ๆ |
moderrato |
(moderate)
93-100 |
ความเร็วปานกลาง |
allegretto |
(moderately
fast)102-120 |
ค่อนข้างเร็ว |
allegro |
(fast)
125-134 |
เร็ว |
vivace |
(lively)
136-172 |
เร็วขึ้นแบบมีชีวิตชีวา |
presto |
(very
fast) 174-216 |
เร็วมากทันทีทันใด |
prestissimo |
(as
fast as possible) 218- |
เร็วที่สุด |
|
เมโทรโนม(Metronome) คือ เครื่องกำหนดจังหวะโดยใช้การบอกว่าใน 1 นาที
จะมีจังหวะตบกี่ครั้ง เช่น adagio มีความเร็ว 70 ครั้งต่อนาที เป็นต้น |
3. จังหวะตบหรือจังหวะเคาะ (Beat) หมายถึง การเคาะหรือนับจังหวะอย่างสม่ำเสมอที่ปรากฏในบทเพลง
เป็นจังหวะธรรมดาที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ คล้ายกับจังหวะการเต้นของหัวใจ (Pulse)
ความช้า เร็วนั้นขึ้นอยู่การกำหนดของผู้แต่ง
หรือผู้ประพันธ์ (Composer)
4.อัตราจังหวะ (Meter) หมายถึง การจัดกลุ่มของจังหวะตบหรือการจัดกลุ่มการเคาะ
และการเน้นจังหวะเคาะอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติจังหวะที่ 1 จัดเป็นจังหวะที่หนักที่สุดเช่น
กลุ่มจังหวะธรรมดา
กลุ่มจังหวะผสม
ทำนอง คือ เสียงที่เปล่งออกมาโดยมีความต่อเนื่องกันเป็นระบบ
ทำนองเปรียบเหมือนรูปร่างของบทเพลง มีเสียงสูง, ต่ำ,สั้น,ยาว ประกอบกันเข้า
โดยทั่วไปดนตรีประกอบด้วยทำนองซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจำ
องค์ประกอบของทำนองประกอบด้วย
- ความยาว (Length) ทำนองเพลงโดยทั่วไปมักประกอบด้วยทำนองทั้งสั้นและยาวส่วนที่สั้นที่สุดเรียกว่า
โมทีฟ (Motive) (โน้ตที่อยู่ในวงกลม)
- ช่วงกว้างของเสียง
(Range) หมายถึง
ช่วงห่างของเสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลงช่วงห่างของเสียงจะอยู่ช่วงใดของบทเพลงก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์