ตัวหยุด หรือเครื่องหมายพักเสียง (Rest)

*              ในทางดนตรี การไม่ออกเสียง คือเงียบเสียงดนตรีนั้น มีการใช้สัญญลักษณ์ที่เรียกว่า ตัวหยุด (Rest) บันทึกเพื่อการหยุดเสียงที่ต้องการหยุดได้ ตัวหยุดแต่ละตัวมีรูปร่าง ชื่อ และมีค่าเท่ากับตัวโน้ตแต่ละตัว การบรรเลงดนตรี หรือการร้องเพลง ในบทเพลงใดบทเพลงหนึ่งต้องมีบางตอนที่หยุดไปการหยุดนั้นอาจเป็น 4,3,2…จังหวะ หรืออาจมาก –น้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับผู้แต่ง การบันทึกตัวหยุดนั้นได้กำหนดเป็นสัญลักษณ์ เช่นเดียวกันตัวโน้ต ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่า “ตัวหยุด” (Rest) หมายถึง สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเงียบเสียงดนตรีหรือเสียงร้องแต่อัตราจังหวะยังคงดำเนินไปตลอด ตัวหยุดจะถูกเขียนลงบนบรรทัด 5 เส้น เช่นเดียวกับตัวโน้ต มีลักษณะต่างกันดังนี้

 

http://www.lks.ac.th/band/CHAP2-11.gif

 

http://www.lks.ac.th/band/CHAP2-13.gif

 

การเพิ่มอัตราจังหวะตัวโน้ตและตัวหยุด

โดยปกติอัตราจังหวะของตัวโน้ตมีค่าผันแปรตามเครื่องหมายกำหนดจังหวะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ด้วยขีดจำกัดของอัตราจังหวะที่ถูกกำหนดโดยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ จึงต้องมีวิธีการเพิ่มจังหวะให้กับตัวโน้ตและตัวหยุด เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับตัวโน้ตและตัวหยุด นอกจากนี้ยังเพิ่มสีสัน ของทำนองเพลงด้วย การเพิ่มอัตราจังหวะมีหลายวิธีดังนี้

 

http://www.lks.ac.th/band/Ties1.jpeg

หมายเหตุ

          มีเครื่องหมายอีกลักษณะหนึ่งที่คล้ายกับการโยงเสียง คือเครื่องหมายสเลอ (Slur) เครื่องหมายสเลอเป็นเส้นโค้งมีไว้สำหรับเชื่อมกลุ่มตัวโน้ตที่ต่างระดับกันหรือคนละเสียงเพียงเพื่อต้องการให้เล่นโน้ตที่มีเครื่องหมายสเลอนี้คล่อมอยู่ให้เสียงต่อเนื่องกัน

 

http://www.lks.ac.th/band/CHAP2-17.gif

 

http://www.lks.ac.th/band/Dot.jpeg

 

 

ในเบื้องต้น จะแนะนำตัวหยุดเบื้องต้น 3 ตัวหยุด คือ

ลักษณะตัวหยุด

ชื่อตัวหยุด

ชื่อสากล

http://www.kongmusic.in.th/images/unit1Note-1t.png

หยุดตัวกลม

WHOLE REST

http://www.kongmusic.in.th/images/unit1Note-1m.png

หยุดตัวขาว

HALF REST

http://www.kongmusic.in.th/images/unit1Note-1b.png

หยุดตัวดำ

QUARTER REST

โดย

หยุดตัวกลม มีค่าความยาวเสียงสูงสุด

หยุดตัวขาว มีค่าความยาวเสียงเท่ากับครึ่งหนึ่งของหยุดตัวกลม

หยุดตัวดำ มีค่าความยาวเสียงเท่ากับครึ่งหนึ่งของหยุดตัวขาว

ถ้าสมมุติให้ หยุดตัวกลม เป็นโน้ตที่มีค่าเต็ม ค่าความยาวการพักเสียงของตัวหยุด อาจเทียบได้ ดังนี้

 

http://www.kongmusic.in.th/images/unit1Note-2.png

 

เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันของโน้ตในลักษณะต่างๆ กับจำนวนตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เปรียบเทียบต่อกันแล้ว ทำให้สามารถกล่าวโยงไปถึงเลขประจำลักษณะของโน้ตต่างๆ ดังนี้

1.            เป็นเลขประจำลักษณะของ โน้ตตัวกลม, หยุดตัวกลม

2.            เป็นเลขประจำลักษณะของ โน้ตตัวขาว, หยุดตัวขาว

3.            เป็นเลขประจำลักษณะของ โน้ตตัวดำ, หยุดตัวดำ