ประวัติดนตรีจีน
ซอเอ้อหู
เอ้อหูหรือซออู้(ซอสองสาย)เป็นเครื่องดนตรีจีนประเภทสีที่มีชื่อเสียง เริ่มมีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง(คริสต์ศตวรรษที่7-คริสต์ศตวรรษที่10) เวลานั้นเอ้อหูเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นในหมู่ชนชาติส่วนน้อยที่พำนักอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ในประวัติวิวัฒนการนานกว่า 1,000 ปีนั้น ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบในวงงิ้วโดยตลอด ซอสองสายมีโครงสร้างง่ายมาก มีคันซอที่ทำด้วยไม้ด้ามเล็กๆ ยาวประมาณ 80 ซม. บนคันซอมีสายซอ 2 สาย ใต้คันมีกระบอกเสียงของซอรูปร่างแบบถ้วยน้ำชา นอกจากนี้ ยังมีคันซักซอที่ทำด้วยหางม้า เวลาบรรเลง ผู้บรรเลงจะใช้ท่านั่ง มือซ้ายถือตัวซอ มือขวาถือคันซักซอ ระดับเสียงของซอสองสายจะกว้างถึง 3 ช่อง เสียงของซอสองสายสามารถแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกได้เต็มเปี่ยม ซอสองสายมีเสียงคล้ายเสียงคน จึงเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเหมือน การร้องเพลง บางคนขนานนามว่าเป็น“ไวโอลินจีน” เนื่องจากเสียงซอมีความเศร้าในตัว จึงมักเอามาบรรเลงเพลงที่เน้นอารมณ์ซาบซึ้ง
หลังปีค.ศ. 1949 การผลิต ปรับปรุงและเทคนิคการบรรเลงซอ ได้รับการพัฒนาอย่างมาก ซอสองสายสามารถบรรเลงเดี่ยว และยังสามารถบรรเลงประกอบเพลงระบำ งิ้วและเพลงปกิณกะ ในวงดนตรีประเภทปี่และซอของจีน ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีหลัก เท่ากับเครื่องไวโอลินในวงดนตรีตะวันตก เนื่องจากวิธีการผลิตซอสองสายง่าย เรียนเป็นเร็วและฝึกง่าย ทั้งมีเสียงใสไพเราะ จึงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวจีนทั่วไป
ซอปั่นหู
ซอปั่นหูมีชื่ออื่นว่า”ปังหู” “ฉินหู”เป็นซอที่ เกิดขึ้นจากพื้นฐานของขิมหูฉินพร้อมๆกับการพัฒนาของละครงิ้วท้องถิ่น”ปังจื่อเชียง” เมื่อเทียบกับขิมหูฉินชนิดอื่นๆของจีน ลักษณะเด่นของซอปั่นหูก็คือมีเสียงดังกังวานและเสียงใส เหมาะสำหรับแสดงอารมณ์ความรู้สึกตื่นเต้น รุนแรงและเข้มแข็งมีพลัง ขณะเดียวกันซอปั่นหูก็สามารถบรรเลงท่วงทำนองที่ไพเราะและละเอียดด้วย
ซอปั่นหูมีประวัตินานกว่า 300 ปี โดยที่กล่องซอทำขึ้นด้วยการยึดแผ่นไม้บางๆหลายแผ่นติดกัน จึงได้ชื่อเป็นซอปั่นหู(ปั่นแปลว่าไม้แผ่น)
ซอเกาหู
เกาหูเป็นชื่อรวมของเครื่องดนตรีซอสองสายเสียงสูง ดัดแปลงจากซออู้หรือซอสองสาย เกาหูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับดนตรีกวางตุ้ง ดนตรีพื้นบ้านชนิดหนึ่งของจีน
ดนตรีกวางตุ้งเป็นดนตรีที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีพื้นบ้านในเขตกวางตุ้งของจีน กำเนิดขึ้นจากงิ้วท้องถิ่นและดนตรีพื้นบ้าน ตั้งแต่แรกเริ่มดนตรีกวางตุ้งไม่มีเครื่องดนตรีเกาหู ถึงทศวรรษ 1920 นายหลู่ เหวินเฉิง นักแต่งเพลงและนักดนตรีกวางตุ้งได้ดัตแปลงซออู้ เปลี่ยนสายซอจากสายไหมเป็นสายเหล็กกล้า ยกตำแหน่งของสายกำหนดเสียงให้สูงขึ้น เวลาบรรเลงจะใช้เข่าสองข้างหนีบตัวซอ ซอสองสายเสียงสูงที่มีเสียงใสและสูงชนิดนี้ ก็เรียกกันว่า เกาหู และกลายเป็นเครื่องดนตรีหลักในดนตรีกวางตุ้ง
ปี่โหว
ปี่โหวก่วงมีอีกชื่อเรียกว่า ปี่ไม้ไผ่ เป็นปี่ 2 ลิ้นชนิดหนึ่งที่ทำบนพื้นฐานปี่พื้นเมืองของจีน ตอนแรกเริ่มที่มีปี่ไม้ไผ่นั้น เป็นเครื่องมือที่พ่อค้าตามถนนใช้โฆษณาสินค้าของตนในมณฑลกลางตุ้ง ถึงปลายทศวรรษ 1920 ดนตรีกวางตุ้งและงิ้วกวางตุ้งได้เริ่มใช้ปี่ไม้ไผ่ จนแพร่หลายในเขตกวางตุ้งและกวางสี
โครงสร้างของปี่ไม้ไผ่เป็นแบบง่ายๆ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ลิ้นปี่ ตัวปี่และปากแตร ลิ้นปี่ทำด้วยหลอดต้นอ้อหรือต้นกก โดยปากค่อนข้างกว้าง ลิ้นปี่ 2 ชิ้นค่อนข้างหน้า ตัวปี่ทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ดำ ไม้แดง ไมัธรรมดา หลอดพลาสติกหรือหลอดโลหะ ปี่ไม้ไผ่มีเสียงดีที่สุด ในตัวเลาปี่ มีรู 7 รู ข้างล่างของตัวปี่เป็นปากแตรที่ทำด้วยทองเหลืองบางๆ เพื่อขยายเสียงและประดับปี่ด้วย
เสียงของปี่โหหรือปี่ไม้ไผ่คล้ายๆเสียงของปี่ธรรมดา เสียงทุ้มต่ำ ฟังเหมือนมีเสียงขึ้นจมูกเล็กน้อย มักจะบรรเลงด้วยกันกับซอเสียงกลางและซอเสียงต่ำ เพื่อเสริมเสียงกลางและเสียงต่ำในวงดนตรี
เซียว
เซียว มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า ตุ้งเซียว เป็นเครื่องดนตรีโบราณของจีน ตั้งแต่หลายพันปีก่อน เซียวก็เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่แพร่หลายในจีนแล้ว เมื่อเริ่มมีเครื่องดนตรีไผ เซียว(pipe of pan)ในหลายพันปีก่อนนั้น ผู้คนพบว่า เจาะรูที่มีช่องว่างต่างกันในตัวขลุ่ยเลาเดียวกัน ก็สามารถเป่าเสียงที่มีความสูงต่ำไม่เท่ากันได้ จึงเกิดเซียว ขลุ่ยเลาเดี่ยวที่มีหลายรูขึ้น เซียวในปัจจุบันมีขึ้นเมื่อสมัยราชวงศ์ฮั่น สมัยนั้นเรียกว่า“เชียงตี๋ ”เดิมเป็นเครื่องดนตรีของชนชาติเชียงที่อยู่ในเขตพื้นที่เสฉวนและกันซู่ ก่อนคริสต์ศักราช 1 ศตวรรษ เซียวแพร่ไปถึงเขตลุ่มแม่น้ำหวางเหอ พัฒนาเป็นขลุ่ย 6 รู
กว่านจือ
กว่านจือ”เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าเป็นเลาที่มีลิ้นสองอัน มีประวัติมาเป็นเวลานานแล้ว “กว่านจือ” เริ่มมีขึ้นในเปอร์เซียสมัยโบราณ คือประเทศอิหร่านในปัจจุบัน ในสมัยโบราณจีนเรียกว่า “บี้ลี่”หรือ”หลูกว่าน ” ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อกว่าสองพันปีก่อน “กว่านจือ”เป็นเครื่องดนตรีธรรมดาในเขตอุยกูซินเกียงของจีนแล้ว ต่อมา “กว่านจือ”ได้ค่อยแพร่เข้าสู่เขตภาคกลางของจีน โดยผ่านการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา วิธีการบรรเลงได้การพัฒนาไปและมีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ปัจจุบัน “กว่านจือ”ยังเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในภาคพื้นเมืองของจีน และเป็นเครื่องดนตรีที่บรรดาผู้คนนิยมใช้ในทางภาคเหนือของจีน
ซุน
ซุนเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่อเป่าโบราณที่สุดของจีน มีประวัติกว่า 7 พันปีแล้ว ซุนเริ่มมีขึ้นจากเครื่องมือล่าสัตว์ที่เรียกว่า”หลิวซิงสือ” ในสมัยดึกดำบรรพ์ มนุษยได้ใช้เชือกผูกกับก้อนหินหรือก้อนดิน เพื่อขว้างไปล่านกหรือสัตว์ บองก้องเป็นกลวง เมื่อรำแล้วจะมีเสียงออก ต่อมา มีบางคนรู้สึกสนุก จึงเอามาเป่า แล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นซุน ซุนในขั้นต้นส่วนใหญ่ทำด้วยหินหรือกระดูกสัตว์ ต่อมาจึงค่อยๆพัฒนาและทำด้วยเครื่องปั้นดินเผา และมีรูปร่างหลายชนิต เช่น รูปแบนกลม รูปกลมรี รูปวงกลม รูปปลาและรูปสาลี่เป็นต้น ในจำนวนนี้รูปสาลี่มีมากกว่าเซิงเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่เก่าแก่ของจีน มีประวัตินานที่สุดที่ใช้ลิ้นเป็นเอกเทศในโลก และเคยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเครื่องดนตรีตะวันตกด้วย
เมื่อปี1978 ที่สุสานโบราณเจิงโหวอี่ อำเภอสุย มณฑลหูเป่ยของจีนได้ขุดพบผาวเซิง เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่มีอายุกว่า2400ปี เป็นเซิงที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในจีนปัจจุบัน
ต้นกำเนิดของเซิงนั้นสามารถย้อนหลังไปถึงกว่าสามพันปีก่อน ระยะแรก เซิงมีลักษณะคล้ายขลุ่ย ไม่มีแผ่นลิ้นและเต้า แค่ใช้เชือกและกรอบไม้มัดรวมหลอดไม้ไผ่ที่ออกเสียงไม่เหมือนกันไว้ด้วยกัน ต่อมาจึงได้เพิ่มแผ่นลิ้นไม้ไผ่และเต้า ทำให้เซิงเริ่มแตกต่างไปจากขลุ่ยแดง เต้าทำมาจากน้ำเต้า ปากที่เป่าทำด้วยไม้ หลอดไม้ไผ่ที่มีความยาวไม่เท่ากันสิบกว่าหลอดเรียงเป็นรูปเกือกม้าอยู่บนเต้าเซิงน้ำเต้า หลังสมัยราชวงศ์ถัง นักดนตรีได้ปรับปรุงทำตัวเซิงด้วยไม้ ต่อมาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลง วัสดุที่ใช้จึงเปลี่ยนจากไม้เป็นทองแดง ขณะเดียวกัน แผ่นลิ้นก็เริ่มทำด้วยทองแดงแทนไม้ไผ่
หยางฉิน
ขิมหยางก็เรียกว่า“ขิมฝรั่ง” เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่งของจีน มีเสียงบรรเลงที่ชัดและเพราะ สามารถแสดงได้หลากหลายทั้งบรรเลงเดี่ยว บรรเลงพร้อมกัน หรือบรรเลงประกอบการร้องเพลงหรือการแสดงงิ้วเป็นต้น มีบทบาทสำคัญมากในการบรรเลงดนตรีพื้นเมืองและในวงดนตรีชนชาติ
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ก่อนศตวรรษกลาง ประเทศอาหรับโบราณต่างๆ เช่น ย่าซู่และเปอร์เซียเป็นต้นของตะวันออกกลางนิยมเล่นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่ง ชื่อขิมซ่าไท่หลี่ สมัยราชวงศ์หมิง(ปีค.ศ.1368-1644) เมื่อจีนกับเอเซียตะวันตกและเอเซียตะวันออกได้พัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ขิมซ่าไทหลี่ได้แพร่หลายเข้าสู่ประเทศจีน ทางเรือจากเปอร์เซีย ตอนแรกนิยมกันในแถวมณฑลกวางตุ้ง ต่อมาได้กระจายแพร่หลายไปถึงท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศจีน ผ่านการปรับปรุงของศิลปินพื้นเมืองของจีน ขิมซ่าไท่หลี่ได้กลายเป็นเครื่องดนตรีชนชาติของจีน ซึ่งก็คือขิมหยาง
พิณหลิว
พิณหลิวเป็นเครื่องดนตรีประเภทพิณชนิดหนึ่ง เนื่องจากทำด้วยไม้หลิว และมีสัณฐานคล้าย ๆ กับใบหลิว จึงได้รับชื่อเรียกว่า พิณหลิวหรือ”พิณใบหลิว” สัณฐานและโครงสร้างของพิณหลิวเหมือนกับพิณโบราณของจีนมาก แรกเริ่มเดิมที พิณหลิวมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน และมีรูปร่างเรียบง่ายแบบพื้นเมือง ชาวบ้านจีนจึงเรียกว่า” ถู่ผีผา” แปลว่า ”พิณชาวบ้าน” พิณชาวบ้านชนิดนี้ใช้แพร่หลายในแถบมณฑลซานตง อันฮุยและเจียงซู เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบละครงิ้วท้องถิ่น
วิธีการบรรเลงพิณหลิวก็เหมือนกับการบรรเลงพิณผีผา ผู้บรรเลงต้องนั่งตัวตรง เอาพิณหลิววางเฉียงที่หน้าอก มือซ้ายถือคันพิณ ใช้นิ้วแม่มือและนิ้วชี้ของมือขวาจับเครื่องดีดดีดสายพิณ กิริยาท่าทางสุภาพงดงามน่าดู
คงโห
คงโหเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายใช้ดีดสายพิณเก่าแก่ของจีน มีประวัติอันยาวนานกว่า 2,000 ปี นอกจากเป็นเครื่องเล่นดนตรีของวงดุริยางค์ในพระราชวัง คงโหยังแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปด้วย ในสมัยที่เจริญรุ่งเรืองของราชวงศ์ถัง(ปีค.ศ.618 – 907) เมื่อเศรษฐกิจและวัฒนธรรมพัฒนาอย่างรวดเร็ว ศิลปะการบรรเลงคงโหก็พัฒนาไปสู่ระดับสูง สมัยนั้น คงโหได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นเกาหลีและประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆของจีนตามลำดับ ทุกวันนี้ ในวัด**ของญี่ปุ่น ยังมีซากคงโหสองอันตั้งแสดงไว้ แต่ว่า หลังจากปลายศตวรรษที่ 14 เครื่องดนตรีเก่าแก่ชนิดนี้ก็ไม่เป็นที่นิยม จนค่อย ๆ สูญหายไป ผู้คนจะได้เห็นเพียงรูปวาดคงโหบางอย่างบนจิตรกรรมฝาผนังเท่านั้น
ระฆังชุด (เพียนจง)
ระฆังชุดเป็นเครื่องตีที่สำคัญในสมัยโบราณของจีน ระฆังชุดประกอบด้วยระฆังต่างๆที่มีขนาดใหญ่เล็กหลายใบ แขวนไว้บนที่ตั้งไม้ตามลำดับและเรียงเป็นหน่วยหนึ่งหรือหลายหน่วย ความดังของเสียงเคาะของแต่ละใบก็ไม่เหมือนกัน เนื่องจากสมัยต่างกัน รูปร่างของระฆังชุดก็ไม่เหมือนกัน บนตัวระฆังมักจะมีภาพวาดที่ละเอียดสวยงาม
ฆ้องเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีของจีนโบราณ มีบทบาทสำคัญมากในวงดนตรีชนชาติของจีน และสามารถใช้ในขอบเขตกว้างขวางมาก ไม่เพียงแต่ใช้ในวงดนตรีพื้นเมือง การบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นเมืองพร้อมกัน งิ้วต่างๆ และบรรเลงประกอบในการเต้นรำและการร้องเพลงเท่านั้น หากยังเป็นเครื่องดนตรีที่ขาดเสียไม่ได้ในกิจกรรมการเฉลิมฉลองต่างๆ เช่น การชุมนุมกัน การแข่งขันเรือมังกร การแข่งขันการทำงานเป็นต้น
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีของจีนแบ่งได้ตามความแตกต่างของวัตถุจะแบ่งเป็นประเภทโลหะ ไม้ไผ่และประเภทอื่นสามประเภท ฆ้องเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีแบบโลหะ ตัวฆ้องทำด้วยทองแดง มีโครงสร้างง่ายๆ ตัวฆ้องเป็นด้านกลม รอบๆด้านมีกรอบของฆ้อง นักแสดงใช้ไม้ตีปุ่มฆ้อง จนสั่นสะเทือนออกมาเป็นเสียง
ขลุ่ยน้ำเต้า
ขลุ่ยน้ำเต้าเป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องเป่าของชนชาติส่วนน้อย ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเช่นชนชาติไต่ ชนชาติอาชาง ชนชาติหว่าเป็นต้นนิยมมากที่สุดและใช้บ่อยที่สุด
ขลุ่ยน้ำเต้ามีประวัตอันยาวนาน ต้นกำเนิดสามารถย้อนกลับไปถึงสมัยราชวงศ์ฉิน(ก่อนปี221ก่อนคริสต์กาล) ขลุ่ยน้ำเต้าของปัจจุบันยังคงรักษาลักษณะพิเศษทางโครงสร้างของเครื่องดนตรีประเภทเดียวกันในสมัยโบราณ
ขลุ่ยน้ำเต้ามีลักษณะพิเศษในรูปร่างและโครงสร้าง ทำด้วยน้ำเต้าที่สมบูรณ์ใบหนึ่ง ประกอบด้วยหลอดไม้ไผ่สามหลอดและแผ่นลิ้นโลหะสามแผ่น หลอดไม้ไผ่หลอดหนึ่งเป็นปากเป่า ส่วนตัวน้ำเต้าเป็นเครื่องกำเนิดเสียง ข้างล้างของตัวน้ำเต้าปักหลอดไม้ไผ่ที่มีขนาดไม่เท่ากันสามหลอด แต่ละหลอดจะมีแผ่นลิ้นที่ทำด้วยทองแดงหรือเงินแผ่นหนึ่ง หลอดกลางกว้างที่สุด ข้างบนมีรูเสียงเจ็ดรู ซึ่งสามารถบรรเลงดนตรีได้ ส่วนหลอดที่อยู่สองข้างใช้บรรเลงเสียงประสาน
กลอง
กลองเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ใช้เป็นประจำของจีน กลองมีปรากฏมาเป็นเวลานานมาก ดูจากโบราณวัตถุที่ได้พบในปัจจุบัน สามารถบอกได้ว่ากลองมีประวัติประมาณ3000ปี ในสมัยโบราณ กลองไม่เพียงแต่ใช้ในการเซ่นไหว้และการเต้นรำเท่านั้น ยังใช้เพื่อโจมตีศัตรู ขับไล่สัตว์ป่า และยังเป็นอุปกรณ์บอกเวลาและแจ้งเหตุร้าย เมื่อสังคมได้พัฒนาไป ขอบเขตการใช้กลองก็กว้างขวางขึ้น วงดนตรีพื้นเมือง ละครงิ้วต่างๆ การเต้นรำ การแข่งเรือ การชุมนุมและการแข่งขันการทำงานเป็นต้นต่างก็ขาดเครื่องดนตรีประเภทกลองเสียไม่ได้ โครงสร้างของกลองค่อนข้างง่าย ประกอบด้วยหนังกลองและตัวกลองสองส่วน หนังกลองเป็นส่วนสร้างเสียงของกลอง ปกติจะใช้หนังสัตว์คลุมกรอบกลอง โดยผ่านการเคาะหรือตีทำให้สั่นและออกเสียง กลองจีนมีหลายแบบ ซึ่งในนั้นมีกลองเอว กลองใหญ่ กลองถองและกลองฮวาผึนเป็นต้น
ขลุ่ยไม้ไผ่
ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ได้รับความนิยมในจีน เนื่องจากทำด้วยไม้ไผ่ธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า“ขลุ่ยไม้ไผ่” ขลุ่ยทำด้วยหลอดไม้ไผ่ท่อนหนึ่ง ข้างในทะลวงข้อทิ้ง ตัวหลอดมีรูเป่าหนึ่งรู รูปิดเยื่อไผ่หนึ่งรู รูเสียงหกรู รูเป่าเป็นรูอันแรกของขลุ่ย ลมเป่าเข้าทางนี้ ทำให้อากาศภายในหลอดสั่นสะเทือนออกมาเป็นเสียง รูเยื่อเป็นรูอันที่สองของขลุ่ย ใช้เฉพาะปิดเยื่อไผ่ เยื่อขลุ่ยส่วนมากทำด้วยเยื่อต้นอ้อและเยื่อไม้ไผ่ เยื่อขลุ่ยเมื่อได้รับการสั่นสะเทือนของลมที่เป่าเข้าไป จะออกเสียงดนตรีนุ่มนวลและไพเราะ
แม้ว่าขลุ่ยมีขนาดเล็กและง่ายๆ แต่มีประวัติยาวนานถึงเจ็ดพันปี ประมาณสี่พันห้าร้อยกว่าปีก่อน ขลุ่ยเริ่มทำด้วยไม้ไผ่แทนกระดูก สมัยฮั่นอู่ตี้เมื่อปลายศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสกาล ขลุ่ยชื่อว่า“เหิงชุย(แปลว่าเป่าตามขวาง)” มีบทบาทสำคัญมากในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าสมัยนั้น นับตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ดเป็นต้นมา ขลุ่ยมีการปรับปรุงอย่างมาก ได้เพิ่มรูเยื่อ ทำให้การแสดงออกของขลุ่ยได้รับการพัฒนาอย่างมาก ฝีมือการเป่าขลุ่ยก็พัฒนาไปถึงระดับที่สูงมาก จนถึงศตวรรษที่สิบ พร้อมๆกับบกกวีซ่งและกลองงิ้วสมัยหยวน ขลุ่ยได้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการบรรเลงประกอบเสียงในงิ้วพื้นเมืองและวงงิ้วชนชาติส่วนน้อยต่างๆ ขลุ่ยก็เป็นเครื่องดนตรีที่ขาดเสียไม่ได้
ขลุ่ยมีศักยภาพในการแสดงอย่างสมบูรณ์แบบ สามารถบรรเลงดนตรีทั้งดังก้องและมีเสียงสูง ขณะเดียวกันก็สามารถบรรเลงเพลงระบำที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ตลอดจนดนตรีที่ดังเร้าใจและจับใจ นอกจากนี้แล้ว ขลุ่ยยังสามารถบรรเลงเสียงต่างๆของธรรมชาติได้ด้วย เช่น เลียบแบบเสียงนกเป็นต้น ขลุ่ยไม่เพียงแต่มีเทคนิคการเป่าที่หลากหลาย ยังมีชนิดต่างๆ เช่น ขลุ่ยฉวี่ ขลุ่ยปาง ขลุ่ยติ้งเตี้ยว ขลุ่ยเจียเจี้ยน ขลุ่ยอวี้ ขลุ่ยอวี้ผิง ขลุ่ยเจ็ดรูและขลุ่ยสิบเอ็ดรูเป็นต้น ทำให้เกิดเป็นขลุ่ยสำนักภาคใต้และขลุ่ยสำนักภาคเหนือที่มีลักษณะต่างกัน ขลุ่ยใต้มีลักษณะพิเศษที่เสียงไพเราะและเรียบๆ ใช้ขลุ่ยฉวี่เป็นหลัก ขลุ่ยฉวี่มีหลอดยาวและกว้าง เสียงบรรเลงนุ่มนวล ชัดและไพเราะ ได้รับความนิยมในเขตภาคใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงของจีน ขลุ่ยเหนือมีลักษณะเสียงดังและกระด้าง และจะใช้ขลุ่ยปางเป็นหลัก ขลุ่ยปางมีหลอดสั้นและแคบ เสียงบรรเลงดังกระหึ่มและมีเสียงสูง ได้รับความนิยมในเขตภาคเหนือของจีน
กู่เจิง
กู่เจิงเป็นเครื่องสายดีดโบราณของจีนซึ่งมีประวัติยาวนานประมาณ 2500 ปี โดยเริ่มแรกจากสมัยจ้านกั๋ว เป็นเครื่องดนตรีเมืองฉิน(ปัจจุบันคือเมืองสั่นซี) ชื่อกู่เจิงมาจากเสียงของเครื่องดนตรีที่เวลาดีดจะมีเสียง “zheng zheng” ในสมัยก่อนเรียกว่า เจิ้น คำว่ากู่หมายถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและสะท้อนวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนโบราณ เมื่อ 2500 ปีก่อน ทำจากไม้และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องถึงสมัยฮั่นเป็น 12 สาย สมัยถานและซ้งเป็น 13 สาย สมัยชิงเป็น 16สายจนถึง ค.ศ. 1960 ได้พัฒนาเป็น 18 21 23 และ 26 แต่ส่วนมากปัจจุบันนิยมใช้ 21 สายเพราะบันไดเสียงมีความเหมาะสมไม่ขาดไม่เกิน
เทคนิคบรรเลงกู่เจิงพัฒนามาจากพื้นเมืองแบ่งเป็น 4 สำเนียง
1. กู่เจิงซานตง เอกลักษณ์คือ เพลงซูอวิ้น ที่โดดเด่นคือการเอื้อนเสียงทำให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการภาพขณะรับฟัง
2.กู่เจิงเหอหนาน เอกลักษณ์คือ เพลงงิ้ว ที่โดดเด่นคือการกรอเสียงและเอื้อนเสียง ทำให้มีความลึกซึ้ง ความเศร้าสะกิดผู้ ฟังได้อย่างชัดเจน
3.กู่เจิงเจ๋อเจียง เอกลักษณ์คือ เพลงเกาซันหลิวซุ่ย ที่โดนเด่นคือการดีดอย่างนุ่มนวล เสียงเอื้อนที่ชัดเจน การบรรเลงที่มีชื่อเสียงอย่างมากคือ บรรเลงพื้นเมืองเจียนหนานซีจู๋
4.กู่เจิงแต่จิ้ว เอกลักษณ์คือ เพลงหันเอียซี่ซุ่ย เป็นเพลงทางตอนใต้ของจีนที่มีชื่อเสียง ที่โดดเด่นคือการเอื้อนเสียงเทคนิคมือซ้าย
ผีผา
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ที่มีความเป็นมายาวนานมาก เป็นตัวแทนของเครื่องสายดีดทุกประเภท ซึ่งได้สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันยาวนานของจีน ลักษณะของผีผามีการพัฒนามาโดยตลอดในสมัยโบราณลักษณะของพิณพระจันทร์ หลิ่วฉิน เยี่ยฉินและ พิณสามสายทั้งหมดถูเรียกว่า ผีผา หลังจากที่มีการพัฒนามากขึ้นก็ได้มีการกำหนดชื่อของแต่ละรูปร่างของผีผาอย่างชัดเจน ซึ่งผีผาที่เห็นในรูปนี้ก็คือ ผีผา ในปัจจุบัน ส่วนหลิ่วฉินและพิณพระจันทร์ได้ถูกเรียกตามชื่อของแต่ละเครื่องแตกต่างกันไป ในสมัยโบราณผีผามีแค่ 4 ช่อง และใช้ปิกในการบรรเลง รูปแบบการแสดงหลากหลาย สมัยถันประมาณ ค.ศ. 627 ในช่วงนั้นมีนักดนตรีคนหนึ่งใช้นิ้วในการบรรเลงโดยไม่ใช้ปิก นี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของเทคนิคการบรรเลงของผีผา ทำให้เกิดการพัฒนาเทคนิคต่างๆในการบรรเลงอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมาจนถึงเมื่อ 60 ปีก่อน เป็นช่วงที่ผีผาได้รับการพัฒนาให้เป็นแบบสากลมากยิ่งขึ้นรูปร่างของผีผาถูกเปลี่ยนเป็น 4 เซี่ยง (คอผีผา)และ 12 ปิ่น(หน้าไม้ของผีผา) แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ผีผาจึงได้รับการพัฒนาต่อมาเป็น 6 เซี่ยง 24 ปิ่น ซึ่งบันไดเสียงเป็น 12 คีย์เท่ากับสากล มีความโดดเด่นในการบรรเลงเพลงเดี่ยวและเป็นเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้ในวงดนตรีจีนในปัจจุบันเป็นเครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงระดับโลก
พิณพระจันทร์
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายดีด ชื่อภาษาจีนเรียกว่า หยวน ในสมัยโบราณมีชื่อว่า ผีผา ต่อมาพิณพระจันทร์ได้มีชื่อเรียกที่ชัดเจนขึ้นและรูปร่างแตกต่างจากผีผาอย่างชัดเจน ตามรูป รูปร่างปัจจุบันมี 3 แบบ คือ ต้าหยวน จงหยวนและเซี่ยวหยวน ตามลักษณะขนาดจากใหญ่ กลางและเล็ก ความโดดเด่นของเครื่องดนตรีชิ้นนี้คือได้รับฉายาว่า กีต้าร์จีน ซึ่งเสียงจะคล้ายๆกีต้าร์โปร่ง มีความสามารถในการบรรเลงเดี่ยวและเป็นเสียงผสานในวงดนตรีจีนอีกด้วย
แคนจีน
แคนจีน ในภาษาจีนเรียกว่า หลูเซิน เป็นเครื่องดนตรีของเผ่าเหมียวจู๋ในจีน ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลกวางสี เป็นเครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยโบราณทำด้วยหวายและถูกพัฒนามาเป็นไม้ไผ่ มีรูปร่างหลายอย่าง รูปร่างมาตรฐานที่ใช้บรรเลงในวงดนตรีจีนปัจจุบันมีลักษณะดังรูป มักถูกใช้ในการบรรเลงในเทศกาลต่างๆของเผ่าเหมียวจู๋ เมื่อก่อนมีตั้งแต่ 5 เสียง 10 เสียง ปัจจุบันมี 16 เสียงถึงมากกว่า20 เสียง ตามแต่ขนาดใหญ่ เล็ก และสามารถแบ่งประเภทของแคนได้ตามลักษณะของเสียงทุ้มและเสียงสูง ส่วนในภาพที่เห็นคือแคนเสียงสูง 16 เสียง ซึ่งเป็นมาตรฐานของแคนที่ใช้บรรเลง ความโดดเด่นของเครื่องดนตรีชิ้นนี้ คือการผสานเสียง มีเสียงที่สดใสกังวานและสามารถบรรเลงเพลงเดี่ยวและบรรเลงในวงดนตรีจีนได้
http://chorsmusic.com/mod/resource/view.php?id=83 |