<< Go Back 

                     องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์จะหมายรวมไปถึงการร้องรำทำเพลงดังนั้นองค์ประกอบ ของนาฏศิลป์ก็จะประกอบไปด้วย การร้อง การบรรเลงดนตรี และการฟ้อนรำ ทั้งนี้เพราะการแสดงออกทางนาฏศิลป์ไทยจะต้องอาศัยบทร้องทำนองเพลงประกอบการแสดง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะมาเป็นนาฏศิลป์ไทยได้จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ สำคัญๆดังต่อไปนี้

                   1. การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำเป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนรำที่สวยงาม โดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ ท่ารำเหล่านั้นได้ถูกต้องตามแบบแผน รวมทั้งบทบาทและลักษณะของตัวละคร ประเภทของการแสดง และการสื่อความหมายที่ชัดเจน

                   2. จังหวะ จังหวะเป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย จำเป็นต้องใช้จังหวะเป็น พื้นฐานในการฝึกหัด เพราะจังหวะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้วก็สามารถรำ ได้สวยงาม แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะ ก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะหรือเรียกว่า "บอดจังหวะ" ทำให้การรำก็จะไม่สวยงามและถูกต้อง

                   3. เนื้อร้องและทำนองเพลง เนื้อร้องและทำนองเพลงการแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้องและ ทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนสามารถสื่อความหมายให้กับผู้ชมเข้าใจตรงกันได้ เช่น การแสดงอารมณ์รัก ผู้รำจะประสานมือทาบไว้ที่หน้าอก ใบหน้ายิ้มละไม สายตามองไปยังตัวละครที่รำคู่กัน เป็นต้น

                   4. การแต่งกาย การแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์สามารถบ่งบอกถึงยศ ฐานะ และบรรดาศักดิ์ของผู้แสดงละครนั้นๆ โดยเฉพาะ การแสดงโขน การแต่งกายจะเปรียบเสมือนแทนสีกายของตัวละคร เช่น เมื่อแสดงเป็นหนุมานจะต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาว มีลายปักเป็นลาย ทักษิณาวัตร สวมหัวขนลิงสีขาวปากอ้า เป็นต้น


ที่มารูปภาพ : http://www.flickr.com/photos/7775183@N06/8100846327/

                   5. การแต่งหน้า การแต่งหน้าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผู้แสดงสวยงาม และอำพรางข้อบกพร่องของใบหน้าของผู้แสดงได้ นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้วิธีการแต่งหน้าเพื่อบอกวัย บอกลักษณะเฉพาะของตัวละครได้ เช่น แต่งหน้าคนหนุ่มให้เป็นคนแก่แต่งหน้าให้ผู้แสดง เป็นตัวตลก เป็นต้น

                   6. เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง การแสดงนาฏศิลป์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดง ดังนั้นผู้แสดงจะต้องรำให้สอดคล้องตามเนื้อร้องและทำนองเพลงในขณะเดียวกัน ดนตรีก็เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการช่วยเสริมให้การ แสดงสมบูรณ์ และสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการแสดงให้สมจริงยิ่งขึ้นด้วย


ที่มารูปภาพ : http://saentaranazaa.blogspot.com/2011/04/blog-post.html

                   7. อุปกรณ์การแสดงละคร การแสดงนาฏศิลป์ไทยบางชุดต้องมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงละครด้วย เช่น ระบำพัด ระบำนกเขา ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนร่ม เป็นต้น อุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้ประกอบการแสดงจะต้องสมบูรณ์ สวยงามและสวมใส่ได้พอดี หากเป็นอุปกรณ์ ที่ต้องใช้ประกอบการแสดง เช่น ร่ม ผู้แสดงจะต้องมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ววางอยู่ในระดับที่ ถูกต้องสวยงาม


ที่มารูปภาพ : http://www.maceducation.com/e-knowledge/2363104100/01.htm

นาฏศิลป์ไทยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้คือ
                1. ลีลาท่ารำ เป็นท่าทางเยื้องกรายฟ้อนรำที่อ่อนช้อยสวยงาม แสดงออกของอารมณ์ สื่อความหมายชัดเจน
                2.ดนตรีประกอบ ดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์และสร้างบรรยากาศในการแสดงให้สมจริงอีกด้วย
                3.บทร้อง ส่วนใหญ่จะเป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด มีความไพเราะสละสลวย คารม คมคายและมีคติสอนใจ
                4.เครื่องแต่งกาย มีแบบอย่างเฉพาะตัว งดงามประณีต และถูกต้องตามลักษณะการแสดง

ที่มาข้อมูล : http://sophenasowill.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

    << Go Back