ทัศนศิลป์คืออะไร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วิจิตรศิลป์" (Fine Arts) คือ ภาพวาด ภาพจิตรกรรมฝาผนัง งานปั้น หรืองานแกะสลักต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่ผ่านการฝึกฝนจนเชี่ยวชาญเพื่อให้เกิดความงาม ความสุนทรีย์ต่อผู้พบเห็น ศิลปะจึงเกิดขึ้นเนื่องจากเรานิยมยินดีที่ จะเข้าใกล้สิ่งสวยงาม หรือแม้แต่ของสิ่่งเดียวกันหลายๆ ชิ้น เราก็มักจะเลือกอันที่สวยงามที่สุดมาเป็นเจ้าของ ผลงานที่สร้างสรรค์นั้นจะขึ้นอยู่กับ ตัวศิลปินเอง ไม่ได้ทำเพื่อใคร หรือมีใครมาให้โจทย์ที่จะต้องทำตาม ศิลปินจะมีอิสระทางความคิดสูง และสามารถใส่ตัวตนและความรู้สึกลงไปใน ผลงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อที่จะสื่อสารอารมณ์ และบอกเล่าความรู้สึกออกมาเป็น"ภาษาภาพ" ให้คนได้มองและรับรู้ผ่านทางตา
วิจิตรศิลป์ จะเน้นด้านความงามเป็นสำคัญ เช่น ภาพลายไทย ภาพตามผนังวัด หรือภาพพุทธศิลป์ต่างๆ วิจิตรศิลป์แบ่งออกเป็น 5 แขนง ได้แก่
1. จิตรกรรม (Painting) หมายถึง การวาดภาพ ระบายสี เป็นการถ่ายทอดความงามและความรู้สึกนึกคิดลงบนพื้นระนาบ 2 มิติ โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสง และเงาสร้างสรรค์ให้เกิดภาพลวงตา เพิ่มความวามตื้น-ลึก ระยะใกล้-ไกล เพื่อให้มองเห็นภาพเป็น 3 มิติ เราเรียกผู้สร้างสรรค์ งานจิตรกรรมว่า จิตรกร
2. ประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง ศิลปกรรมที่สร้างขึ้นโดยวิธีการปั้น การแกะสลัก และการหล่อ เป็นศิลปกรรมที่มีปริมาตร หรือเป็น 3 มิติ คือ มีความกว้าง ความยาว และความลึกหรือความหนา งานประติมากรรมอาจทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น หิน ไม้ ดินเหนียว ปูน อิฐ และโลหะ
3. สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ทั้งสิ่งก่อสร้างที่คนทั่วไปอยู่อาศัยได้ เช่นสถูป เจดีย์ อนุสาวรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการกำหนดผังบริเวณต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นประโยชน์แก่การใช้สอยตามต้องการ งานสถาปัตยกรรมเป็นแหล่งรวมของงานศิลปะทางกายภาพเกือบทุกชนิด และมักมีรูปแบบแสดงเอกลักษณ์ของ สังคมนั้น ๆ ในช่วงเวลานั้น ๆ
4.วรรณกรรม (Literature) หมายถึง วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา หมายถึงวรรณคดีหรือศิลปะที่ เป็นผลงานอันเกิดจากการคิดและจินตนาการ แล้วเรียบเรียงและนำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปจะแบ่ง วรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรม ที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น
5. คีตกรรม (Music) หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง เป็นเสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ และมีแบบแผนโครงสร้าง หรือที่เรียกว่า ดนตรี โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่างๆ
ทัศนศิลป์เรียนอะไรบ้าง
1. จิตรกรรม(Painting) คือผลงานศิลปะต่างๆที่เป็นรูปแบบ 2 มิติโดยใช้กรรมวิธี เช่น การเขียน การวาด หรือการระบายสี ลงบนวัสดุต่างๆ เช่นกระดาษ ผ้า กำแพง ฯลฯ เพื่อให้เกิดความงามและสามารถสื่อสารแนวความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของศิลปินออกมาได้ โดยสามารถใช้ตัวกลางหรือสื่อกลาง(medium)ต่างๆ มาเป็นตัวจัดการกับผลงานให้ออกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น สีน้ำ สีฝุ่น สีน้ำมัน สีอะคริลิก หรือแม้กระทั่งสีสเปรย์
ที่มารูปภาพ : http://manastudio.net/ทัศนศิลป์คืออะไร/
2. ประติมากรรม(Sculpture) คือผลงานศิลปะในรูปแบบ 3 มิติ ที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยการปั้น การประกอบเชื่อมต่อ และการ แกะสลัก โดยมีวัสดุหลากหลาย เช่น ดิน ปูน หิน เหล็ก ไม้ ฯลฯ โดยศิลปินผู้สร้างสรรค์มักจะต้องกำหนดแนวความคิด เพื่อตีความหมายออกมา แล้วนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้วัสดุ และกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ งานประติมากรรมมีทั้งขนาดเล็กวางตั้งไว้ในบ้าน หรือบนโต๊ะได้ ไปจนกระทั่งขนาดใหญ่อย่างเช่น อนุเสาวรีย์ต่างๆ ประติมากรรมเป็นผลงานศิลปะที่มีความยากในการสร้างสรรค์มากกว่าสาขาอื่นๆ เพราะผู้สร้าง สรรค์จะต้องมีความแม่นยำและเชี่ยวชาญ เพราะเมื่อมองจากทุกด้านแล้วต้องมีความสวยงามเท่าเทียมกัน ต่างจากจิตรกรรมที่มองให้สวยเพียง ด้านเดียวก็เพียงพอ ทัศนศิลป์คืออะไร-ภาพพิมพ์
ที่มารูปภาพ : http://manastudio.net/ทัศนศิลป์คืออะไร/
3. ภาพพิมพ์ (Printmaking) ส่วนภาพพิมพ์จะเป็นงานศิลปะที่มีขั้นตอนและกระบวนการในการสร้างสรรค์มาก ที่สุด เหมาะกับคนที่มีสมาธิ และละเอียดอ่อนในการทำงาน เรามักจะเห็นกระบวนการภาพพิมพ์เข้าไปอยู่ในระบบอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก เพราะข้อดี ของกระบวกการภาพพิมพ์คือสามารถผลิตผลงานออกมาได้จำนวนมากเช่น โรงพิมพ์หนังสือ โรงสกรีนลายเสื้อ และอื่นๆ โดยภาพพิมพ์นั้น ประกอบด้วยตัวแม่พิมพ์ เช่น ตัวปั้ม ตัวอักษรในเครื่องพิมพ์ดีดแบบโบราณหรือ ผ้าไหม เหล็ก หมึกพิมพ์ ก็จะมีหลายแบบ เช่น เป็นกระป๋อง เป็นตลับ หรือเป็นแถบผ้าหมึก และวัสดุที่จะรองรับการพิมพ์ เช่น กระดาษ ผ้า พลาสติก โลหะและอีกมากมาย โดยจะแบ่งกรรมวิธีออกเป็น 4 รูปแบบคือ
ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) จะใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการแกะสลักแผ่นไม้ ให้เป็นลวดลายตามที่ต้องการ แล้วจึงใช้หมึกทาลงบนแผ่นไม้ และนำมาประกบลงบนกระดาษหรือผ้า เพื่อให้ได้ลวดลายตามที่ได้สร้างสรรค์ไว้ อาจมีแม่พิมพ์หลายชิ้น แม่พิมพ์ 1 ชิ้นต่อ 1 สี เพื่อให้ได้ผลงาน ที่มีสีสันหลากหลาย
ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (Silksreen) ยกตัวอย่าง เช่น ลายสกรีนบนเสื้อยืด บนปกหนังสือหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ กระบวนการในการสร้างสรรค์ ค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถผลิตผลงานออกมาได้มากเช่นเดียวกัน
ภาพพิมพ์หิน (Lithogrephy) เพื่อให้เข้าใจได้โดยง่ายจะใช้การยกตัวอย่าง เช่น ลายสกรีนบนเสื้อยืด บนปกหนังสือหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ กระบวนการในการสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถผลิตผลงานออกมาได้มากเช่นเดียวกัน
ภาพพิมพ์โลหะ (Etching) เป็นกระบวนการพิมพ์แบบร่องลึกนั่นคือการทำให้ผืนผิวของแม่พิมพ์ซึ่งเป็นทอง แดง เกิดเป็นร่องลึกเข้าไปเพื่อจะ ได้นำสีหมึกอัดเข้าไปในร่อง แล้วนำเข้าเครื่องพิมพ์ เพื่อกดสีที่อยู่ตามร่องให้ออกมาติดบนกระดาษ เทคนิคนี้ส่วนใหญ่จะได้ภาพที่ละเอียด เห็นลายเส้นคมชัด ตัวอย่างเช่น ธนบัตร ตราสัญลักษณ์องค์กร และอื่นๆ
ที่มารูปภาพ : http://manastudio.net/ทัศนศิลป์คืออะไร/
4. สื่อผสม หรือ สื่อใหม่ (New Media) จะเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างหนักไปทางใช้ความคิดเพื่อสื่อสาร แนวความคิด (Conceptual art) ของศิลปินให้ออกมาเป็นภาพ หรือ การแสดง อาจเป็นได้ทั้งภาพนิ่ง (Photo art) หรือ ภาพเคลื่อนไหว (VDO art) และการแสดง (Performance) หรือแม่กระทั้งสร้างขึ้นมาเองจากคอมพิวเตอร์ (Digital art /animation) ภาพและการแสดงที่ออกมาบางครั้งอาจไม่สวยงามเหมือนทั่วๆไป แต่จะสามารถสะเทือนอารมณ์ และทำให้ผู้ชมตระหนักและเข้าใจถึงสิ่งที่ศิลปินพยายามสื่อสารออกมาได้
ที่มารูปภาพ : http://manastudio.net/ทัศนศิลป์คืออะไร/
ที่มาข้อมูล : http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/art/3/ARTS_WEB/WEBPAGE/art1.html
http://manastudio.net/ทัศนศิลป์คืออะไร/
|