<< Go Back 

        ภาษาไทยถิ่นเหนือ หรือ กำเมือง คำเมือง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นพายัพ เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากในแถบจังหวัด  เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของ จังหวัดตาก สุโขทัยและ เพชรบูรณ์อีกด้วย
     คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันตกเรียก “กำเจียงใหม่” คือสำเนียงเชียงใหม่ มีลักษณะเนิบ ช้า ฟังดูอ่อนหวาน ส่วนสำเนียงล้านนาตะวันตกจะห้วน สั้น ดุดันกว่า แต่ที่เหมือนกันคือการออกเสียงนาสิก  ไม่มีคำควบกล้ำ ร  ล  เช่น “เกลือ” ออกเสียงเป็น “เกีย” และเสียง เอือะ เอือ จำเป็นเสียง เอียะ เอีย เช่น “เกือก(รองเท้า)” ออกเสียงเป็น “เกียก” “เชือก” ออกเสียงเป็น “เชียก” “เปลือก” ออกเสียงเป็น “เปียก” อักษร ช จะแทนด้วย จ  เช่น “ช้าง” ออกเสียงเป็น “จ๊าง” “ช้า”  ออกเสียงเป็น “จ๊า” “เช้า”  ออกเสียงเป็น “เจ๊า”  เป็นต้น

คำศัพท์ภาษาเหนือ คำนาม สรรพนาม
               ฉัน = เปิ้น (สุภาพ) , ฮา(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
               เธอ = ตั๋ว(สุภาพ) , คิง(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
               เขา(สรรพนามบุรุษที่ 3) = เปิ้น
               ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา = อุ้ย (เช่น แม่อุ้ย ป้ออุ้ย)
               ผู้ชาย = ป้อจาย
               ผู้หญิง = แม่ญิง
               พวกเขา = หมู่เขา
               พวกเธอ = สูเขา (สุภาพ), คิงเขา(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
               พวกเรา = หมู่เฮา, เฮาเขา
               พ่อ = ป้อ
               พี่ชาย = อ้าย,ปี่
               พี่สาว = ปี่
               ยี่สิบบาท = ซาวบาท
               ยี่สิบเอ็ด = ซาวเอ็ด
               เรือน = เฮือน
               โรงเรียน = โฮงเฮียน
               อิฐ = บ่าดินกี่
               คำเล่าลือ = กำสีเน
               ปฏิทิน = ปั๊กกะตืน คำเมืองแท้ๆจะแปลว่าปฏิทิน
จำนวนนับ
               1 = นึ่ง
               2 = สอง
               3 = สาม
               4 = สี่
               5 = ห้า
               6 = ฮก
               7 = เจ๋ด
               8 = แปด
               9 = เก้า
               10 = ซิบ
               11 = ซิบเอ๋ด
               20 = ซาว
               21 = ซาวเอ๋ด

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/jitrapon/2012/08/03/entry-1
          http://supanneelpru.wordpress.com/มาหัดอู้กำเมืองกั๋นเต๊/

    << Go Back