เพลงไทย หมายถึง เพลงที่ประพันธ์ขึ้นตามหลักดนตรีไทย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำชาติ มีลีลาการขับร้อง และการบรรเลงเป็นแบบไทย เพลงไทยเป็นศิลปะวัฒนธรรมของชนชาติไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ต่อมาได้พัฒนารูปแบบเพลงไทยมาเรื่อยๆ ได้มีการประพันธ์เพลงไทยให้มีลีลา และสำเนียงภาษาของชาติอื่นมากมายถึง 12 ภาษา เช่น ภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาแขก ภาษามอญ ภาษาจีน เป็นต้น เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาโดยเลียนสำเนียงอื่น มักมีชื่อนำหน้าเพลงตามสำเนียงภาษาที่เลียนมา เช่น เพลงลาววงเดือน เพลงเขมรไทรโยค เพลงมอญท่าอิฐ เพลงจีนขิมเล็ก 1. จังหวะสามัญ หมายถึงจังหวะทั่วไป ที่จะต้องยึดถือเป็นหลักในการขับร้องและบรรเลง แม้ว่าจะไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องให้สัญญาณจังหวะ ก็จะต้องมีความรู้สึกอยู่ในใจตลอดเวลา 2. จังหวะฉิ่ง เป็นการแบ่งจังหวะด้วยฉิ่ง โดยปกติจะตีสลับกันเป็น ฉิ่ง-ฉับ แต่ถ้าเป็นสำเนียงจีน หรือญวน จะตีเป็น ฉิ่ง-ฉิ่ง-ฉับ หรือบางครั้งจะตีเป็นเสียงฉิ่ง อย่างเดียวก็ได้ เช่น เพลงเชิด เพลงสาธุการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการตีฉิ่งกับเพลงประเภทจังหวะพิเศษอีกด้วย 3. จังหวะหน้าทับ หน้าทับ หมายถึง วิธีการตีของเครื่องดนตรีประเภทกลองต่างๆ ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการนับจังหวะ 1. เพลงบรรเลง 2. เพลงขับร้อง เพลงบรรเลง หมายถึง เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงเพียงอย่างเดียว ไม่มีการขับร้อง แบ่งเป็น เพลงโหมโรง คือ เพลงที่ใช้บรรเลงเริ่มต้นของการบรรเลง หรือการแสดง มีความหมายบอกให้ทราบว่า พิธีหรืองานจะเริ่มขึ้นแล้ว และยังเป็นการอัญเชิญเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาประชุมสโมสรในงาน เพื่อจะได้เป็นสิริมงคลแก่เจ้าภาพ และผู้ร่วมงาน เพลงโหมโรงแบ่งออกเป็นหลายชนิดดังนี้ - เพลงโหมโรงเช้า ใช้บรรเลงในเวลาเช้าสำหรับงานที่มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น - เพลงโหมโรงประกอบการแสดง ใช้บรรเลงเพื่อประกาศให้ประชาชนทราบว่า การแสดงกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว - เพลงโหมโรงเสภา ส่วนใหญ่เป็นเพลงอัตรา 3 ชั้น ใช้บรรเลงเพื่อบอกให้ทราบว่าการแสดงกำลังจะเริ่มขึ้น ในสมัยโบราณ มีการรัวประลองเสภา แล้วจึงบรรเลงโหมโรงเสภา ตอนท้ายของเพลงโหมโรงเสภาจะมีลักษณะเฉพาะตัว จบด้วยท้ายของเพลงวา เพลงหน้าพาทย์ คือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมต่างๆ และใช้ประกอบตัวแสดงโขนและละคร โดยทั่วไปมี 7 ประเภทดังนี้ - สำหรับกิริยาไปและมา โดยทั่วไปจะมีเพลงรำอยู่ 14 เพลง คือ - เสมอ สำหรับการไปมาในระยะใกล้ๆ - เพลงฉิ่ง สำหรับการไปมาอย่างนวยนาด กรีดกราย เช่น ไปชมสวน ไปเที่ยวสนุกสนาน - เชิด สำหรับการไปมาในระยะใกล้ๆ -บาทสกุณี สำหรับการไปมาใช้กับพิธีใหญ่ๆ และสำคัญ ใช้เฉพาะพระ - พระยาเดิน สำหรับการไปมาของผู้สูงศักดิ์ - เชิดฉาน ท่าสำหรับการไปมาของพระราม พระลักษมณ์ - ลุกรัน ท่าสำหรับการไปมาของพระราม พระลักษมณ์ - เสมอข้ามสมุทร ท่าสำหรับการไปมาของพระราม พระลักษมณ์ - ชุบ สำหรับการไปมาของตัวละครที่มีศักดิ์ต่ำ หรือฐานะต่ำ เช่น นางกำนัล - เหาะ สำหรับการไปมาทางอากาศ เทวดา นางฟ้า และตัวละครที่มีบรรดาศักดิ์สูง - โคมเวียน ใช้กับพระ - กลม การไปมาของเทวดา หรือผู้ที่สูงกว่าเทวดา เช่นพระอินทร์ พระอรชุน และสำหรับผู้ที่มีบรรดาศักดิ์สูงเช่น เจ้าเงาะ - เข้าม่าน ใช้ในการเข้าไปในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เช่นห้องสรง (ใช้กับตัวเอก หรือ ผู้มีบรรดาศักดิ์สูง) - แผละ การไปมาของสัตว์ปีก เช่น นก แมลง สำหรับการยกพล ตามปกติใช้ 2 เพลง - กราวนอก สำหรับพลมนุษย์ หรือ พลลิง - กราวใน สำหรับพลยักษ์ ใช้สำหรับการมาของยักษ์ สำหรับการสนุกสนาน ตามปกติใช้ 6 เพลง - กราวรำ สำหรับการเยาะเย้ยสนุกสนาน - สีนวล สำหรับความรื่นรมย์อย่างธรรมดา - ฉุยฉาย สำหรับความภูมิใจ เมื่อได้แต่งตั้งใหม่ หรือเมื่อได้แปลงตัวให้งดงามกว่าเดิม - แม่ศรี ใช้ทำนองเดียวกับฉุยฉาย - เพลงช้า สำหรับความเบิกบานอย่างธรรมดา - เพลงเร็ว สำหรับความเบิกบานอย่างธรรมดา โดยมากใช้รำต่อจากเพลงช้า หรือจะเริ่มเพลงเร็วทีเดียวก็ได้สำหรับการแสดงฤทธิ์ ตามปกติใช้ 6 เพลง - ตระนิมิตร สำหรับการแปลงตัว หรือชุบคนตายให้ฟื้น หรือแปลงตัวให้คนอื่น - ตระสันนิบาต การชุมนุมเพื่อกระทำพิธีสำคัญต่างๆ ใช้ในพิธีร่ายเวทมนตร์และประสิทธิ์ประสาทพร - ชำนาญ ใช้เช่นเดียวกับตระนิมิตร - ตระบองกัน ใช้เช่นเดียวกับชำนาญ - คุกพาทย์ สำหรับการแสดงของผู้มีอิทธิ์ฤทธิ์ หรือแสดงอารมณ์โกรธของตัวละครผู้มีศักดิ์สูง - รัว ใช้ทั่วๆไป ในการสำแดงเดช และมักใช้ต่อท้ายเพลงอื่น สำหรับการต่อสู้ ปกติใช้ 3 เพลง - เชิดกลอง สำหรับการต่อสู้โดยทั่วๆไป - เชิดฉิ่ง สำหรับรำก่อนที่นุทำการสำคัญในการรบ เช่นก่อนแผลงศร หรือก่อนใช้อาวุธอย่างใดอย่างหนึ่ง - เชิดนอก สำหรับการจับ หรือขับไล่ของสัตว์ สำหรับการแสดงความรักใคร่ หรือเรียกว่า เข้าพระเข้านาง ตามปกติใช้เพลงโลมสำหรับการนอน ใช้เพลงตระนอน หลักในการสังเกตเพลงหน้าพาทย์ คือเป็นเพลงที่ใช้ตะโพน และกลองทัด เป็นผู้ควบคุม จังหวะหน้าทับ เพลงเรื่อง คือ การนำเพลงใกล้เคียงกันมาเพื่อบรรเลงต่อกันเป็นชุดต่างๆ มีดังนี้ - เพลงเรื่องช้า - เพลงเรื่องเร็ว - เพลงเรื่องเพลงฉิ่ง - เพลงเรื่องสองไม้ - เพลงเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรม เพลงหางเครื่อง คือ เพลงที่ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงเถาเป็นเพลงสั้น ชั้นเดียว สนุกสนาน ครึกครื้น เพลงเดียวกันใช้สำเนียงเดียวกันจะใช้เพลงชุดใด ขึ้นอยู่กับเพลงเถาข้างหน้า เพลงสำเนียงภาษา เป็นเพลงที่นำสำเนียงภาษามาเรียงกันต่างจากเพลงหางเครื่องคือ เพลงออกภาษาต้องบรรเลง 4 ภาษาก่อน คือ จีน เขมร ตลุง พม่า แล้วจึงเลือกสำเนียงภาษาอื่นตามความเหมาะสม เพลงเดี่ยว เป็นเพลงที่ชั้นครูแต่งขึ้นเพื่อ ใช้บรรเลงเดี่ยวด้วยเครื่องมือต่างๆ ใช้แสดงความสามารถของผู้บรรเลง ผู้เล่นจะต้องมีทักษะและกลเม็ดในการเล่นเป็นอย่างดี เพลงขับร้อง หมายถึง เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลง ร่วมกับการขับร้อง แบ่งเป็น เพลงเถา หมายถึง เพลงที่ขับร้องและบรรเลงเริ่มจากช้าแล้วเร็วขึ้นเรื่อยๆ จาก 3 ชั้น ไป 2 ชั้น ไป 1 ชั้น จะมีชั้นละกี่ท่อนก็ได้ จำนวนท่อนจะต้องเท่ากันทุกชั้น และอาจจบด้วยรูปบทหรือไม่มีรูปบทก็ได้ เพลงตับ หมายถึง การนำเอาเพลงหลายๆ เพลงมาขับร้องและบรรเลงต่อเนื่องกัน มี 2 ชนิดคือ - เพลงตับเรื่อง คือ เพลงที่นำมารวมร้อง และบรรเลงติดต่อกัน ยึดบทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกัน ฟังได้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนทำนองเพลงจะเป็นอย่างไรไม่ถือเป็นสำคัญ เช่น เพลงตับนางลอย เพลงตับนาคมาศ เป็นต้น - เพลงตับเพลง คือ เพลงที่นำมารวมร้อง และบรรเลงติดต่อกัน ยึดถือ.สำนวน ทำนองของเพลง ที่สอดคล้องเหมาะสม และต้องอยู่ในอัตราจังหวะเดียวกัน ส่วนบทร้องจะเป็นอย่างไรไม่ถือเป็นสำคัญ เช่น เพลงตับลมพัดชายเขา เพลงตับเพลงยาว เป็นต้น เพลงเบ็ตเล็ด ใช้ขับร้องทั่วไป ผู้ประพันธ์ส่วนใหญ่ประพันธ์ขึ้นเพื่อความสนุกสนาน หรือเพื่อสอนใจ เนื้อหาอาจอยู่ในรูป ชมธรรมชาติ ชมผู้หญิง บรรยายความรัก
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/31585 |