<< Go Back
           นาฏยศัพท์ นาฏยศัพท์หมายถึงศัพท์เฉพาะในทางนาฏศิลป์ เป็นชื่อของลักษณะท่ารำของไทย นาฏยศัพท์ที่ใช้กับเท้า ได้แก่ กระดกเท้า (นั่ง) กระดกเท้า (ยืน) กระดกเท้า (เสี้ยว) กระทุ้งเท้า ก้าวข้าง ก้าวเท้า จรดเท้า ถอนเท้า ประเท้า ยกเท้า ผสมเท้า

กระดกเท้า
           การกระดกเท้าคือการยกเท้าไปข้างหลังมักเป็นท่าต่อจากท่ากระทุ้งเท้า หมายถึง กระทุ้งเท้าแล้วจะต้องรีบกระดกเท้าขึ้น พยายามส่งเข่าให้สูงและต้องระวังให้ตัวตรงพร้อมทั้งหนีบน่องเข้าหาโคนขาให้มากส่วนฝ่าเท้าต้องหักหลังเท้าเข้าหาหน้าแข้ง (สังเกตดูให้หัวแม่เท้าตรงกับสันหน้าแข้ง) ฝ่าเท้าต้องอยู่ตรงๆ ไม่บิดไปทางใดทางหนึ่ง การกระดกเท้ามีทั้งนั่งและยืน

            1) กระดกเท้า (นั่ง)


            2) กระดกเท้า ( ยืน)


            3) กระดกเท้า(เสี้ยว)


            4) กระทุ้งเท้า
              การกระทุ้งเท้ามักจะมาจากการก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้า และต้องให้น้ำหนักไปอยู่ที่ปลายเข่าหน้ามากที่สุด ให้เท้าหลังมีน้ำหนักเบา การกระทุ้งเท้านี้จะต้องตึงนิ้วเท้าทั้งห้าพร้อมทั้งหักข้อเท้าเวลากระทุ้นเท้าจะต้องใช้จมูกเท้ากระทุ้ง ( กระทุ้งคือกระแทกจมูกเท้าลงบนพื้นเบาๆหรือให้จมูกเท้ากระทบพื้นจมูกเท้าอยู่ใต้นิ้วหัวแม่เท้าลงมา) กระทุ้งเท้าแล้วต้องกระดกเท้าถ้ากระทุ้งเท้าแล้วไม่กระดกเท้าเรียกว่ากระเทาะ


            5) ก้าวข้าง การก้าวข้าง ตัวพระให้ก้าวเท้าไปด้านข้าง ย่อเข่าลง และกันเข่าออก ทิ้งน้ำหนักลงเท้าข้างที่ก้าว เท้าอีกข้างไม่ต้องเปิดส้น ส่วนตัวนางก้าวเท้าไปด้านข้าง ให้ส้นเท้าที่ก้าวอยู่เหนือเท้าข้างที่ยืนเล็กน้อย ทิ้งน้ำหนักตัวลง เปิดส้นเท้าหลังและหลบเข่าตาม


            6) ก้าวเท้า ก้าวเท้า เป็นการก้าวเท้าให้ส้นเท้าวางถึงพื้นก่อนปลายเท้าเสมอ ให้ปลายเท้าเฉียงออกด้านข้างเล็กน้อย และเปิดส้นเท้าหลัง


            7) จรดเท้าจรดเท้า การจรดเท้านี้ จะจรดข้างไหนก่อนก็ได้ แต่จะปฏิบัติพร้อมๆกันไม่ได้ ถ้าจะจรดเท้าด้วยเท้าซ้ายก้าวเท้าขวาลงไป พร้อมกันนั้นต้องยกเท้าซ้ายให้สูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย แล้วใช้จมูกเท้าวางลงบนพื้น แต่ส้น เท้าต้องสูงจากพื้นพอประมาณ การจรดเท้านี้น้ำหนักจะต้องไปอยู่ที่ขาตรงกันข้าม เช่น จรดด้วยเท้าซ้ายน้ำหนักจะต้องไปอยู่ที่ขาขวาเป็นต้น


            8) ถอนเท้า คือการนำเท้าข้างซ้ายหรือขวาก็ได้วางลงข้างหลัง โดยเอาจมูกเท้าลงไปก่อน


            9) ยกเท้า ยกเท้า เป็นกริยาต่อจากการประเท้า โดยยกเท้าขึ้นด้านหน้าให้ฝ่าเท้าขนานกับพื้น ยกเท้าสูงระดับหน้าแข้งของเท้าที่ยืนรับน้ำหนักเชิดปลายนิ้วเท้าขึ้น ให้เฉียงปลายเท้าเล็กน้อย ตัวนางไม่กันเข่า ตัวพระกันเข่าออกให้เห็นเหลี่ยมขา และหันน่องออกด้านหน้า


            10) ผสมเท้า ตัวนาง เท้าทั้งสองจะชิดติดกัน
            ตัวพระ ส้นเท้าจะชิดติดกัน แต่ปลายเท้าจะเปิดออก จากกัน

            นาฏยศัพท์ที่ใช้กับมือ ได้แก่
            จีบ



             จีบ หมายถึง กริยาของมือที่ใช้นิ้วหัวแม่มือ จรดกับข้อแรกของนิ้วชี้ ( นับจากปลายนิ้ว ) ส่วนนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย กรีดเหยียดตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน การจีบมีหลายลักษณะ ดังนี้ จีบคว่ำ



             จีบหงายเป็นการหงายมือจีบพร้อมหักข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ ชี้ขึ้นด้านบน



             จีบหงายชายพก หมายถึง การนำมือที่จีบมาไว้ทำหัวเข็มขัด ให้หงายข้อมือขึ้น


             จีบปรกหน้า เป็นการจีบ โดยยกแขนและมือที่จีบ ให้นิ้วสูงระดับหน้าผาก หันมือที่จีบเข้าหาใบหน้าและหักข้อมือเข้าหาแขน



             จีบส่งหลัง เมื่อทำมือจีบ ให้ส่งลำแขนและมือไปด้านหลัง เหยียดแขนตึงและพลิกข้อมือจีบให้หงายขึ้น


             หยิบจีบ การหยิบจีบจะต้องเริ่มมาจากตั้งมือจะงอแขนหรือตึงแขนก็ได้ แล้วก็หักข้อมือลงทำเป็นมือจีบแต่พอจีบมือได้แล้วต้องชักมือจีบขึ้นมาเล็กน้อย


             จีบนิ้วกลาง หรือจีบล่อแก้วเป็นกริยาของมือ ให้นิ้วหัวแม่มือกดปลายนิ้วกลาง นิ้วที่เหลือกรีดออกให้ตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน



             ตั้งวง


             ตั้งวง เป็นการยกแขนให้ลำแขนโค้ง นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ส่วนนิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเพียงเล็กน้อย และหักข้อมือไปทางหลังมือเสมอ การตั้งวงมีหลายลักษณะ ดังนี้ วงบนให้ยกแขนที่ตั้งวงไปด้านข้าง ตัวพระให้ปลายนิ้วสูงระดับแง่ศีรษะ ส่วนตัวนางปลายนิ้วอยู่ระดับหางคิ้ว วงบนของตัวพระจะกว้างกว่าตัวนาง


             วงกลาง เป็นการยกแขนที่ตั้งวงไปด้านข้าง ให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่


             วงล่าง เป็นการตั้งวงระดับหัวเข็มขัดโดยทอดลำแขนโค้งลงด้านล่าง ตัวพระกันศอกให้เป็นช่องว่างระหว่างแขนกับลำตัว ส่วนตัวนางไม่ต้องกันศอก


             แทงมือ การแทงมือ โดยมากจะมาจาจากการตะแคงมือหรือตั้งมือ บางครั้งมาจากการหงายมือ



             บดมือ มือทั้งสองทำท่าประนมไว้ที่หน้าอก ถ้าต้องการบดมือข้างซ้าย หันฝ่ามือซ้ายให้ปลายนิ้วเยื้องกันกับมือขวา แต่ฝ่ามือทั้งสองยังคงประกบกันแน่นสนิทอยู่เช่นเดิม ถ้าจะบดมือข้างขวาก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน


             โบกมือ มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบส่งหลัง


             ป้องหน้า มีอากัปกิริยาคล้ายกับยกมือบังแดด ยกมือซ้ายป้องหน้าไว้เสมอหน้า งอแขน


             ส่ายมือ มือทั้งสองตั้งวงแขนตึงระดับไหล่ ส่ายมือขึ้น ลง สลับกัน ไป-มา




ขอขอบคุณเว็บไซต์
http://natasinthai.com/component/k2/item/163

    << Go Back