<< Go Back

           ระบำลพบุรี เป็นระบำชุดที่ ๓ ในระบำโบราณคดี ๕ ชุด ที่นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้แต่งทำนองเพลงจากสำเนียงเขมร นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทยและนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยเลียนแบบ ลีลา ท่าทางของประติมากรรมและภาพสลักที่ปรากฏบนทับหลังและหน้าบันของปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง อันเป็นศิลปะแบบขอมอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ดังนั้นท่ารำและดนตรี เครื่องแต่งกายในระบำชุดนี้จึงมีลีลา สำเนียงและแบบอย่างที่เป็นเขมร
           ระบำดอกบัว เป็นระบำที่ผู้แสดงถือดอกบัวออกมารำ ดอกบัวนั้นเป็นดอกไม้ที่ชาวไทยใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเชื่อว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ที่ประเสริฐ การนำดอกบัวมาถือรำก็เพื่อแสดงความคารวะ และอวยชัยให้มีความสุข นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ประพันธ์บทร้อง
           ระบำนกเขา เป็นระบำประกอบละครในเรื่องอิเหนา ตอนประสันตาต่อนก ซึ่งกรมศิลปากรจัดแสดงให้ประชาชนชม ณ โรงละครกรมศิลปากร เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๓ นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่งบทร้องและทำนองเพลง ระบำนกเขาชุดนี้ เป็นการแสดงตอนที่ประสันตาจะมาต่อนกเขาที่ภูเขามะราปี
           ระบำม้า เป็นการแสดงที่นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทยคิดท่ารำขึ้นประกอบในละครเรื่องไชยเชษฐ์ ตอนนารายณ์ธิเบศร์เที่ยวป่า ต่อมาได้นำมาแสดงในละครเรื่องรถเสน ซึ่งกล่าวถึง รถเสนถูกนางยักษ์แปลงแกล้งใช้ให้ถือสารไปยังคชบุรีเมืองยักษ์ ก่อนออกเดินทางรถเสนไปคัดเลือกจับม้าที่ดีที่สุด เพื่อใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ปรับปรุงและประดิษฐ์ท่ารำของม้าตัวเอก
ขอบคุณเว็บไซต์ http://www.oknation.net/blog/assada999/2009/11/22/entry-2
รำกินรี

ขอบคุณเว็บไซต์  https://th.wikipedia.org/กินรี

    << Go Back