ภาคกลาง
ระบำชาวนา เป็นวิถีชีวิตความเป็นมาที่พากันออกมาไถนาหว่าน และเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวเจริญงอกงาม หลังจากนั้นพากันร้องรำเพลงด้วยความสนุกสนาน
รำกลองยาว เป็นการแสดงเพื่อความรื่นเริง ในขบวนแห่ต่างๆ ของไทยมีผู้แสดงทั้งชาย และหญิง ออกมรำเป็นคู่ๆ โดย มีผู้ตีกลองประกอบจังหวะ พร้อม ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
รำโทน เป็นการรำ และการร้องของชาวบ้าน
โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เป็นการร้อง และการรำไปตามความถนัด
ไม่มีแบบแผนหรือท่ารำที่กำหนดแน่นอน
ภาคเหนือ
ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนพื้นเมือง ที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ
ฟ้อนขันดอก เป็นฟ้อนประดิษฐ์ใหม่ มีลีลาท่าฟ้อนได้มาจากการใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
ภาคอีสาน
เซิ้งสวิง เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก
เซิ้งโปงลาง โปงลางเดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่า โปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก
ภาคใต้
โนรา เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้ มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี
ลิเกป่า เป็นการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้ เดิมเรียกว่า ลิเก หรือ ยี่เก
มะโย่ง เป็นศิลปะการแสดงละครอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม กล่าวกันว่า มะโย่งเริ่มแสดงในราชสำนักเมืองปัตตานี เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีมาแล้ว
รองเง็ง การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน ต่อมาได้แพร่หลายสู่ชาวบ้าน โดยอาศัยการแสดงมะโย่งเป็นเรื่องและมีการพักครั้งละ ๑๐ – ๑๕ นาที ระหว่างที่พักนั้นสลับฉากด้วยรองเง็ง
ขอบคุณเว็บไซต์ http://nattapornpan.blogspot.com/2013/07/blog-post_6757.html