<< Go Back

สภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านอำเภอแม่ลาน้อย เป็นสังคมชนบท ที่มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย         มีความภูมิใจในความเป็นไทย และดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางศิลปะวัฒนธรรมของอำเภอแม่ลาน้อย  มีความมั่นคง สงบสุขสันติกับเพื่อนบ้าน  เป็นสังคมที่มีความสุข  มีความเสมอภาค มีความยุติธรรม มีระเบียบวินัย มีความเมตตากรุณา เคารพในสิทธิมนุษย์ชน   มีหลักธรรมของศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิตของชาวบ้านอำเภอแม่ลาน้อย
ประวัติความเป็นมาของศิลปะการแสดงรำกิ่งกะหร่า ชาวอำเภอแม่ลาน้อย ส่วนมากเป็นชาวไทยใหญ่  สืบเชื้อสายมาจากพม่า ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าเป็นส่วนใหญ่  ชาวอำเภอแม่ลาน้อยได้รับการแสดงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบทบาทของศิลปะการแสดงรำกิ่งกะหร่าในอำเภอ แม่ลาน้อย มีบทบาททางด้านการร่ายรำ     และเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวสถานที่อำเภอแม่ลาน้อยและเป็นศิลปะที่คนรุ่นหลังจะได้รู้ได้เห็นความสำคัญของตัวกิ่งกะหร่าและเป็นประเพณีให้คนรุ่นหลังได้สืบต่อกันมา

 รูปแบบการแสดงศิลปะการแสดงรำกิ่งกะหร่าในอำเภอแม่ลาน้อย
ส่วนมากจะแสดงบนเวทีและตามสถานที่ต่าง ๆ ในเทศกาลงานแห่เทียนเหง งานเขาวงกต ซึ่งเป็นงานประเพณีที่สำคัญของอำเภอโดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก

 เครื่องดนตรีในการแสดงรำกิ่งกะหร่าของอำเภอแม่ลาน้อยประกอบด้วย
1.    กลองยาว               จำนวน         1           ตัว  
2.    ฉิ่ง                         จำนวน         1           ชุด
3.    ฆ้อง                      จำนวน          6           ลูก

ลักษณะการแต่งกาย สำหรับใบหน้ากิ่งกะหร่า นำเอาดินเหนียว มาจัดทำแบบ หรือ บล็อก เสร็จแล้วก็นำกระดาษสาทากาว แห้งแล้ว ก็นำสีขาวมาทาทับกระดาษสา เสร็จแล้วก็จะได้หน้ากากสีขาวมาสวมเข้ากับใบหน้า ก็จะได้หน้ากาก สีขาวพร้อมกับแต่งหน้าตาให้สวยงาม สำหรับบนศรีษะใช้ผ้าสีสวยสดพันรอบศรีษะ คล้ายกับการแต่งตัวลูกแก้ว หรือส่างลองของชาวไทยใหญ่ ปีกกิ่งกะหร่า ส่วนมากจะนำเอาไม้ไผ่มาจักสารทำเป็นปีกยาวประมาณ 70 ซม. กว้าง 100 ซม. ตัวสวมกิ่งกะหร่า คล้ายๆกับกางเกงขาสั้นแบบหลวมๆ ใช้ไม้ไผ่มาจักสาน
สวมเสื้อแขนยาว แล้วนำผ้าสีสวยสดหรือผ้าลูกไม้มาเย็บกับคอเสื้อเป็นชิ้น ๆ และมีสายสะพายทับกันตรงด้านหน้าอกเสื้อและด้านหลังของตัวเสื้อ สำหรับอัญมณีจะตกแต่งบริเวณ ข้อศอก และข้อมือ สำหรับ กางเกง สวมกางเกงขายาวจะมีอัญมณีประดับตรงเข่าและข้อเท้า ดูแล้วคล้ายกับผีเสื้อ

วิธีการแสดง
การแสดงกิ่งกะหร่าส่วนมากจะร่ายรำตามจังหวะของดนตรี ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับดนตรี โอกาสการแสดง แสดงในงานเขาวงกต แห่ส่างกาน (แห่ผ้าเหลือง) แห่เทียนเหง การแสดงส่วนมากจะใช้ในงานเทศกาล ต่าง ๆ เช่นแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวอำเภอแม่ลาน้อย

 

 

ขอบคุณเว็บไซต์  : http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance/313-----m-s


<< Go Back