<< Go Back

การแต่งกายยืนเครื่องโขน ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตัวลิง ที่กรมศิลปากรใช้ปฏิบัตินั้น มีการสืบทอดวิธีการแต่งมาจากโบราณ ทั้งกรมมหรสพ วังสวนกุหลาบ และวังเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ เป็นต้น เห็นได้จากบรรดาครูบาอาจารย์ที่เข้ามาทำงานในกองการสังคีต กรมศิลปากร ในยุคแรกๆ นั้น มาจากสำนักโขน ละคร ที่มีชื่อเสียงและที่มีคุณภาพในด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างดีเลิศ อีกทั้งยังมีรายการเครื่องแต่งกายโขน ละคร ที่ได้รับโอนมาจากกรมมหรสพอันมีความประณีตในการจัดสร้างชั้นยอด ทำให้มองเห็นได้ว่า ผู้แต่งตัวผู้แสดงโขนจะต้องมีความรู้ความชำนาญในเรื่อง เครื่องแต่งกาย และกลวิธีในการแต่งกายยืนเครื่องโขนเป็นอย่างดี
การแต่งตัวผู้แสดงนั้น ผู้แต่งตัวต้องสามารถทำให้เครื่องทรงอันวิจิตรที่ผู้แสดงสวมใส่ มีความโดดเด่นเป็นสง่าสมภูมิของตัวละครผิดไปจากรูปลักษณ์ที่เป็นธรรมชาติเดิมของศิลปิน อีกทั้งการแต่งตัวผู้แสดงอย่างมีคุณภาพที่ดีนั้น เป็นการส่งเสริมให้ศิลปินสามารถแสดงท่าทางร่ายรำได้ อย่างคล่องตัวสวยงาม ทั้งนี้ที่สำคัญ ผู้แต่งตัวและศิลปินผู้แสดงจึงต้องมีความเข้าใจ และทราบ กลวิธีในการแต่งกายอย่างชัดเจน และถูกต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
จึงพอกล่าวได้ว่าขนบธรรมเนียมการแต่งกายยืนเครื่องโขนของกรมศิลปากร มีการสืบทอดอย่างเป็นระบบจากรุ่นสู่รุ่น และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการสืบทอดกันทางปฏิบัติเมื่อนำมาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับเป็นหลักฐานข้อมูลทางวิชาการสามารถเรียบเรียงได้ดังนี้

ภาพเครื่องแต่งกาย พระ นาง ยักษ์ ลิง
ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แสดงแบบท่ารำของกรมมหรสพ

 


 

ขอบคุณเว็บไซต์  : http://164.115.27.97/digital/files/original/1d528d49b79fcbc4d712a75b6e4ccc29.pdf


<< Go Back