<< Go Back

ละคร เป็นการรวมรวมศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกันตั้งแต่วรรณกรรมการละคร อันเป็นศิลปะในการประพันธ์เรื่องราวที่ใช้แสดง การออกแบบฉาก ออกแบบเครื่องแต่งกาย การเคลื่อนไหวและดนตรี  การแสดงแต่ละยุคสมัยจะมีความแตกต่างกันและมีการพัฒนาศิลปะต่างๆด้วย ทำให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางด้านความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ละครตะวันตกแบ่งได้เป็น 4 ยุค คือ ละครยุคแรก ละครสมัยกลาง ละครยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ และละครสมัยใหม่
ละครยุคแรก
ละครในยุคแรก ถือเป็นรากฐานของละครตะวันตก คือ 1. ละครสมัยแรกเริ่ม 2. ละครกรีก 3. ละครโรมัน

            ละครสมัยแรกเริ่มไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด เชื่อกันว่าการละครเริ่มมีมาตั้งแต่มนุษย์มีการเคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง เพื่อเป็นสื่อระหว่างมนุษย์กับอำนาจลี้ลับ โดยมีหมอผีหรือผู้นำที่ได้รับความนับถือเป็นผู้สอนท่าเต้นนำในพิธีที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาช่วย ทำให้เกิดความสมบูรณ์และช่วยให้คนในเผ่าประสบความสำเร็จในการล่าสัตว์หรือในการทำสงครามนอกจากนี้ยังมีการเต้นในพิธีต่างๆ ที่เชื่อกันว่าเมื่อทำแล้วจะช่วยขจัดปีศาจที่ทำให้เกิดโรคร้ายหรือบังคับวิญญาณของผู้ตายให้จากไป ผู้แสดงในพิธีเหล่านี้จะใส่หน้ากาก แต่งกายด้วยหนังสัตว์หรือเปลือกไม้ แสดงให้เห็นว่าเป็นวิญญาณที่ถูกเรียกมา ต่อมามนุษย์มีความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติมากขึ้น จึงเปลี่ยนจากการบุชาในพิธีกรรมต่างๆ มาใช้การแสดงอบรมสั่งสอนให้รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี วิวัฒนาการขั้นต่อมา ซึ่งถือว่าสำคัญต่อการละคร คือ การแสดงเรื่องของเทพเจ้าและวีระบุรุษของชนเผ่า เช่น ในอียิปต์มีละครเกี่ยวกับเทพโอซิริส  ปลายศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาลมีการเต้นในพิธีทางศาสนาที่เชื่อว่าผู้เต้นเป็นตัวแทนของเทพเจ้าหรือสามารถติดต่อกับเทพเจ้าได้ ปัจจุบันการเต้นละครแบบนี้จะพบอยู่ในหมู่คนที่ดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม เช่นหมู่ชนบางท้องถิ่นของแอฟริกา ออสเตรเรียและพวกอินเดียนแด


กรีกเป็นชาติแรกที่ได้รับการยกย่องทางด้านการละคร ละครกรีกเป็นต้นกำเนิดและมีอิทธิพลต่อการละครตะวันตกมาก เนื่องจากได้รับการส่งเสริมอย่างกว้างขวางและมีการประกวดบทละครทุกปีที่เอเธนส์ ละครกรีกมี 2 ประเภท คือ ละครโศกนาฏกรรม(Tragedy) ละครขบขัน (Comedy)
1. ละครโศกนาฏกรรม(Tragedy)
มีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมในการบูชาเทพเจ้าไดโอไนซุส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นพืชพันธุ์ธัญญาหารและความอุดมสมบูรณ์แห่งพืชผล ทุกปีชาวกรีกจะจัดงานรื่นเริงเพื่อบูชาเทพเจ้าไดโอไนซุส ในปลายเดือนมีนาคม ซึ่งถือว่าเป็นงานประจำปี เรียกว่างาน เดอะเกรต ไดโอไนซิส (The Great Dionysis) การขับร้องและการเต้นรำเพื่อบูชาเทพเจ้า จะมีชายคนหนึ่งสวมหน้ากากเป็นผู้นำกลุ่มนักร้องเรียกว่า คอรัส (Chorus) เป็นบทสวดเกี่ยวกับชีวีตของเทพเจ้าไดโอไนซุสแต่เดิมไม่มีการแต่งเนื้อร้องไว้ล่วงหน้า ผู้นำกลุ่มร้องคนเดียว มีสมาชิกอื่นๆ ร้องตาม ต่อมาผู้นำการร้องเป็นผู้แสดงด้วย โดยมีการพูดแทนการขับร้อง มีบทโต้ตอบกันและมีการแสดงที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเทพเจ้า รูปแบบของละครกรีก มีจุดเด่นดึงดูดผู้ชมในด้านแก่นของเรื่องที่สะท้อนสภาพของมนุษย์ที่พยายามจะต่อสู้กับอำนาจที่มีอยู่เหนือโลกนี้สาระสำคัญของละครกรีก คือ ต้องมีการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ทำให้เข้าใจชีวิตตัวเอกต้องมีสถานะทางสังคมสูง มีความเด่นในแง่ต่างๆ แต่มีความผิดพลาดซึ่งนำไปสู่ความหายนะ มีดวงชะตาที่พลิกผัน บทละครเป็นบทร้องกรอง เค้าโครงเรื่องต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกัน จบภายในเวลา 24 ชั่วโมง และเกิดในสถานที่เดียว
นอกจากสาระของละครโศกนาฏกรรมที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีองค์ประกอบของการแสดงดังนี้
1) การดำเนินเรื่อง ไม่แบ่งองก์ แต่เริ่มด้วยการแนะนำบทละคร มีเพลงนำนักร้องเข้ามาบนเวที มีบทสนทนาสลับกับบทร้อง บทที่นักร้องใช้มักมีดนตรีประกอบไปด้วยตอนสุดท้ายเป็นตอนที่กลุ่มขับร้องออกไปจากเวทีซึ่งเป็นตอนจบ
2) ตัวละครใช้ผู้ชายแสดง
3) กลุ่มนักร้อง กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน คือ ในโศกนาฏกรรมมี 15 คน ในละครตลกมี 24 คน ในขณะที่ผู้แสดงกำลังเจรจาตามบท ลูกคู่จะขับร้องและเคลื่อนไหวในลักษณะของการโต้ตอบเสริมเรื่อง โดยบรรยายเหตุการณ์หรือแสดงความคิดเห็น
4) จำนวนผู้แสดงในแต่ละฉาก มีครั้งละไม่เกิน 3 คน อาจมีตัวละครอยู่บนเวทีมากกว่า 3 คน แต่ห้ามตัวละครโต้ตอบกันมากกว่า 3 คน
5) การแบ่งฉาก ใช้กลุ่มนักร้องร่ายรำและขับร้องคลอไปกับเครื่องดนตรี
6) ไม่มีการตายบนเวที เพราะเป็นโรงละครกลางแจ้ง ไม่มีม่านปิด เปิด แต่ใช้พิธีกรบรรยายการตายแทน
2.ละครตลกขบขัน (Comedy)
พัฒนามาจากการขับร้องเพลงที่สนุกสนานของพวกติดตามขบวนแห่เทพเจ้า ไดโอไนซุส บทเพลงมีลักษณะหยาบโลน มีการใส่หน้ากาก แต่งกายเลียนแบบสัตว์ ล้อเลียนสังคม ต่อมามีเรื่องเกี่ยวกับสามัญชน โดยเฉพาะเรื่องเงินเรื่องความรักมีชาวบ้านมาร่วมสนุกสนานและเจรจาโต้ตอบล้อเลียนพวกท้ายขบวนเรียกว่า “โคมุส” เพลงที่ขับร้องและมีลักษณะตลกเรียกว่า “โคมุส โอด” แปลว่าเพลงสนุกสนานเฮฮา
ละครตลกขบขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1) ละครตลกแบบเก่า เฟื่องฟูมากในยุคทองของละครกรีก   บทละครมีลักษณะเป็นบทสนทนาที่เปิดเผยหยาบโลน ฉากแรกจะมีตัวละครตัวหนึ่งออกมาแนะนำเกี่ยวกับความสุข มีการทำตามข้อเสนอหลังการโต้เถียง ตอนที่เหลืออยู่เป็นการแสดงผลจากการทำตามข้อเสนอออกมาในรูปแบบของความสนุกสนาน ส่วนใหญ่ฉากที่จบจะจบด้วยการออกไปงานเลี้ยงที่มีการรื่นเริงสนุกสนาน
2) ละครตลกแบบใหม่เป็นละครที่เกิดขึ้นราวปี ค.ศ. 338 มีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับการปกปิดตัวจริง ใช้เรื่องเหลือเชื่อมาสร้างความตลกขบขัน. ใช้ความรวดเร็ว มีเสียงอึกทึกครึกโครม เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ยังคงมีเค้าโครงเกี่ยวกับเทพเจ้าไดโอไนซุสคือทุกเรื่องพูดถึงทารกที่หายสาบสูญไป จนกระทั่งมีการค้นพบ บทละครแบบนี้ยังคงใช้นักร้องไว้ร้องสับฉาก
โรงละคร เป็นโรงละครกลางแจ้งที่นั่งทำเป็น “สเตเดียม” รูปครึ่งวงกลมมีที่ว่างระหว่างผู้ชมและเวที เรียกว่า “ออเคสตรา” เพื่อให้กลุ่มนักร้องยืนและเต้น ส่วนด้านในสุดที่หันมาทางผู้ชมเป็นฉากหลังในการแสดง หลังฉากเป็นห้องแต่งตัวนักแสดง มีฉากเป็นภาพวาด มีการใช้เทคนิคต่างๆเข้าช่วย ในยุคทองของกรีกมีการยกพื้นเวทีเพื่อใช้เป็นที่มอง
เครื่องแต่งกาย เนื่องจากเวทีแสดงเล็ก ผู้ชมอยู่ห่างมาก ผู้แสดงเป็นชายล้วนจึงต้องแสดงท่าทางให้มากกว่าความเป็นจริง มีการสวมรองเท้าส้นสูงใหญ่และหนาเพื่อให้ดูว่าตัวสูง มีเครื่องประดับศีรษะ สวมเสื้อไม่มีแขน มีเข็มขัดคาดใต้อก ใช้เสื้อคลุมแบบยาวขมวดไว้ตรงบ่าขวา มีเสื้อคลุมสั้นสวมทับ ทางบ่าซ้ายมีสีสันฉูดฉาด ใส่หน้ากากตามลักษณะของตัวละคร เพราะผู้ชมไม่สามารถเห็นอากัปกิริยาบนในหน้าของผู้แสดง และยังช่วยให้เกิดเสียงพูดที่ดังกว่าปกติอีกด้วย ตัวละครตัวเดียวสามารถเล่นได้หลายบทบาท ส่วนตัวละครตลก จะใส่หน้ากากที่มีลักษณะขบขัน ใส่เสื้อแขนสั้นเสื้อยาวถึงสะโพก มีลักษณะพอง กางเกงรัดรูปดูแล้วเหมือนเปลือย

เมื่อกองทัพซีซาร์จากกรุงโรมบุกเข้าประเทศกรีก ชาวโรมันซึ่งมีความสนใจศิลปะวรรณคดีและการละคร จึงจัดตั้งโรงละครของตนขึ้นแต่ก็ยังลอกเลียนแบบมาจากละครกรีกโบราณทั้งสิ้น
โรมกลายเป็นศูนย์กลางของการละคร แต่เพราะชาวโรมันชั้นสูงดูถูกการละคร ผู้เข้าชมจึงมีแต่ชนชั้นต่ำ ต้องการแต่ความเพลิดเพลินไม่ได้สนใจสุนทรียะและการสร้างเสริมสติปัญญาการเลียบแบบละครกรีกไม่ได้มีการพัฒนาให้ดีกว่าเดิม ละครแนวโศกนาฏกรรมจึงเสื่อมลงแต่การละครของโรมันก็มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อนักเขียนบทละครใสมัยหลังๆ  โดยเฉพาะยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ อันเป็นยุดที่นักเขียนบทละครรู้จักละครกรีกผ่านทางละครโรมันละครโรมันมี 2 ประเภท คือละครโศกนาฏกรรมโรมัน และละครตลกขบขันโรมัน
1. ละครโศกนากกรรมโรมัน
   ผู้นำละครแนวโศกนาฏกรรมมาเผยแพร่ในโรม คือ ลิวิอุส แอนโดรนิคัส (LiviusAndronicus)และลูเซียสแอนน์เซียสเซเนกา(LuxiusAnnseus Seneca) ซึ่งมีผลงานตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป้นบทละครที่ได้มาจากกรีกและเฟื่องฟูมากในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ปัจจุบันไม่เป็นที่นียมแล้ว เพราะบทละครของเซเนกา  เหมาะจะเป็นละครสำหรับอ่านมากกว่าจะนำมาแสดงเพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยดังนี้
• มี 5 องค์
• กลุ่มนักร้องทำหน้าที่วิจารณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าเข้าร่วมแสดงในบทละคร
• ฉากสยดสยองใช้วิธีการให้ผู้สื่อข่าวมารายงานแทนที่จะแสดงบนเวที
• มีแก่นของเรื่องแบบเร้าความรู้สึก มักมีการล้างแค้น
• ไม่มีการวาดภาพตัวละครให้เด่นชัด ให้พูดคนเดียว

2. ละครตลกขบขันโรมัน
  นักเขียนบทละครประเภทนี้ดัดแปลงเนื้อหามาจากละครตลกแบบใหม่ของกรีกและประสบความสำเร็จมากกว่าละครแนวโศกนาฏกรรม โครงเรื่องมักเป็นเรื่องผิดฝาผิดตัว ลุกชายใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและหลอกลวงพ่อ ทาสฉลาดที่หลอกลวงเจ้านายด้วยวิธีที่น่าขันต่าง ๆ
ละครประเภทนี้ไม่ใช้กลุ่มนักร้อง ผู้แต่งละครเพิ่มเพลงและเครื่องดนตรีเข้าไปในเนื้อเรื่อง แม้จะเลียนแบบมาจากกรีกแต่ก็ยังมีแบบของโรมันเอง มีลักษณะคล้ายละครประเภทคอมมีเดียเดลลาร์เต
การละครของโรมันได้เสื่อมลงทีละน้อย มีการแสดงย่อยๆเข้ามาเฟื่องฟูแทนซึ่งการแสดงเหล่านี้เร้าอารมณ์ ไม่สุภาพและขัดหลักศาสนา จึงมีการขับไล่นักแสดงออกจากวงการศาสนา การแสดงละครของโรมันสิ้นสุดลงเมื่อศาสนาเข้ามามีอำนาจและมีการบุกรุกของพวกต่างชาติ

โรงละคร

โรงละครโรมันดัดแปลงมาจากโรงละครของกรีก  แต่สภาสูงของโรมันไม่สนับสนุนการละคร โรงละครโรมันในยุคแรกจึงมีเพียงการยกพื้น เพื่อให้คนมองเห็นได้ทั่วถึงต่อมาจึงมีการสร้างโรงประชุมใหญ่ขึ้น สร้างรูปวีนัสขึ้นบนยอดของตัวอาคารและถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับสักการบูชาระดับเวทีสูงราว 5 ฟุต ด้านในสุดของเวทีทำเป็นรูปส่วนหน้าของตึก มีประตู 3 บาน
โรมันเป็นพวกแรกที่ใช้ม่านด้านหน้าเวที มีพวกรับจ้างมาคอยปรบมือ ส่งเสียงเชียร์ผู้แสดงไม่ค่อยใช้กลุ่มนักร้องในละครโรมัน จึงจัดบางส่วนของ “ออร์เคสตราให้ผู้ชมฟัง” ใช้แสดงทั้งละครโศกนาฏกรรมและละครตลกขบขัน แต่เพราะโรงละครโรมันใหญ่มากจึงมีการแสดงแบบ “แพนโทไมม์” ซึ่งชาวโรมันคิดขึ้นเองเป็นละครตลกสั้นๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ร่วมสมัยที่น่าสนใจ มีการเปลี่ยนแปลงหน้ากากกลุ่มขับร้องและนักดนตรีทำท่าทางประกอบการแสดงด้วย

ละครสมัยกลาง

ยุคกลางเริ่มเมื่อกรุงโรมแตก ถือว่าเป็นยุคมืด เพราะถือว่าเป็นยุคที่มีความเจริญทางด้านวัฒนธรรมน้อยมาก มีคนรู้หนังสือน้อยและไม่มีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ไม่มีการละคร มีแต่ละครใบ้แบบตลกที่แสดงภาพชีวิตประจำวันมีนักแสดงเร่ที่สามารถในการร้องบทกลอนและเล่าเรื่องนับว่าเป็นการท้าทาย กฎหมายเพราะถูกเพ่งเล็งว่าเป็นคนบาป โกหกหลอกลวงแสดงเป็นบุคคลต่างๆ ที่ตนเองมิไดเป็นจริงๆ ศาสนจักรได้พยายามต่อต้านการละครแต่กลับเป็นผู้ฟื้นฟูขึ้นเอง ละครสมัยกลางเฟื่องฟู  ตั้งแต่ ค.ศ 900-1500 ต่อมาถูกยับยั้งอีกในการต่อสู้ทางศาสนาในยุคปฏิรูปในศตวรรษที่ 16 จึงเริ่มปรากฏนามนักเขียนบทละครพร้อมกับรูปแบบใหม่ๆของละคร ละครที่แพร่หลายคือ ละครเริงรมย์

1. ละครแนวมหัศจรรย์ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีบูชาในโบสถ์มีกำเนิดจากพิธีสวดแมสของศาสนจักร เรียกว่า ลิเทอร์จิคัล ครามา (Liturgical Drame) เป็นละครสั้น ใช้ภาละติน เริ่มจากการฟื้นคืนชีพของพระเยซูต่อมาแยกจากการสวดแมส มีการเพิ่มฉากตัวละครและเนื้อหาและได้พัฒนาเป็นไซเคิลดรามา (cycle drama )ซึ่งเป้นละครที่รวมโลงเรื่องหรือเรื่องทำนองเพ้อฝันที่เนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือบุคคลสำคัญ เป็นการแสดงกลางแจ้งในเทศการแห่ศพพระเยซู ต่อมมามีกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับศาสนาเข้ามาทำการแสดง มาการใช้ภาษาถิ่นแทนภาษาละตินแสดงเรื่องสั้นๆตลอดปี ต่อมาได้ย้ายไปแสดงบนเวทีเคลื่อนที่ซึ่งสามารถย้ายไปแสดงในที่ต่างๆ ได้มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลและศาสนา ไม่ค่อยสนใจความจริงของตัวละครใช้ฉากน้อย มีฉากตลกมาก
ลักษณะสำคัญของละครประเภทนี้ คือ
• เป็นละครที่มีเนื้อหามาจากพระคัมภีร์เก่า
• มีเนื้อหาเกี่ยวกับกำเนิดของพระคริสต์
• มีเนื้อหาเกี่ยวกับการตายและฟื้นคืนชีพของพระเยซู

2. ละครแพสชั่น เป็นการแสดงเกี่ยวกับพระเยซู ที่ถูกตรึงด้วยไม้กางเขน โดยเฉพาะเรื่องวันสุดท้านที่พระองค์ถูกพิพากษา
3. ละครแนวอภินิหาร เป็นเหตุการณ์ที่เขียนไว้ในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับนักบุญหรือสิ่งมหัสจรรย์ที่นักบุญได้ทำไว้หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
4. ละครสอนศีลธรรม เนื้อหาของละครประเภทนี้ได้มาจากคำสอนของพระเยซู เป็นเรื่องเชิงเปรียบเทียบแสดงถึงการตกต่ำของตัวแทนมนุษย์ มีการแสดงความโง่ ความบาปและการไถ่บาป ผู้แสดงเป็นนักแสดงอาชีพและนักแสดงละครเร่ ต่อมาละครประเภทนี้ปรับสภาพการเล่นแบบสมจริง มีลักษณะตลกมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นละครตลกขบขันแบบอังกฤษและมีส่วนไปเสริมละครเริงรมย์
5. ละครเริงรมย์ เป็นละครที่มีการพัฒนากันในอังกฤษ ทำให้ละครออกมาจากวัด สามารถพัฒนาเป็นละครแนวสุขนาฏกรรมแบบสมจริง ลักษณะเด่นของละครเริงรมย์นี้มีรายละเอียดของเรื่องเรียบง่าย มีลักษณะสมจริง ลักษณะเด่นของละครเริงรมย์นี้มีรายละเอียดของเรื่องที่เรียบง่ายมีลักษณะสมจริงมุ่งในเรื่องเฉพาะบุคคลมากกว่า
• ฉากละคร ในโรงละครมรการตกแต่งฉากอย่างพิสดารละเอียดถี่ถ้วน มีเกวียนจัดไว้สำหรับเป็นเวทีแสดงส่วนล่างของเกวียน มีม่านเปิดเปิดใช้เป็นที่เปลี่ยนเสื้อผ้า ผู้ชมนั่งชมอยู่กับที่ มีการนำเกวียนเข้ามาแสดงทีละฉาก
• โรงละครอิทธิผลต่อลักษณะของโรงละครสมัยกลางคือ สิ่งก่อสร้างของวิหารมีการยกพื้นสำหรับการแสดงในโบสถ์และแยกเป็นส่วนๆ ใช้ฉากหลายฉากโดยให้ตัวละครเคลื่อนที่ตามฉากต่างๆตามเนื้อเรื่อง

ละครที่เด่นในสมัยนี้คือ ละครในอิตาลี และละครในสเปน
1. ละครในอิตาลี
  ศูนย์กลางของการละครสมัยนี้คือ ราชสำนักและบัณฑิตยสภา มีการเขียนบทละครเลียนแบบละครคลาสสิค ผู้แสดงส่วนใหญ่เป็นข้าราชสำนัก แสดงในโรงละครส่วนตัวของพวกขุนนาง โรงละครแตกต่างจากสมัยกลาง ใช้ฉากแบบวาด ให้แลดูมีความลึกเหมือนของจริง ใช้เวทีทรงกรอบรูปมีการใช้เทียนและตะเกียงเพื่อให้แสงสว่าง
  ละครในอิตาลีมี 3 ประเภท คือ
• ละครโศกนาฏกรรม
• ละครตลก
• ละครพาสตอราล
ละครอิตาลีในยุคนี้ไม่ค่อยมีคุณค่าทางศิลปะ แต่มีความสำคัญในทางประวัติการละคร เพราะเปลี่ยนจากละครสมัยกลางที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนมาเป็นการมีเค้าโครงเรื่องที่มีรูปแบบ ละครชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นในอิตาลี ในตอนปลายยุคนี้คือ คอมมีเดียเดลลาร์เต (Commedia Dell’arte) ซึ่งเป็นละครแบบสุขนาฏกรรม แบที่ตัวละครคิดบทสนทนาขึ้นมาแสดงตามแนวโครงเรื่องที่มีให้ ตัวละครส่วนใหญ่สวมหน้ากาก ละครแบบนี้มีวิวัฒนาการมาจากละครใบ้ เนื้อเรื่องเป็นเรื่องตลกเกี่ยวกับความรัก นิยมสูงสุดในอิตาลี ปี ค.ศ. 1557 และแพร่หลายไปทั่วยุโรป
2. ละครในสเปนได้รับอิทธิพลมาจากคอมมีเดียเดลลาร์เต (Commedia Dell’arte) นักแสดงเป็นชายล้วน ใน ค.ศ. 1587 เริ่มมีนักแสดงหญิงเข้ามาแสดงด้วย ละครสเปนในยุคนี้มี 2 ประเภทคือ ละครเกี่ยวกับศาสนา และละครทางโลก
2.1 ละครเกี่ยวกับศาสนา มีลักษณะผสมผสานระหว่าง ไซเคิลเพลย์ และละครสอนศิลธรรม มีตัวละครที่เป็นมนุษย์ และสิ่งเหนือธรรมชาติ ผสมผสานกับสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ จัดแสดงกันบนเกวียน ผู้แสดงเป็นนักแสดงอาชีพ จะแทรกเรื่องตลกสั้น ๆ เป็นการสลับฉากในรูปแบบของการเต้น ต่อมาจึงมีเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเพิ่มมากขึ้น ค.ศ. 1765 ทางฝ่ายศาสนาสั่งให้เลิกการแสดงละครประเภทนี้เพราะมีเนื้อหาแต่การรื่นเริงและเรื่องตลก
2.2 ละครทางโลก มีการสร้างโรงละครแบบถาวรในกรุงมาดริด ต่อมาสร้างโรงละครแบบปิดขึ้น มีเฉลียงที่สร้างขึ้นทางด้านข้าง เพื่อให้ขุนนางนั่ง ถ้าให้ประชาชนดูจะใช้ฉากง่ายๆ แต่ถ้าจัดให้ราชสำนักจะมีการตกแต่งฉาก และใช้เครื่องแต่งกายหรูหรา

เฮนริดอิบเซน(Henrik Ibsen) ได้รับสมญานามว่า เป็นบิดาแห่งการเขียนบทละครตามแนวสัจนิยม เป็นผู้วางรากฐานการละครสมัยใหม่ เป็นผู้เขียนบทละครคนแรกที่เขียนเกี่ยวกับความสมจริงด้านปัญหาสังคม ละครสมัยใหม่ที่นิยมเล่นคือ
1. ละครแนวสัจนิยมและธรรมชาตินิยม เป็นการนำเสนอความจริงของชีวิตโดยไม่บิดเบือน ปลายศตวรรษที่ 19 การละครมีศูนย์กลางอยู่ที่สามัญชน ผู้อยู่ในสิ่งแวดล้อมธรรมดา นำบางส่วนของชีวิตจริงมาเสนอ เรียกว่า แนวธรรมชาตินิยม ไปจนถึงแนวสัจนิยมที่แสดงความสมจริงแบบกว้างๆ
2. ละครแนวต่อต้านสัจนิยมและธรรมชาติ มีดังนี้
  2.1 ละครแบบสัญลักษณ์นิยม ใช้สัญลักษณ์ในการเสนอความจริง เพื่อให้คนต้องคิด ทำให้เกิดการตีความได้หลายแนวจากการใช้สิ่งที่เห็นหรือสัมผัสได้มาเป็นสื่อแนะความจริงที่ไม่อาจจับต้องได้ เป็นการโยงเรื่องของชีวิตหรือธรรมชาติไปสู่ความคิด จิตใจ อารมณ์ โดยอาศัยการสื่อสารทางด้านศิลปะ
  2.2 ละครร้อยกรอง คือ ละครที่เขียนแบบร้อยกรอง
  • ละครแนวบรรยายพรรณนา เป็นแนวคิดทางวรรณกรรม ที่เริ่มจากภาพเขียน ก่อนนำเสนอความจริงที่อยู่ใต้จิตสำนึก หรือจินตนาการของตัวละคร มีการแสดงออกที่บิดเบือนและเกินความเป็นจริง
      • ละครแนวทีแอตทริคัลลิสม์ คือลักษณะละครที่คงสภาพแบบละครโดยไม่พยายามลอกเลียนแบบสภาพที่เห็นในชีวิตประจำวัน
    • ละครแนวมหากาพย์ เป็นละครที่มีบทสนทนาสลับกับการบรรยายให้ผู้เล่นคนเดียวเป็นตัวนำเสนอเรื่อง
  • ละครแนวเอิบเซิร์ด เป็นละครที่สะท้อนความคิดว่าชีวิตเป็นเรื่องไร้สาระ มีวิวัฒนาการมาจากแนวทางหลายแบบที่ต่างกัน แต่มีความสอดคล้องกันในแง่ที่ว่าโลกสับสนวุ่นวาย ชีวิตไม่มีจุดมุ่งหมาย ไร้ประโยชน์

ละครสร้างสรรค์ คือ ละครนอกรูปแบบที่ไม่ต้องการเวที มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถทางด้านการแสดงออกและการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีพร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่น ขณะเดียวกันก็เรียนรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่นด้วย ละครสร้างสรรค์มีการฝึก 6 ประการดังนี้
1. ฝึกการเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับการกระทำ
2. การฝึกประสาททั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำนำมาใช้ในการแสดงละครได้เป็นอย่างดี เช่น
    • การมอง ให้นักแสดงมองภาพที่มีสัตว์ สิ่งของรวมกัน แล้วสามารถแยก ได้ว่ามีภาพอะไร
    • การฟัง ให้นักแสดงฟังเสียงต่างๆ โดยไม่เห็นภาพ แล้วบอกว่าเป็นเสียง อะไร
    • การดมกลิ่น ให้นักแสดงหลับตาแล้วดมกลิ่นแล้วทายว่าสิ่งของนั้นคืออะไร
    • การชิมรส ให้นักแสดงหลับตาแล้วชิมอาหารแล้วทายว่าเป็นอะไร
    • การสัมผัส ให้นักแสดงหลับตาแล้วคลำสิ่งของต่างๆแล้วทายว่าเป็นอะไร
3. การฝึกละครใบ้ เป็นการแสดงด้วยท่าทาง ผู้แสดงจะใช้จินตนาการโดยใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายแทนคำพูด
4. การฝึกละครสด เป็นการแสดงที่ผู้แสดงใช้คำพูดในการสื่อสารมีปฏิภาณในการพูดโต้ตอบ
5. การฝึกละครที่เป็นเรื่องราว เป็นการแสดงที่นักแสดงนำสิ่งต่างๆ ที่เคยพบเห็นมาจินตนาการสร้างเป็นละครขึ้น
    6. สรุปการเล่นละครสร้างสรรค์ เป็นการสรุปทบทวนหลังจากการแสดงละครเรียบร้อยแล้วเพื่อนำมาชมเชยและปรับปรุงให้การแสดงดีขึ้น

- การละครไทยและละครสากล มีคุณค่าเป็นที่รวมศิลปะต่างๆโดยเฉพาะศิลปะแขนงต่างๆ โดยเฉพาะศิลปะแขนงวิจิตรศิลป์และประณีตศิลป์ เป็นศิลปะแห่งความงามที่มุ่งหมายเพื่อสนองความต้องการของอารมณ์ สติปัญญา ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจซึ่งแนวทางในการศึกษาละครไทยและละครตะวันตก จะมีบทบัญญัติของการแสดงแต่ละประเภท ตลอดจนขนบธรรมเนียม คติความเชื่อ ฯลฯ
- การละครมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีและมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ มีการแสดงที่เป็นแบบแผน ทั้งที่เป็นแบบพื้นบ้านและแบบมาตรฐานในราชสำนัก
- ละครหมายถึง การแสดงที่ผูกเป็นเรื่อง มีละครที่ใช้ท่ารำและละครที่ไม่ใช้ท่ารำ
- ละครรำหมายถึง ละครที่ใช้ศิลปะการร่ายรำดำเนินเรื่อง มี 2 ประเภท คือ
      1. ละครรำแบบดั้งเดิมได้แก่ ละครชาตรี ละคนอก ละครใน
      2. ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ได้แก่ ละคร พันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครเสภา
- โขนเป็นการแสดงที่เป็นเรื่องราว นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น พัฒนามาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ การแสดงกระบี่กระบอง และการแสดงหนังใหญ่ ผู้แสดงสวมศีรษะเรียกว่า “หัวโขน” พระมหากษัตริย์ทรงถือว่า โขน เป็นเครื่องราชูประโภคส่วนพระองค์
- การละครตะวันตก แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ ละครยุคแรกเริ่ม ละครยุคกลาง ละครยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม และละครสมัยใหม่
- ละครสร้างสรรค์คือ คือละครนอกรูปแบบที่ไม่ต้องการเวที มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการแสดงออกได้อย่างสร้างสรรค์ สร้างความเชื่อมั่น สามารถเรียนรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น มีการฝึกกิจกรรม 6 ประการ คือ
1. การฝึกการเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับการกระทำ
2. การฝึกประสาททั้ง 5
3. การฝึกละครใบ้
4. การฝึกละครสด
5. การฝึกละครที่เป็นเรื่องราว
6. สรุปการเล่นละครสร้างสรรค์



<< Go Back