การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายทั้งของเพศชายและเพศหญิงนั้นมีผลต่อสภาวะทางอารมณ์ ดังนั้นเราจึงควรทราบทั้งในส่วนของเพศชายและเพศหญิง ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและสภาวะทางอารมณ์ของเพศชาย

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและสภาวะทางอารมณ์นั้นเกิดขึ้นในทุก ๆ ช่วงวัย แตกต่างกันไป แต่สำหรับเพศชายนั้น ในช่วงวัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงที่มากที่สุด

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายทางเพศของวัยรุ่นชายเกิดจากอิทธิพลโดยตรงของฮอร์โมนเพศ (Testosterone) ซึ่งผลิตโดยอัณฑะ และการสร้างฮอร์โมนเพศชายนี้ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน ICSH (Interstitial cell stimulating hormone) และ FSH (Follicle Stimulating hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมพิทูอิตารี (Pituitary) โดยกลไกการผลิตดังต่อไปนี้

กลีบหน้าของต่อมพิทูอิตารีผลิตฮอร์โมนที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย และจิตใจทางเพศชายดังนี้

1.           FSH (Follicle Stimulating hormone) เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ให้เซลล์ในอัณฑะให้ผลิตตัวอสุจิ

2.           ICSH (Interstitial cell stimulating hormone) ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นเซลล์ที่กระจายอยู่ภายในหลอดเล็ก ๆ ของอัณฑะให้ผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า เทสโตสเตอโรน (Testosterone) จำนวนที่เหมาะสม

ฮอร์โมนของเพศชายนี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศรวมทั้งพฤติกรรมทางเพศต่างๆ ที่ผู้ชายแสดงออกมาอีกด้วย ในวัยเด็ก ฮอร์โมน FSH จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและเริ่มผลิตตัวอสุจิ เมื่อเริ่มย่างเข้าสู่วัยรุ่นหรืออายุประมาณ 14 ปี และฮอร์โมน ICSH ก็จะกระตุ้นให้เกิดการผลิต เทสโตสเตอโรน ซึ่งจะพบอย่างมากมายในตอนวัยรุ่นซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอวัยวะที่แสดงความเป็นเพศชาย ดังต่อไปนี้

1.           มีการสร้างตัวอสุจิ และมีการหลั่งน้ำอสุจิได้

2.           มีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ เช่น องคชาต ต่อมลูกหมากถุงเก็บน้ำอสุจิ รวมทั้งอัณฑะเองก็จะเจริญมีขนาดโตขึ้น

3.           มีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดลักษณะทางเพศอันดับรอง สำหรับเพศชาย คือ เสียงแตก เสียงห้าว มีหนวด เครา เริ่มขึ้น มีขนขึ้นตามรักแร้และบริเวณเหนือองคชาติ ไหล่จะกว้างขึ้นและมีกล้ามเนื้อหนา และแข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะแสดงความเป็นเพศชาย

4.           มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ มีความรู้สึกต้องการทางเพศ สนใจเพศตรงข้าม แสดงพฤติกรรมในเชิงเกี้ยวพาราสี

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและสภาวะทางอารมณ์ของเพศหญิง

เพศหญิง เป็นเพศที่มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในหลายช่วงวัย โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อเข้าสู่วัยสาว วัยสืบพันธุ์ จนกระทั่งถึงวัยหมดประจำเดือน

ลักษณะของสตรีที่เข้าสู่วัยสาว

-          เริ่มมีระดูแรก ๆ อาจมาไม่ตรง อาจมีอาการปวด หรือประจำเดือนอาจขาดหายไปหลาย ๆ เดือน หรือจำนวนของประจำเดือนมีมากน้อยไม่แน่นอน ซึ่งแสดงถึงการเริ่มทำงานของสิ่งใหม่ของร่างกาย อาจมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อรังไข่ทำงานไปแล้ว 1-2 ปี ประจำเดือนควรจะมาตามปกติ (การมีประจำเดือนเป็นเครื่องหมายแสดงถึงพัฒนาการทางร่างกายของเด็กหญิงว่าได้เข้าสู่วัยสาวแล้วและเป็นสัญลักษณ์บอกว่าหญิงสาวผู้นั้นมีความพร้อมที่จะให้กำเนิดทารกหรือมีครรภ์ได้)

-          มีไขมันเกิดขึ้นบริเวณหน้าอก หัวหน่าว ขาอ่อน คือทำให้มีรูปร่างเป็นสตรีโดยสมบูรณ์ในรายที่ขาดฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงเจริญเติบโตทุกอย่างดังกล่าวมาแล้วก็จะเกิดขึ้นน้อย ซึ่งอาจจะต้องแก้ไขเสียแต่เนิ่น ๆ

-          มีขนที่หัวหน่าวและที่รักแร้

-          จิตใจเปลี่ยนแปลงไป รู้จักอาย สนใจต่อเพศตรงข้าม มีจริต การพูดจา ผิดไปจากเดิม

วัยของการสืบพันธุ์

วัยของการสืบพันธุ์ (Reproductive period) รังไข่ทำหน้าที่เต็มที่จะมีไข่สุกตกจากรังไข่ในวันที่ 14 ของรอบประจำเดือน (28 วัน) และเยื่อบุมดลูกจะมีเลือดมาเลี้ยงมาก (Congestion) ในระยะ Secretory Phase เพื่อรอการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้วออก แต่ถ้าไม่มีการผสมพันธุ์ เยื่อบุมดลูกก็จะสบายตัวเกิดเป็นระดู ซึ่งปกติจะผสมและมาฝังตัวที่เยื่อบุมดลูกก็จะงอกงามขึ้นมาใหม่วนเวียนเป็นวงจรดังนี้ไปทุก 28 วัน นอกจากไข่เกิดผสมและมาฝังตัวที่เยื่อบุมดลูกและเกิดการสร้างรกและฮอร์โมน เช่นนี้จะไม่เกิดการสลายตัวของเยื่อบุมดลูกต่อไปอีก คือจะไม่มีประจำเดือนตลอดการตั้งครรภ์

วัยหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือน (Menopause period) ความยุ่งยากและมีปัญหามากในระยะหนึ่งของชีวิตของผู้หญิงก็คือ ในระยะของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ อันเป็นเหตุให้ผู้หญิงบางคนเกิดมีปัญหาอย่างมากในด้านชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง ของครอบครัวและของสังคม

ในระยะเปลี่ยนวัย หรือระยะของการหมดประจำเดือนนั้น หมายถึง การสิ้นสุดของการที่จะให้กำเนิดลูกได้ต่อไปของผู้หญิง รังไข่หยุดการมีไข่สุกและหยุดการขับฮอร์โมนของรังไข่ ซึ่งจะค่อย ๆ ลดน้อยลงเป็นจำนวนมากตามที่เคยขับออกมาในระหว่างวัยสาว การลดจำนวนลงของฮอร์โมนนั้นมดลูกก็จะหยุดการการเตรียมตัวเพื่อการที่จะรับทารกมาเจริญเติบโตต่อไปเมื่อเกิดมีการตั้งครรภ์ ซึ่งเคยเตรียมตัวมาแต่ละเดือนนั้น การมีประจำเดือนนั้นจึงหมดไป ซึ่งลักษณะอาการของคนวัยหมดประจำเดือนนั้นพอสรุปได้ดังนี้

-          อายุเฉลี่ยประมาณ 45 ปี มากหรือน้อยกว่าราว 5 ปี

-          รังไข่จะไม่มีไข่สุก

-          ประจำเดือนมักจะค่อยๆ หมดไป คือมีน้อยลง ๆ และห่างไปทุกที

-          อาการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ จะมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว ใจน้อยโกรธง่าย อาจมีเหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ท้องอืดเฟ้ออาหารไม่ย่อย อ่อนเพลียละเหี่ยใจ นอนไม่หลับ และอาจมีอาการร้อนวูบวาบตามผิวหนัง เพราะผลเนื่องจากการขาดความสมดุลทางฮอร์โมนภายในร่างกาย อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะกินเวลา 2-3 ปี

-          บางราย อาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอย หรือเลือดออกมากกว่าปกติธรรมดา ซึ่งอาจเป็นเยื่อบุมดลูกหนา หรือมดลูกอักเสบหรือมะเร็งของปากมดลูก ซึ่งมีความสำคัญมากในการวินิจฉัยและการรักษา

อวัยวะที่แสดงความเป็นเพศหญิง  

เต้านม (Brest of Mammary gland) เป็นต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ำนมเลี้ยงบุตร เต้านมมี 2 ข้างอยู่ที่ด้านหน้าของทรวงอก โดยมีขอบเขตระหว่างกระดูกซี่โครงที่ 2 ถึงซี่ที่ 6 และจากขอบของกระดูกกลางตัวด้านหน้า (Sternum) ถึงขอบหน้าของรักแร้ขนาดนั้นไม่แน่นอนบางคนใหญ่บางคนเล็กในคน ๆ เดียวกัน ก่อนวัยรุ่นจะมีขนาดเล็กจะใหญ่มากในระยะตั้งครรภ์และให้นมแก่บุตร หลังให้นมจะมีขนาดเล็กลงและเหี่ยวแห้งไปเมื่อมีอายุมาก

เต้านมแต่ละข้างจะมีรูปร่างครึ่งทรงกลม ที่ตรงกลางของเต้านม คือ หัวนม (Nipple) ซึ่งจะยื่นนั้นขึ้นมาที่ปลายหัวนมจะมีท่อของต่อมน้ำนมเปิดประมาณ 15 ถึง 20 ท่อ รอบ ๆ หัวนมจะล้อมรอบด้วย Areola ซึ่งเป็นบริเวณที่ผิวหนังเปลี่ยนแปลงไปมี pigment มากกว่าที่อื่น ๆ เมื่อเวลาตั้งครรภ์ Areola จะมีสีคล้ำยิ่งขึ้นและวงกว้างขึ้นอีก

เต้านมข้างหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยต่อมสร้างน้ำนม 15 ถึง 20 กลับ (Lobes) และมีไขมันแทรกอยู่ระหว่างกลีบเหล่านี้ แต่ละกลีบมีติ่งกลมเล็ก ๆ (lobules) จำนวนมาก ท่อนำน้ำนมมาเปิดที่หัวนมจากท่อนี้แยกออกเป็นท่อเล็ก ๆ อยู่ระหว่างติ่งกลมเล็ก ๆ มากมายซึ่งรับน้ำนมมาจากโพรงเล็ก ๆ (alveolu) ในขณะที่เต้านมอยู่ในระยะให้นม (alveoli) จะทำหน้าที่สร้างน้ำนมจึงมีขนาดใหญ่ แต่ในระยะปกติเต้านมมีแต่ท่อต่าง ๆ จะเล็กรวมเป็นเนื่องของต่อมน้ำนม และมีเนื้อเบื่ออีกชนิดหนึ่งเกาะ (alveoli) เหล่านั้นให้อยู่ร่วมกันมีไขมันแทรกอยู่ทั่วไป

 

ที่มา : http://arts.kmutt.ac.th/ssc210/Group%20Project/G244/G07/pages/know_change.html