อวัยวะรับความรู้สึก Sense organ

         จมูก เป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย โดยทำหน้าที่รับกลิ่น ของสิ่งที่อยู่  รอบ ๆ ตัวเรา เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นทางผ่านของอากาศที่เราหายใจอยู่ตลอดเวลา โดยทำหน้าที่กรองอากาศ  ปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศ ก่อนที่จะเข้าสู่ปอด  คือ ถ้าอากาศเย็น จมูกจะปรับให้อุ่นขึ้น  ถ้าอากาศแห้งมาก  จมูกก็จะทำให้อากาศชุ่มชื้น นอกจากนี้จมูกยังช่วยในการปรับเสียงที่เราพูดให้กังวาน น่าฟังอีกด้วย

 

p111

 

รูปภาพ แสดงส่วนประกอบของจมูก

ที่มา : http://3.bp.blogspot.com/_4UcWtGK_blc/S-KDjapxzkI/AAAAAAAAALg/L0ZxUMY4amM/s1600/image049.jpg

 

การได้รับกลิ่น

ย112

รูปภาพแสดงการได้รับกลิ่น

ที่มา : http://3.bp.blogspot.com/_4UcWtGK_blc/S-KDc4jPAdI/AAAAAAAAALY/np5_E7pmxVk/s1600/image052.jpg

 

         กระเปาะรับกลิ่น  คือ บริเวณที่เยื่อบุภายในโพรงจมูกมีปลายกระแสรับกลิ่นอยู่ทั่วไป เชื่อมโยง ไปสู่สมอง  เมื่อมีกลิ่นผ่านเข้าไปในโพรงจมูก  กลิ่นมากระทบปลายประสาทรับกลิ่น ปลายประสาทรับกลิ่นส่งกระแสประสาทไปสู่สมอง  เพื่อแปลความหมายของกลิ่นที่ได้รับ

ลิ้น

         ลิ้นเป็นอวัยวะในช่องปากช่วยคลุกเคล้าอาหารและรับความรู้สึกเกี่ยวกับรสชาติของอาหารการที่ลิ้นสามารถรับรู้รสชาติของอาหารได้ เพราะมีอวัยวะในการรับรู้รส ที่เรียกว่า ตุ่มรับรสtaste buds ) อยู่บนลิ้น

         มีลักษณะกลมรี ประกอบด้วยเซลล์รูปทรงกระสวย และปลายเส้นประสาทที่รับรู้รส  สามเส้น ตุ่มรับรสส่วนใหญ่ พบที่ด้านหน้าและด้านข้างของลิ้นส่วนบนต่อมทอนซิล  เพดานปากและหลอดคอพบเป็นส่วนน้อย  จากการทดลองแล้วปรากฏว่า  ตุ่มรับรสมีอย่างน้อยที่สุด ประมาณ 4 ชนิดด้วยกัน  ซึ่งจะคอยรับรสแต่ละอย่าง คือ

1. รสหวาน

2. รสเค็ม

3. รสขม

4. รสเปรี้ยว

         ตุ่มรับรสเหล่านี้อยู่ตามบริเวณต่าง ๆ บนลิ้น  ( ดังภาพ ) เซลล์รับรสในตุ่มรับรส  เมื่อได้รับ

การกระตุ้นจะส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ไปยังศูนย์กลางรับรสในเซรีบรัมเพื่อแปลความหมายว่าเป็นรสอะไ

p113

 

รูปภาพแสดงตุ่มรับรสต่าง ๆ ที่อยู่บนลิ้น

ที่มา : http://3.bp.blogspot.com/_4UcWtGK_blc/S-KDNrfk7KI/AAAAAAAAALQ/tm0x_GqrZM8/s1600/image057.jpg

ผิวหนัง

ที่ผิวหนังจะมีอวัยวะรับความรู้สึกหรืออวัยวะสัมผัสหลายอย่าง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

1. พวกรับสัมผัสเกี่ยวกับอุณหภูมิ (thermorecepter ) คือ รับความรู้สึกร้อนหรือเย็น ได้แก่

1.1 รับความรู้สึกเย็น  (cold  receptor) พบมากที่ผิวหนังเปลือกตาด้านใน  เยื่อบุภายในปาก  และอวัยวะสืบพันธุ์

1.2 รับความรู้สึกร้อน (heat  receptor) พบมากที่ทุกส่วนของผิวหนัง เช่นที่ฝ่ามือ  ฝ่าเท้า  ศูนย์ควบคุมเกี่ยวกับอุณหภูมิอยู่ที่สมองส่วนไฮโพทาลามัส (hypothalamus)

2. พวกรับสัมผัสทางกล (mechanoreceptor) คือ พวกรับความรู้สึกเกี่ยวกับความกดดัน ความเจ็บปวด ได้แก่

2.1 พวกรับสัมผัส  (touch  receptor)  รวมทั้งพวกปลายประสาทอิสระต่างๆ ที่อยู่ รอบ ๆ รากของขน  จะพบเซลล์ประสาทพวกนี้อยู่ในชั้นหนังแท้ (dermis) ใกล้ ๆ กับชั้นหนังกำพร้า  จะมีอยู่มากบริเวณ ฝ่ามือ  ฝ่าเท่า  ปลายนิ้ว  หัวนม  ริมฝีปาก  ดังนั้นบริเวณเหล่านี้จึงรับสัมผัสได้ดี

2.2 พวกรับแรงกดดัน ( pressure receptor ) รับความรู้สึกกดหนักๆ  พบอยู่ในชั้น

หนังแท้ที่อยู่ลึกลงไป  ปลายประสาทพวกนี้จะมีเยื่อเกี่ยวพันหุ้มอยู่หลายๆ ชั้น เมื่อเกิดแรงกดแรงๆ  ทำให้รูปร่างของเซลล์ประสาทพวกนี้เปลี่ยนแปลงไป  จึงเกิดกระแสประสาทที่ส่งความรู้สึกไปยังสมอง

2.3 รับสัมผัสความเจ็บปวด ( pain receptor )  ปลายประสาทพวกนี้ จะแทรกอยู่ ทุกส่วนของร่างกาย ความรู้สึกเจ็บปวดจะรับสัมผัสได้  2  แบบ  คือ  แบบที่รวดเร็วมาก  และแบบที่เกิดขึ้นช้า ๆ  กระแสประสาทจะนำความรู้สึกนี้เข้าสู่ไขสันหลัง  ส่วนที่เป็นสารสีขาวจะถ่ายทอดไปยัง ทาลามัส และถ่ายทอดเข้าสู่สมองส่วนเซรีบรัมต่อไป

 

ย114


รูปภาพแสดงภาพขยายส่วนของผิวหนัง

ที่มา  http://4.bp.blogspot.com/_4UcWtGK_blc/S-KDJoG902I/AAAAAAAAALI/fC5xPN1GM_o/s1600/image059.jpg

เครื่องจักรมนุษย์ เปลือกของร่างกาย : 6

องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดการรับรู้ภาพได้ดี 
               จะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญสี่ส่วนที่สมบูรณ์ ได้แก่ ส่วนของลูกตาที่เป็นทางผ่าน หรือทางเดินของแสงต้องใส ทำให้ภาพสามารถผ่านเข้าไปถึงจอประสาทตาในลูกตาส่วนหลังได้อย่างสมบูรณ์ ภาพที่ผ่านเข้ามาในลูกตาต้องได้รับการปรับระยะและความคมชัด ให้ภาพที่ไปตกที่จอประสาทตาในลูกตาส่วนหลังมีความคมชัดที่สุด จอประสาทตาสามารถเปลี่ยนภาพเป็นสัญญาณประสาท และส่งผ่านไปถึงสมองส่วนที่เกี่ยวกับการมองเห็นได้ สมองสามารถแปลงสัญญาณประสาทกลับเป็นรูปภาพได้อย่างถูกต้อง 
ถ้ามีองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ จะส่งผลให้การรับรู้ภาพผิดปรกติไปทำให้มีการมองเห็นที่ผิดปรกติ อาจมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือเป็นมากจนถึงขั้นมองไม่เห็นได้ ขึ้นกับชนิดของความผิดปรกติและความรุนแรงของโรคที่เป็น เช่นภาวะสายตาผิดปรกติ(สั้น,ยาว,เอียง) เกิดจากความผิดปรกติในการปรับความคมชัดของภาพที่ไปตกที่จอประสาทตา สามารถแก้ไขให้เห็นได้ปรกติด้วยแว่นสายตา,คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัดแก้ไขสายตา

                โรคต้อหิน มีความผิดปรกติของขั้วประสาทตาจากการสูญเสียเซลประสาทที่อยู่ในชั้นจอประสาทตา มักพบร่วมกับความดันลูกตาสูง   การรักษาทำได้เพียงควบคุมโรคไม่ให้ลุกลามทำลายเซลประสาทตาเพิ่มขึ้น ไม่สามารถทำให้ส่วนของประสาทตาที่สูญเสียการมองเห็นไปแล้วกลับมาเห็นปรกติได้อีก

 

ขอขอบคุณ :1. http://watchawan.blogspot.com/2010/05/blog-post_3644.html
                     2. http://www.thaigoodview.com/node/43966