บุคลิกภาพ (Personality)

              บุคลิกภาพเป็นลักษณะโดยรวมของบุคคลทั้งรูปลักษณ์ทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและพฤติกรรม ซึ่งทำให้มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล บุคลิกภาพบางอย่างก็ติดตัวมาแต่กำเนิดและบางอย่างก็ได้รับผลจากการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสภาพแวดล้อมหรือในสังคมที่ใกล้ชิด ซึ่งแต่ละคนมีการพัฒนาและประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน บุคลิกภาพจึงมีลักษณะเป็นของเฉพาะตัว

บุคลิกภาพตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Personality” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า “Persona” ซึ่งมี ความหมายว่า “Mask” แปลว่า “หน้ากาก” สำหรับตัวละครใช้สวมหน้า เวลาออกแสดง เวลาออกโรงเพื่อ แสดงบทบาทที่ถูกกำหนดให้ เช่น ผู้สวมหน้ากากเป็นผู้ร้ายแสดงให้สมกับตัวผู้ร้าย นักจิตวิทยาได้ให้ความหมายเกี่ยวกับบุคลิกภาพไว้หลายทัศนะ ดังนี้


1. บุคลิกภาพ คือ ผลรวมของพันธุกรรมและประสบการณ์ทั้งหมดของบุคคล
2. บุคลิกภาพ คือ ลักษณะรวมของบุคคลและวิธีการแสดงออกทางพฤติกรรมซึ่งกำหนดการ
ปรับตัวตามแบบฉบับของแต่ละบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม
3. บุคลิกภาพ คือ คุณสมบัติและคุณลักษณะเด่นประจำตัวของแต่ละบุคคล รวมทั้งการปรับตัว
ของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
4. บุคลิกภาพ คือ กระบวนการสร้างหรือรวมคุณลักษณะทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของ
บุคคล นิสัย กิริยาท่าทางของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ
5. บุคลิกภาพ คือ ความเด่นประจำตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจจะบอกถึงความแตกต่างจาก
บุคคลอื่นในด้านปริมาณและคุณภาพของลักษณะเด่นนั้น ๆ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 บุคลิกภาพ หมายถึง สภาพนิสัยจำเพาะคน

         บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะโดยรวมของแต่ละบุคคล ทั้งลักษณะภายในและภายนอกและ ปัจจัยต่างๆ อันมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้พบเห็น

บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอย่างน้อยจะแสดงออกให้ปรากฏ 3 ด้านคือ


1. แสดงบุคลิกภาพด้านรูปร่างหน้าตา สีผม สีผิว เพศ อายุ และจากอิทธิพลของต่อมในร่างกาย
2. แสดงบุคลิกภาพในด้านจิตใจ สติปัญญา อารมณ์และความรู้สึก
3. แสดงทางด้านสังคม อุปนิสัยใจคอ ความนิยมชมชอบ ระเบียบแบบแผนและประเพณี

            การเรียนรู้ทำให้บุคลิกภาพของคนเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย และความคับข้องใจที่เกิดจากการสนอง ความต้องการไม่ได้จะมีผลต่อพัฒนาการของบุคลิกภาพ การปรับตัวจึงมีส่วนสัมพันธ์กับพัฒนาการทาง บุคลิกภาพของบุคคลเป็นอย่างมาก

การเสริมสร้างบุคลิกลักษณะของบุคคล

          บุคลิกลักษณะของบุคคลสามารถดัดแปลง แก้ไข เสริมสร้าง ให้ดีขึ้นได้ บุคลิกภาพที่ดีจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการฝึกหัด ปรับปรุงกริยา ท่าทางและลักษณะต่างๆ

 กลวิธีปรับปรุงแก้ไขให้มีบุคลิกลักษณะดีขึ้น

1. จงเป็นคนใจคอกว้างขวาง (Be open-minded)

2. จงให้ความร่วมมือกับผู้อื่น (Have Cooperative)

3. จงเป็นตัวของตัวเอง (Have Confidence)

4. จงแสวงหาคำแนะนำ (Seek Advice)

5. จงลงมือกระทำจนกว่าจะถูกต้อง (Take Action)

6. จงตรวจสอบผลความก้าวหน้าของท่าน (Check Your Progress)         

ลักษณะทั่วไปของบุคลิกภาพ
1. บุคคลแต่ละคน มีลักษณะรูปร่างเป็นไปตามพันธุกรรม เมื่ออยู่ในสังคมจะเกิดการเรียนรู้และมีผล ต่อบุคลิกภาพของบุคคล
2. บุคลิกภาพ เป็นลักษณะพฤติกรรมส่วนรวมของบุคคล ซึ่งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏ ออกมาจากตัวบุคคลนั้น
3. บุคลิกภาพของบุคคลจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการมองเห็นของบุคคลอื่น
4. บุคลิกภาพเกิดจากการที่บุคคลใช้ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นได้


ความสำคัญของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคมเป็นอย่างมาก ดังจะพิจารณาได้จากประเด็น ดังนี้
          1. ความมั่นใจ ผู้มีบุคลิกภาพดีจะมีความมั่นใจในการแสดงออกมากขึ้น และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จจึงมีมากขึ้น
          2. การยอมรับของกลุ่ม ผู้ที่มีบุคลิกภาพดีย่อมเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป และต้องการที่จะให้อยู่ในกลุ่ม
          3. การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น การที่เรารู้บุคลิกภาพของผู้อื่น ทำให้เราสามารถปรับตัว เข้ากับบุคคลและสถานการณ์ได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น
          4. ความสำเร็จ ผู้ที่มีบุคลิกภาพดีจะได้เปรียบคนอื่นเสมอ เพราะสามารถสร้างความศรัทธาน่าเชื่อถือแก่ผู้พบเห็น ได้รับความร่วมมือ และการติดต่อด้วยดี ช่วยให้ทำงานได้สำเร็จง่ายขึ้น
          5. เอกลักษณ์ของบุคคล บุคลิกภาพทำให้คนมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบอย่างที่ดีและแบบอย่างที่ไม่ดีได้

ลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพดี
        ผู้มีบุคลิกภาพดี เป็นผู้ที่มีพื้นฐานด้านสุขภาพดี สามารถปรับตัวได้ดี และส่งผลทำให้บุคลิกภาพดีด้วย ผู้มีบุคลิกภาพดีจะมีคุณลักษณะและความสามารถทางจิตใจที่สำคัญ ดังนี้
          1. ความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจสภาพเป็นจริงอย่างถูกต้อง บุคคลที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ จะมี ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสภาพความจริงทั้งความจริงภายนอกและความจริงภายใน เช่น สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม ความรู้สึกและความต้องการของตัวเรา
          2. การแสดงอารมณ์ในลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีจะสามารถควบคุมอารมณ์ ได้อย่างเหมาะสม แต่การควบคุมอารมณ์มากเกินกว่าเหตุจะมีผลร้ายคือ ทำให้มีอารมณ์เครียดผิดปกติ ซึ่งจะ ทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตและไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง และขาดการยับยั้งชั่งใจ
          3. ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม โดยธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ชอบอยู่ลำพัง จะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีส่วนร่วมในสังคม ต้องการได้รับการยกย่องและมีชื่อเสียงเป็นที่รักของทุกคน ตลอดจนทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ และได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น
          4. ความสามารถในการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม คนเราจำเป็นต้องเลือก ประกอบอาชีพที่ตนถนัด เพื่อให้ใช้ความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองในการ ทำงาน และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม
          5. ความรักและความต้องการทางเพศ มีความสำคัญต่อสุขภาพจิตและส่งผลต่อบุคลิกลักษณะของ บุคคล ความรักจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความรักใคร่ผูกพันจะสร้างความปรารถนาและอุทิศตัวใน การอยู่ร่วมกัน และผูกพันกับผู้อื่น ซึ่งจะสร้างความสุขความพอใจ และเกิดความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง และ สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นด้วย
          6. ความสามารถในการพัฒนาตน ตนในที่นี้หมายถึง ตนที่แท้จริงและตนที่แสดงออกต่อผู้อื่น ดังนั้นผู้ มีสุขภาพจิตสมบูรณ์จะมีความรู้สึกต่อตนเองในแง่ดี และเข้าใจตนเอง ในบางครั้งคนเราก็อาจจะเกิดความรู้สึก ขัดขืน ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ตนต้องกระทำ แต่ต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้อื่น ซึ่งอาจจะทำ ให้กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกและความต้องการของตนเอง

 

ขอขอบคุณ : 1. http://webhost.wu.ac.th/stipawan/index/link_etc_data/etclink/per/index.html

2. http://management.aru.ac.th/mnge/images/pdf/e-book/wanthanee/eb_chapter1.pdf