คำอธิบาย: C:\Users\Pui\Desktop\Untitled-1.jpg

 

         แคลอรี่ Calorie เป็นหน่วยวัดพลังงานอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปการวัดหน่วยพลังงานมักใช้หน่วย "จูล" ซึ่งเป็นมาตราเอสไอสำหรับการวัดพลังงาน ส่วนแคลอรีมักใช้ในการวัดหน่วยพลังงานอาหาร ผู้บัญญัติหน่วยแคลอรีเป็นคนแรกคือ ศาสตราจารย์นิโคลัส เคลเมนต์ (Nicolas Clément) เมื่อปี ค.ศ. 1824 โดยกำหนดเป็น กิโลกรัม-แคลอรี หน่วยวัดนี้บรรจุลงในพจนานุกรมของฝรั่งเศสและอังกฤษในปี ค.ศ. 1842 และ 1867 ตามลำดับ

         หน่วยวัดพลังงาน ซึ่งมักจะติดอยู่ที่ฉลากข้างกล่องบรรจุอาหารเพื่อบอกปริมาณอาหารที่รับ ประทานเข้าไป เพราะร่างกายต้องการพลังงาน โดยอาหารจำพวกไขมันจะให้พลังงานมากถึง 9 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม ส่วนโปรตีนและคาร์โบไฮเดรทจะ ให้จำนวน 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม ซึ่งปริมารแคลอรี่ที่ควรบริโภคต่อวันอยู่ที่ 2000 กิโลแคลอรี่ ในอาหารจานเดียว อย่างก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัดต่างๆ ให้พลังงาน 300-500 กิโลแคลอรี่ และการบริโภคในแต่ละมื้อไม่ควรเกิน 600 กิโลแคลอรี่

         ปริมาณแคลอรี่ที่ใช้ต่อวันและต่อกิจกรรม  
                  จำนวนแคลอรี่ที่แต่ละคนใช้ไปในแต่ละวัน (total daily energy expenditure - TDEE) เพื่อความง่าย ขอแบ่งความต้องการแคลอรี่ในคนทั่วไปเป็น 3 กลุ่มดังนี้ 
ผู้ที่ใช้พลังงานวันละ 1,200 – 1,600 แคลอรี่ต่อวัน ได้แก่ 

ผู้ที่ใช้พลังงานวันละ 1,600 – 2,000 แคลอรี่ต่อวัน ได้แก่ 

ผู้ที่ใช้พลังงานวันละ 2,000 – 2,400 แคลอรี่ต่อวัน ต้องเป็น 

การวัดหน่วยแคลอรีแบ่งได้เป็นสองแบบ คือ

         การใช้งานในทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะสาขาเคมีและฟิสิกส์ "แคลอรี" มักหมายถึง "กรัม-แคลอรี" สัญลักษณ์ของหน่วยวัดนี้คือ cal หากต้องการบอกถึง กิโลกรัมแคลอรี จะเรียกว่า "กิโลแคลอรี" และใช้สัญลักษณ์ว่า kcal
สำหรับทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือสาขาอื่นที่ไม่ใช่บริบทด้านวิทยาศาสตร์ คำว่า แคลอรี มักใช้ในความหมายถึง "กิโลแคลอรี" ของทางฟิสิกส์และเคมี และมักเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ว่า C เพื่อให้แตกต่างกัน

         ร่างกายต้องการพลังงานมาใช้ในการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว หน่วยนับพลังงานเรียกว่าแคลอรี่ (Calories) ซึ่งเป็นคำย่อจากคำเต็มว่ากิโลแคลอรี่ ทั้งสองคำนี้ใช้ในความหมายเดียวกัน 
แหล่งสร้างพลังงานก็คือ อาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากธัญพืช เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล กลุ่มนี้จะถูกร่างกายเอามาเผาผลาญเป็นพลังงานก่อนเพื่อน โดย 1 กรัมของคาร์โบไฮเดรตจะเผาผลาญได้พลังงาน 4 แคลอรี่ 

 

ขอขอบคุณ : 1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5

2. http://mblog.manager.co.th/zztanti/th-121295/

3. http://www.nstda.or.th/vdo-nstda/sci-day-techno/1657-calorie