ภาวะโภชนาการและทุพโภชนาการ
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งอาหาร
หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ รับประทาน ดื่มหรือรับเข้าร่างกาย
แล้วก่อให้เกิดประโยชน์ไม่ก่อให้เกิดโทษหรือเป็นพิษ แก่ร่างกาย
ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอ จึงมีความสำคัญต่อภาวะ
โภชนาการของมนุษย์อย่างยิ่ง
โภชนาการ
หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับอาหารกับการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดขึ้น รวมทั้งการ ปรุงแต่งอาหารให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของบุคคล ดังนั้น ภาวะโภชนาการ จึงหมาย ถึงสภาวะทางร่างกาย ที่เป็นผลมาจากการได้รับอาหาร ซึ่งหากร่างกายได้รับอาหารไม่ เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ จะทำให้สุขภาพไม่ดี เรียกว่า ภาวะโภชนาการไม่ดี หรือ ทุพโภชนาการ การมีภาวะ โภชนาการที่ดีนั้น เนื่องมาจากร่างกายได้รับอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอ ทำให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิต ใจ ซึ่งเราสามารถปฏิบัติตนได้ โดยยึดหลักโภชนบัญญัติและธงโภชนาการ ของกองโภชนาการกรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข
อาหาร
เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์
อาหารช่วยสร้างเสริม ให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย
และควบคุมการ ทำงานของร่างกายให้ปกติ
การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ อาหารดี มีประโยชน์ สะอาด ปลอดภัย
และมีปริมาณเพียงพอโดยคำนึงถึงคุณค่าของ อาหาร ตลอดจนปัญหาสุขภาพ
อันเนื่องมาจากการขาดสารอาหาร หาก บุคคลใดได้รับอาหารไม่เพียงพอและเหมาะสม
จะทำให้สุขภาพร่างกายไม่ดี เรียกว่า ทุพโภชนาการ
โรคขาดสารอาหาร คือ โรคที่เกิดจากภาวะโภชนาการบกพร่องทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด
มีสาเหตุดังนี้
1.
รับประทานอาหารไม่เพียงพอ
ซึ่งไม่มีอะไรทดแทนในการป้องกัน
2.
โรคอาจเนื่องมาจากความยากจน
ห่างไกลความเจริญและแหล่ง อาหาร
3.
รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง
อาจเนื่องมาจากการขาดความรู้ ในการเลือกกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการรับประทาน
4.
อาหารไม่ถูกต้อง
หรือมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการรับประทาน
อาหารจากผลวิจัยพบว่าขาดธาตุเหล็กมีผลกระทบไม่เฉพาะเด็กหญิง
เท่านั้นเพราะธาตุเหล็กทำให้มีสมาธิในการเรียน
5. มีความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีโรคประจำตัว
สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร
เกิดจากพฤติกรรมและนิสัยส่วนตัวในการกินอาหาร
และด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ(ฐานะยากจน) จึงทำให้เด็กต้องกินอาหารเท่าที่พ่อแม่จะหามาได้การดูแลเรื่องการกินอาหาร (โภชนาการ) ของเด็กในวัยเรียนเหล่านี้
จะเห็นว่าเด็กไม่ได้กินตามหลักโภชนาการแต่กินเพียงเพื่อให้อิ่มท้องและอยู่รอดเท่านั้น
ส่วนมากคนที่มีความสำคัญที่ต้องคอยดูแลในเรื่อง โภชนาการของเด็กคือ
พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู (ญาติ) ที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้
จึงทำให้เด็กเกิดโรคขาดสารอาหารโดยไม่รู้ตัว
โรคขาดสารอาหารเป็นปัญหาที่สำคัญ
ของประชากรและเป็นสาเหตุให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น
หากไม่ถึงกับเสียชีวิตร่างกายก็จะแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต
ทั้งทางด้านพฤติกรรมและสังคม การแก้ไขปัญหาโรคขาดสารอาหารที่เกิดกับเด็ก
ทำได้โดยการทำให้ประชาชนตระหนักถึงการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่
เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารที่สมบูรณ์และดีที่สุด
สำหรับใช้เลี้ยงทารกหากเป็นไปได้ควรให้เด็กได้ดื่มนมวัวหรือนมถั่วเหลืองด้วย
ตัวอย่างการแก้ไขและป้องกันโรคขาดสารอาหาร(โปรตีน)
สำหรับคนที่มีรายได้น้อยโดยการกินอาหารที่ให้โปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพง
โปรตีนจากพืชเรียกว่า “โปรตีนเกษตร” มีลักษณะคล้ายเนื้อสัตว์และให้คุณค่าทางโภชนาการ (โปรตีน) ไม่น้อยไปกว่าเนื้อสัตว์ ในราคาที่ไม่แพงนัก
การนำโปรตีนเกษตรมาประกอบอาหารให้เด็กเล็กกิน จะช่วยให้เด็กได้รับโปรตีน
ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก
โดยสรุปก็คือต้องมีความรู้ทางโภชนาการ
รู้จักการเลือกกินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน
และในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันหากสารอาหารที่จำเป็นมีราคาแพง
เช่น เนื้อสัตว์ก็หาสิ่งที่มาทดแทน (โปรตีนเกษตร) เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็น
ครบถ้วนและไม่เป็นโรคขาดสารอาหาร.
โรคขาดธาตุเหล็ก เหล็กเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยปกติทั่วไปหญิงมีครรภ์
และหญิงที่มีประจำเดือนต้องการธาตุเหล็กมากกว่าชาย เพราะสูญเสียเลือดมากกว่า
ทำให้เป็นโรคโลหิตจางกันมาก และเป็นได้ทุกวัย โรคนี้พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สาเหตุ
เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก
กินอาหารที่มีเหล็กไม่พอหรือร่างกายเสียเลือดมาก หรือเป็นโรคพยาธิลำไส้
นอกจากนี้อาจเนื่องจากขาดโปรตีน วิตามินบี 12 และกรดโฟลิค โดยเฉพาะในหญิงมีครรภ์และทารก
และเด็กทารกและเด็กเป็นโรคนี้ได้ โดยเฉพาะทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคเลือดจาง
และในทารกที่คลอดก่อนกำหนด หญิงมีครรภ์และวัยรุ่นซึ่งต้องการเหล็กมากกว่าปกติ
อาจเป็นโรคเลือดจางได้ง่าย
อาการ
1.
เบื่ออาหาร
อ่อนเพลีย
2.
หงุดหงิด มึนงง
ปวดศีรษะ
3.
ผิวพรรณซีด
4.
เล็บบาง
เปราะและซีด
โรคเหน็บชา
เป็นผลจากการขาด วิตามินบี 1 ซึ่งทำหน้าที่ เร่งปฏิกิริยาในการ
เผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี 1 จะทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารแปรปรวนไปจากปกติ
เป็นโรคที่พบบ่อยในหญิงมีครรภ์ ผู้ใช้แรงงาน ทารกและ ผู้ดื่มสุราเป็นประจำ
สาเหตุ
เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอกับความ
ต้องการของร่างกายและการขาดความรู้
อาการ
เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ชาตามมือและเท้า
ปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่อง แขน-ขาลีบ ไม่มีแรงเดินเปะปะ หายใจลำบาก หัวใจบวมโต
ถ้าไม่รักษาอาจถึงแก่ชีวิตได้ด้วยโรคหัวใจวาย
การป้องกัน
โรคเหน็บชาไม่ใช่โรคที่เกิดจากความอดอยากหากแต่เกิดเพราะการรับประทานอาหารไม่ถูก
สัดส่วนการป้องกันอาจทำได้โดยส่งเสริมให้กินอาหารที่มีวิตามินบี๑ สูง เช่น
เนื้อหมู ถั่วเหลือง ผู้ที่ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงเป็นประจำ
ถ้าเลิกได้เป็นการดีที่สุดถ้าทำไม่ได้ก็ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยว ใบเมี่ยงให้น้อยลง
และควรทำในระหว่างมื้ออาหาร ผู้ที่ชอบกินปลาร้าดิบ ควรเปลี่ยนเป็นต้มให้
สุกเสียก่อน เลิกดื่มเหล้าเป็นประจำเวลาเกิดการเจ็บป่วยก็ไม่อดของแสลง ทั้งๆ
ที่อาหารเหล่านั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ การหุงต้มทุกชนิดควรใช้น้ำแต่พอประมาณ เช่น
ควรหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำส่งเสริมให้กินข้าวซ้อมมือ และรัฐควรวางมาตรฐานการสีข้าวของโรงสีต่างๆ
เพื่อสงวนคุณค่าของวิตามินบี๑ ไว้
โครงการอาหารโลกสหรัฐสำรวจวิธีใหม่สู่ภาวะขาดสารอาหาร
โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ (World
Food Programmed –WFP) และสถานทูตสหรัฐประจำเวียงจันทน์ได้เดินทางไปจังหวัดหลวงน้ำทา
เพื่อตรวจดูความคืบหน้าของโครงการอาหารโลกในการช่วยรัฐบาลลาวต่อกับสู้ภาวะขาดสารอาหาร
ระหว่างการเยือนระยะเวลา 3 วัน มีการเยี่ยมชมบริเวณที่ทาง WFP ได้เริ่มดำเนินโครงการที่มีชื่อว่า
สุขภาพและสารอาหารของแม่และเด็ก (Mother and Child Health and Nutrition programme) แล้วตั้งแต่ปี 2011 โดยมีจุดประสงค์ในการให้สารอาหารที่ถูกหลักกับแม่
และเด็กเพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ นอกจากยังมีการพูดคุยเพื่อแรกเปลี่ยนความคิดเห็นกับแม่
และสตรีมีครรภ์ใน เขต Nalae ในวันสุดท้ายกลุ่มดังกล่าวได้เยือนเขต Singของลาว
เพื่อตรวจดูการให้การศึกษาเกี่ยวกับความรู้ด้านสารอาหาร โดยจะสอนให้กับผู้หญิง
และพี่เลี้ยงที่มีหน้าที่ดูแลเด็ก
ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ของ WFP สำหรับปี 2011-2015 มีเป้าหมายที่จะลดผลกระทบจากภาวะขาดสารอาหารในลาว
ในส่วนของรัฐบาลของสหรัฐฯ ยังได้มอบเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 308ล้านบาท) ผ่านกระทรวงเกษตร (Department
of Agriculture –USDA) เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันเด็กระดับประถมอีกด้วย
ประเภทของภาวะโภชนาการ
1 ภาวะโภชนาการต่ำ (Undernutrition) หมายถึง
สภาวะของร่างกายที่เกิดจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับสารอาหารไม่ครบ
หรือมีปริมาณต่ำกว่าที่ร่างกายต้องการทำให้เกิดโรคขึ้น เช่น
โรคขาดโปรตีนโรคขาดวิตามินต่างๆ เป็นต้น
โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ (World
Food Programme –WFP) และสถานทูตสหรัฐประจำเวียงจันทน์ได้เดินทางไปจังหวัดหลวงน้ำทา
เพื่อตรวจดูความคืบหน้าของโครงการอาหารโลกในการช่วยรัฐบาลลาวต่อกับสู้ภาวะขาดสารอาหาร
2 ภาวะโภชนาการเกิน (Overnutrition) หมายถึง
สภาวะของร่างกายที่ได้รับอาหารหรือสารอาหารบางอย่างเกินกว่าที่ร่างกายต้อง การ
เกิดการสะสมพลังงาน หรือสารอาหารบางอย่างไว้จนเกิดโทษแก่ร่างกาย เช่น
โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
ปัญหาการเกิดโรคจากภาวะทุพโภชนาการ
โรคอ้วน หมายถึงสภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมไว้ตามอวัยวะต่างๆ
มากจนเกินไป
โรคที่พบบ่อยในคนอ้วนมาก
- ไขมันในเลือดสูงทำให้อ้วน
- ความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคเบาหวาน
- โรคข้อกระดูกเสื่อม
- โรคระบบทางเดินหายใจ
-
โรคมะเร็งบางประเภท
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอ้วน
1. กรรมพันธุ์ - ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ
ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี
2. นิสัยจากการรับประทานอาหาร - คนที่มีนิสัยการรับประทานอาหารไม่ดี
หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้
3. การไม่ออกกำลังกาย- ถ้ารับประทานอาหารที่ มากเกินพอดี
แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย
ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย
4. อารมณ์และจิตใจ - มีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น
กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ
บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ
จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจ แต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ
กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ
5. ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว
ความอยากอาหาร - เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งถึงขั้น "กินจุ" ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน
6. เพศ - ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย
เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา
อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น
เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์
และหลังคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้
7. อายุ - เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น
ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลงกระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย
8. ยา - ผู้ป่วยบางโรคนั้นจะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้
และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)
Malnutrition คือ
ภาวะที่ไม่สามารถดุดซึมสารอาหารที่ย่อยลงแล้ว ปัจจุบันให้เรียกเป็น
โรคขาดโปรตีนและพลังงาน (Protien-energy malnutrition หรือ Protein calorie
malnutrition) เรียกย่อว่า PCM คือเด็กที่ขาดโปรตีนโดยมากมักจะขาดพลังงานด้วยและเด็กที่ขาดพลังงานก็มักจะขาดโปรตีนด้วยมักพบในเด็กทารกและเด็กที่มีอายุ
ต่ำกว่า 6 ปี
Marasmus โรคขาดแคลอรี่อย่างมาก
พบได้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี เด็กจะมีการเจริญเติบโตช้า ผอมมาก ผมบาง
ตาลึกโหล แก้มตอบผิวหนังเหี่ยวย่น ไม่มีไขมันใต้ผิวหนัง
หนังหุ้มกระดูกทั่วร่างกายหิว แต่จะกินอาหารไม่ได้มาก และอาเจียนง่าย ความดันโลหิต
และอุณหภูมิในร่างกายมักจะต่ำ ซึ่งอาจต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ท้องอืด
และสามารถคลำต่อมน้ำเหลืองได้ชัดเจน
Marasmic Kwasshiokor มีอาการแสดงระหว่าง Merrasmic และ KKwasshiorkor ซึ่งมักเกิดขึ้นด้วยกันเสมอ
เนื่องจากได้รับสารอาหารและพลังงานไม่พอนานๆ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก
ไม่ได้กินโปรตีนเกิดการป่วย ติดเชื้อ ทำให้มีกลุ่มอาการที่ขาดโปรตีน
และแคลอรี่ขึ้น
ปัญหาที่พบ คือ
การขาดสารอาหารโปรตีนและพลังงาน การพยาบาล แนะนำอาหารที่ขาด
ภาวะทุโภชนาการหมายถึงอะไร?
ภาวะทุโภชนาการ (Malnutrition) หมายถึง
ภาวะที่ทารกและเด็กบริโภคอาหารและได้รับกำลังงานสารอาหารไม่ถูกต้องทั้ง ปริมาณ
ชนิด และคุณภาพ ซึ่งอาจจะได้รับมากเกินความต้องการ จนกลายเป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออาจได้รับน้อยเกินไปจนเกิดภาวะขาดโภชนาการ (Under nutrition) ซึ่งอาจรุนแรงจนเกิดภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร (Protein energy malnutrition) หรือบางคนได้อาหารเพียงพอ
แต่สัดส่วนของอาหารไม่ถูกต้อง (Imbalance nutrition) หรือบางคนอาจได้อาหารและกำลังงานเพียงพอแต่ขาดสารอาหารบางตัว
เช่น วิตามินและเกลือแร่
ซึ่งในที่นี้จะเน้นเฉพาะเรื่องการขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ
สาเหตุ/ปัจจัยของภาวะทุโภชนาการเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันตั้งแต่
1.
ปัญหาทางเศรษฐกิจ
และทางสังคมของประเทศ
2.
แหล่งอาหารในชุมชน
3.
ความจำกัดของครอบครัวที่จะผลิตหรือซื้ออาหาร
4.
การขาดความรู้ที่ถูกต้องของครอบครัวในการเลี้ยงดูและในการจัดอาหารให้
แก่ทารกและเด็ก และมีความเชื่อบางอย่างที่ห้ามกินอาหารบางชนิด
5.
การเจ็บป่วยของทารกและของเด็ก
ทำให้เด็กได้รับสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้น้อย เช่น ปัญหาการติดเชื้อ
ปัญหาท้องร่วง/ท้องเสียเรื้อรัง การดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ไม่ดี
ท่อน้ำดีตีบตัน ทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันผิดปกติ เช่น วิตามินเอ
วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
6.
ปัญหาพันธุกรรมบางอย่างทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ปกติ
เพราะมีความผิดปกติในการย่อยสารอาหารบางอย่าง
7.
การขาดความเอาใจใส่ในการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพตามวัย
ภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารเกิดจากอะไร?
ภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร (PEM, Protein energy malnutrition) เป็นกลุ่มของความผิดปกติที่เกิดจากการได้รับโปรตีนและกำลังงานสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนี้ดังกล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุของภาวะทุโภชนาการ
จึงทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้า มีภาวะน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน (Under weight) หรือเลี้ยงไม่โต (Failure to thrive) โดยมีน้ำหนักต่ำกว่าเปอร์เซนไตล์ (Percentile) ที่ 3 ของค่ามาตรฐานน้ำหนักเทียบกับอายุ
ถ้าภาวะนี้รุนแรงขึ้นและเรื้อรังมากขึ้นจะทำให้เด็กตัวเตี้ยหรือแคระแกรน
ถ้ามีปัจจัยที่ทำให้เสีย เมตาบอลิสึม (Metabolism, ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ
ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของร่างกาย) เช่น การติดเชื้อ
จะก่อให้เกิดการขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารที่ส่งผลให้มีอาการปรากฏชัดเจน เช่น
ภาวะบวมทั่วตัวจากขาดโปรตีนอย่างรุนแรง เรียกว่า Kwashiorkor หรือภาวะผอมแห้งจากขาดกำลังงานสารอาหารอย่างรุนแรงเรียกว่า Marasmus ซึ่งคือ
การมีกล้ามเนื้ออ่อนเหลว และมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย
เด็กที่ขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารจะมีอาการอย่างไร?
อาการที่พบโดยทั่วไปของเด็กที่ขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร คือ มีการเจริญเติบโตไม่สมวัย น้ำหนัก และส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ ในกรณีที่มีการขาดกำลังงานสารอาหารเรื้อรัง เด็กจะมีอารมณ์หงุดหงิด ไม่มีความสุข นอกจากจะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารแล้ว ยังมักจะขาดสารอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ขาดธาตุเหล็ก ขาดธาตุสังกะสี และขาดวิตามินต่างๆ
ในกรณีที่ขาดกำลังงานสารอาหารรุนแรง
จะพบอาการได้ 3 ลักษณะคือ
1.
ลักษณะบวมทั่วตัว
เรียกว่า Kwashiorkor
2.
ไม่บวม
เรียกว่า Marasmus แต่จะพบมีแก้มเหี่ยว
ตัวเหี่ยว ไม่มีกล้ามเนื้อ และไม่มีไขมัน
3.
มีอาการทั้งสองอย่างร่วมกัน
เรียกว่า Marasmic kwashiorkor
อนึ่ง เด็กที่ขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารรุนแรงพบในประเทศยากจน
ขาดแคลนอาหารและมีโรคระบาด หรือในภาวะสงคราม
หรือในครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูไม่ถูกต้อง เช่น
ในเด็กที่แพ้นมวัวและเลี้ยงด้วยน้ำข้าว
ซึ่งทำให้ขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารรุนแรง
ในประเทศไทยเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน
เรายังพบเห็นภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารชนิดรุนแรงทั้ง Kwashiorkor และ Marasmus แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยพบแล้ว
ซึ่งในประเทศเพื่อนบ้าน พบว่าในบริเวณที่อยู่ไกลจากตัวเมืองมากๆ
ยังพบมีผู้ป่วยขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารจนเนื้อที่ข้างแก้มเปื่อยจนขาดหายไปเป็นรู
เรียกว่า Nome คิดว่าในประเทศไทยในถิ่นที่ทุรกันดารมากๆ
อาจยังพบได้
สรุปอาการของการขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารอย่างรุนแรงตามอวัยวะต่างๆ
มีดังนี้
ใบหน้า: ในกลุ่มที่เป็นชนิดบวมทั่วตัว
ใบหน้าจะเหมือนดวงจันทร์ (Moon face) คือแก้มป่องบวม ส่วนกลุ่มที่ไม่บวม ใบหน้าจะเหี่ยวแห้ง
เรียกว่า Simian facies ซึ่งดูแล้วหน้าคล้ายลูกลิง
ดวงตา: ตาแห้ง
เมื่อเปิดตาดูเปลือกตาด้านในจะซีด บางคนมีเกล็ดแห้งๆ
ที่ตาขาวที่เรียกว่าเกล็ดกระดี่ (Bitot spots) ซึ่งแสดงถึงการขาดวิตามินเอขั้นรุนแรง และมีอาการบวมรอบๆ เบ้าตา
ช่องปาก: มีการอักเสบที่มุมปาก ริมฝีปาก
ลิ้น ต่อมน้ำลายโต
และในพวกที่ขาดวิตามินซี จะมีเหงือกอักเสบ และเลือดออกง่าย
ฟัน: เคลือบฟันเป็นรูเล็กๆ
หรือมีฟันขึ้นช้า
ผม: ไม่เป็นเงา แห้ง หักง่าย ผมร่วง
สีเปลี่ยนเป็นจางลง ขนตาสั้น ห่าง
ผิวหนัง: เหี่ยวย่นในพวก Marasmus แต่ผิวหนังบวมมันในพวก Kwashiorkor และทั้งสองกลุ่ม ผิวแห้ง รูขุมขนเป็นตุ่มหนา
ผิวหนังมีทั้งสีเข้มขึ้น และ/หรือสีจางลง ผิวลอก และเมื่อเป็นแผลจะหายช้า
เล็บ: เล็บจะบาง นิ่ม
หรือเป็นรูปช้อนงอนขึ้น มีร่องหรือมีเส้นนูนบนเล็บ
กล้ามเนื้อ: ไม่มีกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณสะโพก
ต้นขา เมื่อเคาะที่แก้มจะมีกล้ามเนื้อบริเวณริมฝีปากกระตุก
ซึ่งเป็นอาการของการขาดธาตุแคลเซียม
กระดูก: มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากขาดแคลเซียม
วิตามินดี หรือวิตามินซี
ช่องท้อง: ช่องท้องโตขึ้น
อาจมีตับโตเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อตับจากมีการจับของไขมันเพิ่มขึ้น (Fatty liver) และอาจมีน้ำในช่องท้อง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด: หัวใจเต้นช้าลง ความดันโลหิตต่ำ
และการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายลดน้อยลง
ระบบประสาทและพัฒนาการ: มีพัฒนาการโดยรวมช้า
ความจำผิดปกติ การตอบสนองของระบบประสาท (รีเฟล็กซ์/Reflex) ช้าลงหรือสูญเสียไป
ระบบโลหิต: มีภาวะซีด และเลือดออกง่าย
พฤติกรรม: หงุดหงิด ซึม เฉย ไม่ร่าเริง
เด็กวัยใดพบภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารมากที่สุด?
เด็กที่พบภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารมากที่สุด
คือ เด็กวัยก่อนเรียน เนื่องจาก
1.
วัยนี้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว
ความต้องการโปรตีนและกำลังงานสาร อาหารต่อน้ำหนักตัวสูงกว่าวัยอื่นๆ
2.
ยังไม่สามารถกินอาหารด้วยตนเองได้เต็มที่
3.
วัยนี้มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าวัยอื่นๆ
4.
พฤติกรรมการเลี้ยงดู
ความเชื่อของผู้เลี้ยงดูเด็ก
ทำให้เด็กได้รับอาหารโปรตีนและกำลังงานสารอาหารไม่เพียงพอ
แนวทางการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการที่มีผลต่อสุขภาพ
1.
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2.
รับประทานอาหารที่สมส่วน
3.
รับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรค
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ
1.
สาเหตุที่เกิดจากอาหาร
2.
สาเหตุที่เกิดจากร่างกาย
ระดับของการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
ระดับที่ 1 เซลล์ และเนื้อเยื่อมีสารอาหารลดต่ำกว่าปกติ แต่ยังไม่เกิดอาการผิดปกติ
ระดับที่ 2 ปริมาณสารอาหารในเลือดหรือปัสสาวะลดต่ำกว่าปกติ
ระดับที่ 3 อวัยวะทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม
ระดับที่ 4 มีอาการที่แสดงบ่งชี้ถึงโรคขาดสารอาหารอย่างชัดเจน
อาจเป็นอันตรายและทำให้เสียชีวิต
โรคที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการ เช่น โรคเกาต์ โรคเลือดจาง
โรคเหน็บชา โรคปากนกกระจอก โรคคอพอก โรค ตาฟาง โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน โรคไต โรคขาดโปรตีน โรคนิ่ว โรคลักปิดลักเปิด โรคหัวใจขาด เลือด
โรคกระดูกอ่อน