คำอธิบาย: C:\Users\Pui\Desktop\Untitled-1.jpg

 

สมรรถภาพ (Physical Fitness)
         สมรรถภาพทางกายหมายถึง สภาวะความสมบูรณ์ของร่างกายที่จะประกอบกิจกรรมทางกายต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีพลังงานเหลือไว้ใช้ในสภาวะที่จำเป็น สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ( Health – Related Physical Fitness)

 

ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายและการเล่นกีฬากับสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภา

ที่มา : http://www2.swu.ac.th/royal/book6/b6c7p7_1.html


ประโยชน์ทางเกี่ยวกับประกอบอาชีพ 
         เป็นที่ยอมรับกันว่าสมรรถภาพทางกายมีบทบาทและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อการทำงานทุกอาชีพ  เนื่องจากการมีสมรรถภาพทางกายดีช่วยให้คนเราสามารถประกอบอาชีพได้เป็นระยะเวลานานและมีปริสิทธิภาพสูง  นอกจากนี้ยังช่วยให้คนเรามีความสามารถที่จะต่อสู้กับความยุ่งยากในชีวิตไม่เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์  และสามารถปรับจิตใจและอารมณ์ให้เหมาะกับสภาพของแต่ละบุคคลได้  สมรรถภาพทางกายจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการประกอบอาชีพ 
ประโยชน์ต่อด้านสังคม 
         เราเคยได้ยินกันบ่อยๆ ว่า “เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” เยาวชนที่มีสมรรถภาพทางกายดีในวันนี้จึงอาจเป็นผู้ใหญ่ที่มีสมรรถภาพทางกายดีวันหน้าด้วย  ถ้าหากเยาวชนทุกคนเห็นความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย และพยายามเสริมสมรรถภพทางกายให้ดีอยู่เสมอจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่  ย่อมจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไปภายหน้า  อันจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมโดยส่วนรวม  หากเยาวชนทุกคนปฏิบัติตนเช่นว่าวันนี้ได้แล้วก็น่าจะกล่าวอย่างภาคภูมิใจได้อีกว่า  “ความมีสมรรถภาพทางกายดีหรือความแข็งแรงของเด็กวันนี้  ก็คือ  ความแข็งแรงของประเทศชาติในอนาคต”  (วันใหม่  ประพันธ์บัณฑิต:2548)
 ประโยชน์ด้านการกีฬา

         
ในการคัดเลือกนักกีฬาเพื่อทำการแข่งขันระดับนานาประเทศ  หรือ  ระดับโลก  ปัจจัยสำคัญที่จะต้องเน้นก็คือ   สมรรถภาพทางกายของนักเรียนมีความสมบูรณ์เพียงพอหรือไม่  คงไม่มีใครคัดเลือกนักกีฬาที่เก่ง แต่สมรรถภาพทางกายไม่ดีเพราะขาดการฝึกซ้อม  แต่ถ้าหากมีนักกีฬาที่ชนะเลิศและมีสถิติใกล้เคียงกัน  แน่นอนผู้ทำการคัดเลือกก็ต้องเลือกนักกีฬาที่มีสมรรถภาพทางกายดีกว่า  โดยทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายในแต่ละด้าน  (วันใหม่  ประพันธ์บัณฑิต  2549)

ความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย

         ในช่วงชีวิตมนุษย์เราทุกคน มีความปรารถนาอยากให้ตนเองมีสุขภาพพลานามัยเเข็งเเรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายทั้งปวง เหมือนดั่งคำกล่าวทางศาสนาที่ว่าไว้ คือ “ อโรคยาปรมา ลาภา “ แปลว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ สิ่งที่กล่าวมานี้นับว่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญอย่างหนึ่งของชีวิตคนเราทุกคน แต่จะทำอย่างไรเราจึงจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีอย่างที่ตั้งความหวังเอาไว้ซึ่ง จะเเสดงออกมาโดยดูจากเเนวทางการปฏิบัติตนของเเต่ละบุคคล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวบ้างก็พยายามรักษาความสะอาดของร่างกายสิ่งของ เครื่องใช้ บ้างก็เลือกรับประทานอาหารที่ดี หรือ ให้ประโยชน์ ตามทัศนะของตน บ้างก็เน้นเรื่องการนอนหลับพักผ่อน บ้างก็เลือกการอาศัยอยู่ในห้องที่มีสภาพเเวดล้อมที่เหมาะสม บ้างก็หมั่นไปตรวจสุขภาพ หรือปรึกษาเเพทย์เป็นประจำ และบ้างก็หาเวลาว่างในการออกกำลังกายอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ก็เเล้วเเต่ภูมิหลังของเเต่ละบุคคลไปเเต่ทุกคนก็จะมุ่งไปที่เป้าหมายเรื่อง เดียวกันคือ ทำอย่างไรจะให้ตนเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีสุขภาพร่างกายที่เเข็งเเรงสมบูรณ์ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานหลายด้าน เช่น สภาพทางร่างกาย สภาวะทางโภชนาการ สุขนิสัยและสุขปฏิบัติ สภาวะทางจิตใจ สติปัญญาเเละสภาวะทางอารมณ์ที่สดชื่นเเจ่มใส ซึ่งความสัมพันธ์ของร่างกายเเละจิตใจนี้ นักพลศึกษาได้มีคำกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ สุขภาพจิตที่เเจ่มใส อยู่ในร่างกายที่เเข็งเเรง “ หมายความว่า การที่บุคคลจะมีสุขภาพที่สดชื่นเเจ่มใสได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีร่างกาย เเข็งแรงสมบูรณ์ด้วย


 

ขอขอบคุณ : 1. http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/vni/Program/unit4/p2.html

2. http://www.maeoowit.ac.th/index.php/palamenu/43-2012-07-08-10-13-57