คำอธิบาย: C:\Users\Pui\Desktop\Untitled-1.jpg

 

               ระบบภูมิคุ้มกัน หรือ Immune system คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายเราได้ เช่น เชื้อโรคชนิดต่างๆ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต ราพยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายยังไม่รู้จัก เรียกว่า antigen

               สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเราเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรคเพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์เรามีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที่สุด

                                                                                                              

ภาพแสดงภูมิคุ้มกัน

ที่มา : . http://siam85-immune.blogspot.com/2011/05/blog-post.html

ภูมิต้านทานแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 
1 ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ คือ ภูมิต้านทานที่ได้รับจากแม่
ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นภายหลัง เมื่อเจอกับเชื้อโรคแล้วสร้างขึ้นมาใหม่แบ่งออกเป็นสองชนิด
2.1 ภูมิต้านทานที่อยู่ในรูปของของเหลว
2.1 ภูมิต้านทานที่อยู่ในรูปของเชลล์ 

 

ภูมิคุ้มกันโรคโดยทั่วไปอาจแบ่งออกเป็น  2  ชนิด  ดังนี้ 
1. ภูมิคุ้มกันโรคที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  (Natural   Immunity)  เป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ถ่ายทอดมาทางสายเลือด  โดยมารดาจะถ่ายทอดผ่านทางรกมาสู่ทารกในครรภ์  ดังนั้น  ทารกที่เกิดใหม่จะมีภูมิคุ้มกันโรคบางชนิด  เช่น  โรคคอตีบ  โรคหัด  และไข้ทรพิษได้เองตามธรรมชาติ  แต่ภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติเหล่านี้คงอยู่ได้ประมาณ  3  เดือนหลังคลอด  ต่อจากนั้นทารกจะมีภูมิคุ้มกันโรคลดลง 
นอกจานี้ร่างกายของคนเราโดยทั่วไปยังมีผิวหนัง  เยื่อเมือกต่างๆ  เช่น  เยื่อตาและเยื่อจมูก  น้ำย่อยอาหาร  และเม็ดเลือดขาวไว้สำหรับคุ้มกันโรคตามธรรมชาติอีกด้วย  ภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติเหล่านี้   จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ  เพศ  อายุ  และความสมบรูณ์ของบุคคลเหล่านั้นๆ 
2. ภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง  (Acquired   Immunity)   เป็นภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดขึ้นหลังคลอดออกจากครรภ์มารดาแล้ว  
ภูมิคุ้มกันโรคชนิดนี้ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 
2.1  ประเภทที่เกิดขึ้นภายหลังจากหายป่วยด้วยโรคต่างๆ  เช่น  ไข้ทรพิษ  หัด  อีสุกอีใส  คางทูม  เป็นต้น  ภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดขึ้นนี้  อาจมีอยู่ระยะเวลาหนึ่งหรือมีอยู่ได้นานตลอดชีวิตก็ได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคและสภาพของบุคคลด้วย 
2.2  ประเภทที่ทำให้เกิดได้โดยการปลูกฝี  ฉีดวัคซีนเซรุ่มและท็อกซอยด์  เพื่อช่วยให้ร่างกายมีหรือสร้างคุ้มกันเฉพาะโรคใดโรคหนึ่งขึ้นมา 


ตาราง  เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างภูมิคุ้มกันก่อเอง  กับภูมิคุ้มกันรับมา

ภูมิคุ้มกันก่อเอง

ภูมิคุ้มกันรับมา

1.  เกิดขึ้นอย่างช้าๆ (หลังได้รับแอนติเจน) ประมาณ  7-14  วัน 
2.  ให้ภูมิคุ้มกันก่อนสัมผัสโรค 
3.  มีระยะเวลาอยู่ในร่างกายเป็นปี 
4.  ใช้กับคนที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน ได้ด้วยตนเอง 
5.  เช่น  วัคซีน  OPV  DPT  ท็อกซอยบาดทะยัก

1.  เกิดขึ้นทันที  หลังจากได้รับสาร 
2.  ให้ภูมิคุ้มกันหลังสัมผัสโรค 
3.  มีระยะเวลาอยู่ในร่างกายไม่นาน  (เป็นสัปดาห์) 
4.  ใช้กับคนที่ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้  (มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน หรือรับเชื้อที่รุนแรง) 
5.  เช่น  เซรุ่ม  (ซีรัม)  แก้พิษงู  แอนติท็อกซินบาดทะยัก

 

 

ขอขอบคุณ : 1. http://siam85-immune.blogspot.com/2011/05/blog-post.html

2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99

3. http://environment.ekstepza.ws/immune-disease.html