<< Go Back

แมลงหลายชนิดมีเหล็กใน เช่น ผึ้ง ต่อ แตน เป็นต้น เมื่อต่อยแล้วมักจะทิ้งเหล็กในไว้  ภายในเหล็กในจะมีพิษของแมลงพวกนี้มักมีฤทธิ์ที่เป็นกรด บริเวณที่ถูกต่อยจะบวมแดง คันและปวด  อาการปวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต่อยและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

วิธีปฐมพยาบาล

1. พยายามเอาเหล็กในออกให้หมด โดยใช้วัตถุที่มีรู เช่น ลูกกุญแจ กดลงไปตรงรอยที่ถูกต่อย เหล็กในจะโผล่ขึ้นมาให้คีบออกได้
2. ใช้ผ้าชุบน้ำยาที่ฤทธิ์ด่างอ่อน เช่น น้ำแอมโมเนีย น้ำโซดาไบคาบอร์เนต น้ำปูนใส ทาบริเวณแผลให้ทั่วเพื่อฆ่าฤทธิ์กรดที่ค้างอยู่ในแผล
3. อาจมีน้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อยถ้าแผลบวมมาก
4. ถ้ามีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด ถ้าคันหรือผิวหนังมีผื่นขึ้นให้รับประทานยาแก้แพ้
5. ถ้าอาการไม่ทุเลาลง ควรไปพบแพทย์

 

            ผู้ที่ถูกแมงป่องต่อยหรือตะขาบกัด จะมีอาการเจ็บปวดมากกว่าแมลงชนิดอื่น  เพราะแมงป่องและตะขาบมีพิษมากกว่า  บางคนที่แพ้สัตว์ประเภทนี้อาจมีอาการปวดและบวมมาก มีไข้สูง คลื่นไส้ บางคนมีอาการเกร็งของวิธีปฐมพยาบาล
1. ใช้สายรัดเหนือบริเวณเหนือบาดแผล เพื่อป้องกันไม่ให้พิษแพร่กระจายออกไป
2. พยายามทำให้เลือดไหลออกจากบาดแผลให้มากที่สุด อาจทำได้หลายวิธี เช่น เอามือบีบ เอาวัตถุที่มีรูกดให้แผลอยู่ตรงกลางรูพอดี  เลือดจะได้พาเอาพิษออกมาด้วย
3. ใช้แอมโมเนียหอมหรือทิงเจอร์ไอโอดี 2.5% ทาบริเวณแผลให้ทั่ว
4. ถ้ามีอาการบวม อักเสบและปวดมาก ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบบริเวณแผล เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย
5. ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง ต้องรีบนำส่งแพทย์

แมงกะพรุนไฟเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสารพิษอยู่ที่หนวดของมัน แมงกะพรุนไฟมีสีน้ำตาล   เมื่อคนไปสัมผัสตัวมันจะปล่อยพิษออกมาถูกผิวหนัง ทำให้ปวดแสบปวดร้อนมาก ผิวหนังจะเป็นผื่นไหม้   บวมพองและแตกออก แผลจะหายช้า ถ้าถูกพิษมากๆ จะมีอาการรุนแรงถึงกับเป็นลมหมดสติ

วิธีปฐมพยาบาล

1. ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือทรายขัดถูบริเวณที่ถูกพิษแมงกะพรุนไฟ เพื่อเอาพิษที่ค้างอยู่ออก  หรือใช้ผักบุ้งทะเล ซึ่งหาง่ายและมีอยู่บริเวณชายทะเล โดยนำมาล้างให้สะอาด ตำปิดบริเวณแผลไว้
2. ใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น แอมโมเนียหรือน้ำปูนใส ชุบสำลีปิดบริเวณผิวหนังส่วนนั้นนานๆ เพื่อฆ่าฤทธิ์กรดจากพิษของแมงกะพรุน
3. ให้รับประทานยาแก้ปวด
4. ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว

ประเทศไทยมีงูหลายชนิด มีทั้งงูพิษและงูไม่มีพิษ งูพิษร้ายแรงมีอยู่ 7 ชนิด คือ งูเห่า งูจงอาง งูแมวเซา งูกะปะ งูสามเหลี่ยม งูเขียวหางไหม้ และงูทะเล พิษของงูมีลักษณะเป็นสารพิษ   งูแต่ละชนิดมีลักษณะของสารไม่เหมือนกัน เมื่อสารพิษนี้เข้าไปสู่ร่างกายแล้ว  สามารถซึมผ่านเข้าไปในกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ เกิดขึ้นในร่างกายไม่เหมือนกัน   ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะงูพิษได้ 3 ประเภท ลักษณะบาดแผลที่ถูกงูพิษและงูไม่มีพิษกัด
- งูพิษมีเขี้ยวยาว 2 เขี้ยว อยู่ด้านหน้าของขากรรไกรบนมีลักษณะเป็นท่อปลายแหลมเหมือนเข็มฉีดยา   มีท่อต่อมน้ำพิษที่โคนเขี้ยว เมื่องูกัดพิษงูจะไหลเข้าสู่ร่างกายทางรอยเขี้ยว
- ส่วนงูไม่มีพิษจะไม่มีเขี้ยว มีแต่ฟันธรรมดาแหลมๆ เล็กๆ เวลากัดจึงไม่มีรอยเขี้ยว

วิธีปฐมพยาบาล

เมื่อแน่ใจว่าถูกงูกัด ให้ทำการปฐมพยาบาลอย่างสุขุมรอบคอบรัดกุม อย่าตกใจให้รีบสอบถามลักษณะงูที่กัดจากผู้ป่วย  และรีบทำการปฐมพยาบาลตามลำดับ ดังนี้
1. ใช้เชือก สายยาง สายรัด หรือผ้าผืนเล็กๆ รัดเหนือแผลประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยให้บริเวณที่ถูกรัดอยู่ระหว่างแผลกับหัวใจ รัดให้แน่นพอสมควร แต่อย่าให้แน่นจนเกินไป  พอให้นิ้วก้อยสอดเข้าได้ เพื่อป้องกันไม่ให้พิษงูเข้าสู่หัวใจโดยรวดเร็ว และควรคลายสายที่รัดไว้  ควรใช้สายรัดอีกเส้นหนึ่งรัดเหนืออวัยวะที่ถูกงูกัดขึ้นไปอีกเปลาะหนึ่ง เหนือรอยรัดเดิมเล็กน้อยจึงค่อยคลายผ้าที่รัดไว้เดิมออก ทำเช่นนี้ไปจนกว่าจะได้ฉีดยาเซรุ่ม
2. ล้างบาดแผลด้วยน้ำด่างทับทิมแก่ๆ หลายๆ ครั้ง และใช้น้ำแข็ง  หรือถุงน้ำแข็งประคบหรือวางไว้บนบาดแผล พิษงูจะกระจายเข้าสู่ร่างกายได้ช้าลง
3. ให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในท่าที่บาดแผลงูพิษกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ นอนอยู่นิ่งๆ เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด    เพื่อไม่ให้พิษงูกระจายไปตามร่างกาย และควรปลอบใจให้ผู้ป่วยสบายใจ
4. ไม่ควรให้ผู้ป่วยเสพของมึนเมา เช่น กัญชา สุรา น้ำชา กาแฟ เพราะจะทำให้หัวใจเต้นแรง อาจทำให้พิษงูกระจายไปทั่วร่างกายเร็วขึ้น
5. รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ถ้านำงูที่กัดไปด้วย  หรือบอกชื่องูที่กัดได้ด้วยยิ่งดี เพราะจะทำให้ เลือกเซรุ่มแก้พิษงูได้ตรงตามพิษงูที่กัดได้ง่ายยิ่งขึ้น

    การป้องกันงู

1. ถ้าต้องออกจากบ้านเวลากลางคืนหรือต้องเดินทางเข้าไปในป่าหรือทุ่งหญ้าหรือในที่รก  ควรสวมรองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าหุ้มข้อและสวมกางเกงขายาว

2. ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่รกเวลากลางคืนหรือเดินทางไปในเส้นทางที่น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่หากินของงู  ถ้าจำเป็นควรมีไฟส่องทางและควรใช้ไม้แกว่งไปมาให้มีเสียงดังด้วย แสงสว่างหรือเสียงดังจะทำให้งูตกใจหนีไปที่อื่น

3. หากจำเป็นต้องเดินทางไปในที่มีงูชุกชุมหรือเดินทางไปในที่ซึ่งมีโอกาสได้รับอันตรายจากงูกัด  ควรระมัดระวังเป็นพิเศษและควรเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลติดมือไปด้วย

4. เวลาที่งูออกหากินคือเวลาที่พลบค่ำและเวลาที่ฝนตกปรอยๆ ที่ชื้นแฉะ งูชอบออกหากินกบและเขียด ในเวลาและสถานที่ดังกล่าว ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

5. ไม่ควรหยิบของหรือยื่นมือเข้าไปในโพรงไม้ ในรู ในที่รก กอหญ้า หรือกองไม้ เพราะงูพิษอาจอาศัยอยู่ในที่นั้น

<< Go Back