ประวัติกีฬาบาสเกตบอลต่างประเทศ
กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำ ลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตู
ของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้มากที่สุดโดยมีทักษะการเล่นได้แก่ การส่ง – รับลูกการเลี้ยงลูกและการยิงประตู
กีฬาบาสเกตบอลมีกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเริ่มจาก ดร. เจมส์ เอ เนสมิท (JamesA.Naismith) ได้
คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของโรงเรียนฝึกอบรม ของสมาคมวายเอ็มซีเอนานาชาติ(International Young Men's Christian
Association Training School) ที่เมืองสปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ในช่วงที่มีหิมะตกเมื่อ ค.ศ. 1891 (พ.ศ. 2434) โดยใช้
ตะกร้าลูกพีช 2 ใบแขวนเป็นประตูจึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่าบาสเกตบอล (Basketball) การเล่นครั้งนั้นใช้ ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล
มีผู้เล่นทั้งหมด 18 คน แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 9 คน มีกฎการเล่น 4 ข้อ คือ
1. ห้ามถือลูกเคลื่อนที่
2. ห้ามมิให้ผู้เล่นปะทะตัวกัน
3. ประตูอยู่ระดับศีรษะและขนานพื้น
4. ผู้เล่นจะถือลูกบอลนานเท่าใดก็ได้ และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ถูกตัวผู้เล่น
ต่อมามีการปรับปรุงการเล่นเป็น 13 ข้อโดยลดผู้เล่นเหลือฝ่ายละ 5 คน เนื่องจากในการเล่นเกิดการปะทะกันเพราะสนาม
แคบ ดังนั้นจึงทำให้เกมการเล่นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งยังลดการปะทะกันอีกด้วยในปัจจุบันกติกาการเล่นดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ ณ
โรงพลศึกษา เมืองสปริงฟีลด์ คือ
1. การโยนลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือโดยไปในทิศทางใดก็ได้
2. การตีลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือตีไปทิศทางใดก็ได้
3. ผู้เล่นจะพาลูกบอลวิ่งไม่ได้และต้องส่งตรงจุดรับลูกบอลยกเว้นขณะที่วิ่งมารับลูกด้วย ความเร็วให้เคลื่อนไหวได้เล็ก
น้อย
4. ต้องจับลูกบอลด้วยมือทั้งสองข้างโดยไม่ให้ใช้ส่วนอื่นของร่างกาย
5. การเล่นจะชน คือผลักหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามล้มถือว่าฟาวล์หนึ่งครั้งถ้าฟาวล์ครั้งที่สองให้ออกจากการแข่งขันจนกว่า
จะมีผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยิงประตูได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บขณะเล่นไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัว
6. การทุบด้วยกำปั้นถือว่าผิดกติกาให้ปรับเช่นเดียวกับ ข้อ 5
7 . ทีมใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
8. การได้ประตูทำได้โดยการโยนหรือปัดลูกบอลให้ขึ้นไปค้างบนตะกร้า
9. เมื่อลูกบอลออกนอกสนามผู้เล่นนที่จับลูกบอลคนแรกเป็นผู้ทุ่มลูกเข้ามาเล่นต่อ กรณีที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครก่อนหลัง
ผู้ตัดสินจะส่งลูกบอลเข้ามาให้ผู้ส่งจะต้องส่งลูกบอลเข้าสนามภายใน 5 วินาที ถ้าช้ากว่านี้จะให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามส่งแทน ถ้าผู้
เล่นถ่วงเวลาการเล่นให้ปรับฟาวล์
10.ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินผู้ฟาวล์ และลงโทษผู้เล่น
11.ผู้ตัดสินทำหน้าที่ตัดสินลูกบอลออกนอกสนามและรักษาเวลาบันทึกจำนวนลูกที่ได้และทำหน้าที่ทั่วไปของผู้ตัดสิน
12.การเล่นแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที
13.ฝ่ายที่ทำประตูได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะหัวหน้าทีมจะตกลงกันถ้าคะแนนเท่ากันเพื่อต่อเวลาแข่งขัน ถ้าฝ่ายใดทำประตู
ได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ
กติกานี้ใช้มาจนถึง ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) จึงได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งใหญ่เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 11
ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสเยอรมนี และใน ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) ดร.เจมส์ เอ. เนสมิท ก็เสียชีวิตลง ก่อน จะได้เห็นความ
สำเร็จ และความยิ่งใหญ่ในกีฬาบาสเกตบอลที่เขาคิดค้นขึ้นต่อมาจากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายพัฒนาการเล่น เป็นที่นิยม
อย่างรวดเร็วเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬาบาสเกตบอลในระดับนานาชาติ ได้แก่ สหพันธ์บาสเกตบอล
นานาชาติ (ชื่อภาษาอังกฤษ International Amateur Basketball Federation ชื่อภาษาฝรั่งเศส Fe'de'ration International de
Basketball Amateur ใช้ชื่อย่อว่า FIBA) นอกจากนี้ยังมีองค์กรในระดับทวีป เช่น สมาพันธ์บาสเกตบอลเอเชีย (Asian Basketball
Confederation หรือ ABC) เป็นต้น
ประวัติกีฬาบาสเกตบอลในประเทศ
ประเทศไทยเริ่มเล่นกีฬาบาสเกตบอลกันตั้งแต่เมื่อใดสมัยใดยังไม่มีหลักฐานยืนยันอย่างแน่ชัด แต่เท่าที่ค้นคว้าและมีหลัก
ฐานยืนยันว่าในปี พ.ศ. 2477 นายนพคุณ พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนได้แปลกติกา การเล่นบาสเกตบอลจากภาษา
อังกฤษเป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ 2477 กรมพลศึกษาได้จัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลระดับนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกสมัยที่ น.อ หลวงศุภชลาศัย
ร.น ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา
พ.ศ 2495 ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลระหว่างนักเรียนหญิงและการแข่งขันระหว่างประชาชนทั่วๆไป
พ.ศ. 2496 ได้มีการจัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยและได้เป็นสมาชิกสมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศ
ตั้งแต่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2496
ปัจจุบันกีฬาบาสเกตบอลถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแทบทุกระดับการศึกษาคือตั้งแต่ระดับประถมมัธยม และ
อุดมศึกษานอกจากนี้ยังมีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลาองค์กรสำคัญที่ส่งเสริมและจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลในประเทศไทย
ได้แก่ สมาคมบาเกตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ กรมพลศึกษากรุงเทพมหานครการกีฬาแห่งประเทศไทยทบวง
มหาวิทยาลัย (กีฬามหาวิททยาลัย) กองทัพ (กีฬาเหล่าทัพ) กองทัพอากาศ (กีฬานักเรียน) สถาบันการศึกษาทั่วไป
ประโยชน์ของการเล่นกีฬาบาสเกตบอล
กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาที่ทำให้ผู้เล่นได้รับประโยชน์ดังนี้
1. ช่วยพัฒนาส่งเสริมสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมแก่บุคคล
2. ช่วยพัฒนาส่งเสริมกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย (motor skills) ให้ทำงานประสาน กันดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า
สายตาให้เคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง
3. เป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับพักผ่อนคลายความตึงเครียดแก่ผู้เล่นและผู้ชม
4. ช่วยฝึกการตัดสินใจและรู้จักคิดแก้ปัญหาตลอดจนมีสมาธิที่ดี
5. ช่วยฝึกให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะและรู้จักให้อภัย
6. ใช้เป็นสื่อนำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและส่วนรวม
7. ใช้เป็นสื่อนำในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา
8. ผู้เล่นที่มีความสามารถจะทำชื่อเสียงให้แก่ตัวเองวงศ์ตระกูลและประเทศชาติ
9. เป็นวิชาชีพด้านหนึ่งสำหรับงานกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลอาชีพ เป็นต้น
ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาบาสเกตบอล
การเล่นกีฬาบาสเกตบอลเป็นการเล่นหลายคนและเล่นด้วยความรวดเร็วต้องใช้ความคล่องตัวสูงในสนามที่มีเนื้อที่จำกัด
ฉะนั้นผู้เล่นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของการเล่นเพื่อความปลอดภัยในการเล่นกีฬาบาสเกตบอล
ผู้เล่นจึงควรมีหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ควรมีสภาพร่างกายพร้อมที่จะเล่นไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอันตรายจากการออก กำลังกาย
2. ก่อนการเล่นควรตรวจสภาพของสนามให้เรียบร้อยมั่นคง แข็งแรง พื้นสนามต้องเรียบไม่ลื่นไม่มีหลุมบ่อไม่มีสิ่งกีด
ขวาง เสาและห่วงประตูอยู่ในสภาพใช้งานได้
3. ต้องแต่งกายชุดเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับการเล่นบาสเกตบอล สวมเสื้อ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า ที่ไม่หลวม หรือคับเกินไป
4. ลูกบอลต้องไม่อ่อน หรือแข็งเกินไป
5. ในการเล่นต้องปฏิบัติตามกติกาโดยเคร่งคัด ไม่ล้อเลียนหรือกลั่นแกล้งเพื่อนระหว่าง การเล่นหรือขณะฝึกซ้อม
6. ไม่เล่นหรือฝึกซ้อมจนเกินกำลังความสามารถของร่างกาย
7. ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอเพื่อความปลอดภัยของผู้เล่นอื่นและเพื่อป้องกันอันตรายขณะรับลูกบอล
8. ควรฝึกจากทักษะที่ง่ายไปหาทักษะที่ยากหรือฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป
9. ไม่เล่นในที่มืดหรือแสงสว่างไม่เพียงพอ
10.ไม่ควรฝึกในสนามกลางแจ้ง แดดร้อนจัด หรือฝนตกฟ้าร้อง
11.ไม่ใส่เครื่องประดับเช่น นาฬิกา แหวน สร้อยข้อมือ สร้อยคอหรือเข็มขัด เพราะจะเป็นอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่นได้
12.ไม่ควรใส่แว่นตาระหว่างเล่นถ้าจำเป็นควรใช้แว่นที่เป็นพลาสติกหรือชนิดที่ไม่แตกและให้มียางรัดติดกับท้ายทอยด้วย
13.ในกรณีที่จะมีการแข่งขันควรฝึกซ้อมให้ร่างกายมีสมรรถภาพดีพร้อมที่จะเข้าแข่งขันได้
14.ถ้าตนเองไม่ได้ฝึกซ้อมหรือฝึกซ้อมไม่เพียงพอไม่ควรลงแข่งขันโดยเด็ดขาด
มารยาทของผู้เล่นกีฬาบาสเกตบอลที่ดี
1. มีความรู้เรื่องระเบียบและกฎกติกาการเล่น
2. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมต่อการเล่นหรือการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล
3. เล่นกีฬาด้วยความสนุกสนานและมีมารยาท มีความสุภาพทั้งกิริยาท่าทางตลอดจนคำพูด
4. ให้เกียรติและเชื่อฟังยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสิน
5. มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย
6. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา
7. ไม่ควรดูถูกความสามารถผู้อื่นจะด้วยวาจาหรือท่าทาง
8. ควรแสดงความยินดีและชมเชยเมื่อผู้เล่น เล่นได้ดี
9. ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้างเมื่ออุปกรณ์มีจำกัด
10. ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
11. ต้องเล่นตามระเบียบตามกติกาที่กำหนดไว้
12. เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้าทีมหรือผู้ฝึกสอนและต้องปฏิบัติตาม
13. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย
14. รู้จักระงับอารมณ์เมื่อเกิดการยั่วยุจากฝ่ายตรงข้าม
15. ไม่ครอบครองลูกบอลแต่เพียงผู้เดียวต้องแจกจ่ายให้เพื่อนร่วมทีมบ้าง
16. เมื่อเล่นกีฬาแพ้หรือชนะไม่ควรดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
17. การเล่นกีฬาต้องเล่นอย่างสุดความสามารถไม่ว่าตนเองจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะ
18. หลังจากการแข่งขันแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะจะต้องฝึกซ้อมให้ดียิ่งขึ้น
19. มีความตั้งใจในการฝึกซ้อมและมีความอดทน
20. ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นในขณะฝึกซ้อมหรือแข่งขัน
21. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
ที่มา : http://www.kruchai.net/histhory_Bas.html