<< Go Back

กติกาบาสเกตบอล
ข้อ 1 คำจำกัดความ (Definitions) และลักษณะการเล่นบาสเกตบอล

            1.1 เกมการแข่งขันขันบาสเกตบอล (Basketball game) บาสเกตบอลเป็นการเล่นที่ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมมีผู้เล่น 5 คน จุด มุ่งหมายของแต่ละทีมคือ ทำคะแนนโดย การโยนลูกบอลให้ลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม และป้องกันอีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้ครอบครองบอล หรือทำคะแนน
            1.2 ห่วงประตูฝ่ายตนเอง/ฝ่ายตรงข้าม (Basket : own/opponents') ฝ่ายรุกทำคะแนนโดยนำลูกบอลโยนให้ลงห่วงประตูของฝ่ายตรง ข้ามและป้องกันห่วงประตูของฝ่ายตนเอง
            1.3 การเคลื่อนที่ของลูกบอล (Ball movement) ลูกบอลอาจจะถูกส่ง โยน ปัด กลิ้ง หรือเลี้ยงในทิศทางใด ๆ ก็ได้ ภายใต้ข้อจำกัดที่ กำหนดไว้ในกติกา
            1.4 ผู้ชนะของเกมการแข่งกัน (Winner of a game) เมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันของช่วงการเล่นที่ 4 หรือถ้าจำเป็นต้องต่อเวลาพิเศษ ทีม ที่มีคะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ในเกมการแข่งขัน
ข้อ 2 ขนาดสนามและขนาดของเส้น (Court and line dimensions)
            2.1 สนามแข่งขัน (Playing Court) สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นผิวเรียบแข็งปราศจากสิ่งกีดขวางที่ทำให้เกิดความล่าช้า สำหรับการแข่งขันซึ่งจัด โดยสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ ขนาดสนามที่จะสร้างขึ้นใหม่ต้องยาว 28 เมตรและกว้าง 15 เมตร โดยวัดจาก ขอบใน ของเส้นเขตสนาม สำหรับการแข่งขันอื่นทั้งหมดที่สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติรับรอง เช่น สหพันธ์ระดับโซน หรือสมาคม แห่ง ชาติ เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเห็นชอบให้ใช้สนามขนาดเล็กสุดในการแข่งขันได้ คือ ยาว 26 เมตรและกว้าง 14 เมตร


            2.2 เพดาน (Ceiling) ความสูงของเพดานหรือสิ่งกีดขวางต้องไม่ต่ำกว่า 7 เมตร
            2.3 แสงสว่าง (Lighthing) พื้นผิวของสนามควรจะเหมือนกันและมีแสงสว่างเพียงพอ แสงสว่างต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นอุปสรรค ต่อการมองเห็นของ ผู้เล่นและของผู้ตัดสิน
            2.4 เส้น (Lines) เส้นทุกเส้นต้องเป็นสีเดียวกัน (ควรเป็นสีขาว) กว้าง 5 เซนติเมตร และมองเห็นได้อย่างชัดเจน
                        2.4.1 เส้นหลังและเส้นข้าง (End lines and side-lines) สนามจะต้องถูกจำกัดโดยเส้นหลัง 2 เส้น (ด้านกว้างของสนาม) และเส้น ข้าง 2 เส้น (ด้านยาวของสนาม) เส้นไม่เป็นส่วนหนึ่ง ของสนาม สนามต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวาง รวมถึงที่นั่งของทีมอย่างน้อย 2 เมตร
                        2.4.2 เส้นกลาง (Center line) เส้นกลาง ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังที่จุดกึ่งกลางของเส้นข้างต้องมีส่วนยื่นออกไป 15 เซนติเมตร จากเส้นข้างแต่ละด้าน
                        2.4.3 เส้นโยนโทษ (Free-throw lines) พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที (Restricted areas) และเขตโยนโทษ (Free-throw lanes) เส้นโยน โทษ ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังแต่ละด้าน ห่างจากขอบในของเส้นหลัง 5.80 เมตร และมีความยาว 3.60 เมตร จุดกึ่งกลางของเส้น โยนโทษที่สมมุติขึ้นเป็นแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้ง 2 เส้น พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ต้องเป็นพื้นที่ในสนามที่กำหนดโดยเส้น หลังเส้นโยนโทษและเส้นซึ่งเริ่มต้นจากเส้นหลังห่าง 3 เมตร จากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังและขอบนอกของเส้นโยนโทษเส้นจะแยกออก จากเส้นหลังเส้นเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ภายในของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที อาจจะทาสีก็ได้แต่ต้องเป็นสีเดียวกับสีที่ ทาวงกลมกลางสนามเขตโยนโทษเป็นพื้นที่ที่ต่อออกจากพื้นที่เขตกำหนด 3 นาที เข้าไปในสนามโดยขีดเส้นเป็นครึ่งวงกลมรัศมี 1.80 เมตร ใช้จุด กึ่งกลางของเส้นโยนโทษเป็นจุดศูนย์กลางเขตช่องยืนตามแนวเขตโยนโทษเป็นช่องที่ให้ผู้เล่นยืนระหว่างการโยนโทษ จะต้องเขียน เส้นลักษณะ
                        2.4.4 วงกลมกลาง (Center circle) วงกลมกลางต้องเขียนไว้กลางสนามรัศมี 1.80 เมตร โดยวัดจากขอบนอกของเส้นรอบวง ถ้า ทาสีภายในพื้นที่วงกลมต้องเป็น สีเดียวกับสีที่ทาพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที
                        2.4.5 พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนน (Three-point field goal area) พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนนของทีมจะเป็นพื้นที่ทั้งหมดของสนาม ยกเว้นพื้นที่ที่ใกล้ห่วงประตูฝ่ายตรงข้ามซึ่งถูกจำกัดโดยสิ่งต่อไปนี้ - เส้นขนาน 2 เส้น จากเส้นหลังไปถึงปลายเส้นโค้งครึ่งวงกลมรัศมี 6.25 เมตร จากจุดนี้ตั้งฉากกับจุดศูนย์กลางของห่วงประตู ของฝ่ายตรงข้าม ระยะห่างถึงขอบในของจุดกึ่งกลางเส้นหลัง 1.575 เมตร - รูปครึ่ง วงกลมมีรัศมี 6.25 เมตร จากจุดศูนย์กลางถึงขอบนอก (ซึ่งเป็นจุดเดียวกัน) ลากไปต่อกับเส้นขนาน
                        2.4.6 พื้นที่เขตที่นั่งของทีม (Team bench areas) พื้นที่เขตที่นั่งของทีมต้องอยู่นอกสนามด้านเดียวกับโต๊ะบันทึกคะแนน ที่นั่ง ของทีมเป็นดังต่อไปนี้ -แต่ละพื้นที่เขตที่นั่งของทีมจะถูกกำหนดโดยเส้นที่ต่อออกจากเส้นหลัง ยาวอย่างน้อย 2 เมตร และอีกเส้นหนึ่งยาวไม่ น้อยกว่า 2 เมตร ห่างจากเส้นสนาม 5 เมตร
            2.5 ตำแหน่งของโต๊ะเจ้าหน้าที่และที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่น การจัดที่นั่งของทีม และที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ การแข่งขันทุกครั้งที่จัดโดยสหพันธ์บาสเกตบอล นานาชาติ และได้แนะนำให้กระทำสำหรับการแข่งขันอื่น ๆ ด้วย
ข้อ 3 อุปกรณ์ (Equiqment)
            3.1 กระดานหลัง และสิ่งยึดกระดานหลัง (Backboards and backboard supports)
                        3.1.1 กระดานหลังที่สร้างขึ้นต้องทำด้วยวัสดุโปร่งใส (เลือกใช้กระจกนิรภัย) แผ่นเดียวกันตลอด ถ้าทำด้วยวัสดุอื่นที่ไม่ โปร่งใสจะต้องทาพื้นสีขาว
                        3.1.2 ขนาดความกว้าง ยาว และหนาของกระดานหลังตามแนวนอนจะเป็น 1.80 เมตร และตามแนวตั้ง 1.50 เมตร
                        3.1.3 เส้นทุกเส้นบนกระดานหลังจะต้องเขียนดังต่อไปนี้ - เป็นสีขาว ถ้ากระดานเป็นวัตถุโปร่งใส - เป็นสีดำ ถ้ากระดานหลัง เป็นวัสดุอื่น - เส้นมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร
            เพิ่มเติม หน้ากระดานเหนือห่วงให้เขียนดังนี้เขียนรูปสี่เหลี่ยมมุมมฉากด้วยเส้นกว้าง 5 ซ.ม ตรงหลังห่วงประตูวัดริมนอกด้านขวาง ยาว 59 ซ.ม และด้านตั้งยาว 45 ซ.ม ริมบนสุดของเส้นด้านฐานอยู่ในระดับเดียวกับขอบห่วง
                        3.1.4 พื้นผิวหน้าของกระดานหลังจะต้องเรียบ
                        3.1.5 กระดานหลังต้องติดยึดอย่างมั่นคง
                                    - ที่เส้นหลังแต่ละด้านของสนามแข่งขัน โดยติดตั้งสิ่งยึดกระดานให้ตั้งฉากกับพื้น ขนานกับเส้นหลัง
                                    - จุดกึ่งกลางของพื้นผิวด้านหน้าของกระดานหลัง ทิ้งดิ่งลงมายังพื้นสนามแข่งขัน จะสัมผัสจุดบนพื้น ซึ่งมีระยะห่าง 1.20 เมตร จากจุดกึ่งกลางของขอบในของเส้นหลังแต่ละเส้น
                        3.1.6 เบาะหุ้มกระดานหลัง
                        3.1.7 สิ่งยึดกระดานหลัง
                                    - ด้านหน้าของสิ่งยึดกระดานหลังที่สร้างขึ้น (หุ้มเบาะตลอด) ต้องอยู่ห่างจากขอบของเส้นหลังอย่างน้อย 2 เมตร มีสีสดใส แตกต่างจากพื้นหลัง เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็นได้อย่างชัดเจน
                                    - สิ่งยึดกระดานหลังต้องติดตั้งอย่างมั่นคงบนพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้เคลื่อนที่เมื่อมีแรงกระแทรก
                                    - สิ่งยึดกระด้านหลังที่อยู่ด้านหลังต้องหุ้มเบาะต่ำกว่าพื้นผิวของสิ่งยึดมีระยะห่างจากด้านหน้าของกระดานหลัง 1.20 เมตร ความหนาของเบาะหุ้ม 5 เซนติเมตร และต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับเบาะหุ้มกระดานหลัง
                                    - สิ่งยึดกระดานหลังทั้งหมดต้องหุ้มเบาะเต็มพื้นที่ฐานของสิ่งยึดกระดานหลังสูงจากพื้นอย่างน้อย 2.15 เมตร บนสิ่งยึด ด้าน ข้างสนาม มีความหนาเบาะหุ้ม 10 เซนติเมตร
                        3.1.8 เบาะหุ้มกระดานหลังที่สร้างขึ้นจะป้องกันแขนมือจากการปัด
            3.2 ห่วงประตู (Baskets)
                        3.2.1 ห่วง (The Rings) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
                                    - วัสดุต้องเป็นเหล็กกล้าแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร ทาด้วยสีส้ม
                                    - โลหะที่ใช้ทำห่วงจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในอย่างน้อย 16 เซนติเมตร และไม่เกิน 2.0 เซนติเมตรพร้อม ด้วยที่ยึดตาข่าย ด้านล่างสำหรับเกี่ยวตาข่ายในลักษณะป้องกันนิ้วมือไปเกี่ยวจากการปัดซึ่งเป็นการป้องกันการยิงประตู
                                    - ตาข่ายจะผูกติดกับห่วงแต่ละด้านในตำแหน่งที่ต่างกัน 12 จุด มีระยะห่างเท่ากันรอบห่วง การผูกติดกันของตาข่ายจะ ต้อง ไม่คมหรือมีช่องว่างที่นิ้วมือสามารถเขาไปเกี่ยวได้
                                    - ห่วงจะต้องยึดติดกับโครงสร้างที่ยึดกระดานหลังโดยไม่ทำให้เกิดแรงส่งตรงไปยังห่วงซึ่งไม่สามารถทำให้กระดาน หลังสั่น ด้วยตัวของมันเองดังนั้น จะไม่เป็นการปะทะโดยตรงของห่วงระหว่างสิ่งค้ำที่เป็นโลหะกับกระดานหลัง (กระจกหรือวัสดุโปร่งใส อื่น) อย่างไรก็ตาม ช่องว่างจะต้องแคบพอเพื่อป้องกันนิ้วมือเข้าไปเกี่ยว
                                    - ขอบบนสุดของห่วงแต่ละข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามแนวนอน สูง 3.05 เมตร จากพื้นสนามซึ่งกระดานหลังมีความ สูง เท่ากันทั้ง 2 ด้าน
                                    - จุดที่ใกล้ที่สุดของขอบในของห่วงจะต้องห่าง 15 เซนติเมตร จากด้านหน้าของกระดานหลัง
                        3.2.2 ห่วงที่มีแรงอัด อาจจะใช้ในการแข่งขันได้
                        3.2.3 ตาข่าย (The nets) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
                                    - เป็นด้ายสีขาว แขวนติดกับห่วงและมีความฝืดเพื่อทำให้ลูกบอลผ่านห่วงประตูช้ากว่าปกติ ตาข่ายต้องมีความยาวไม่ น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และไม่เกิน 45 เซนติเมตร
                                    - ตาข่ายแต่ละข้างต้องมีห่วง 12 จุด สำหรับเกี่ยวติดกับห่วง
                                    - ส่วนบนของตาข่ายต้องยืดหยุ่นได้เพื่อป้องกันสิ่งต่อไปนี้
                                    - ตาข่ายเกี่ยวติดห่วง สะบัดขึ้นไปบนห่วงทำให้เกิดปัญหาตาข่ายเกี่ยวติดห่วง
                                    - ลูกบอลค้างในตาข่ายหรือกระดอนออกจากตาข่าย
            3.3 ลูกบาสเกตบอล (Basketballs)
                        3.3.1 ลูกบอล ต้องเป็นรูปทรงกลมและมีสีส้ม ซึ่งได้รับการรับรอง มี 8 ช่องกลีบ ตามแบบเดิม กรุและเย็บเชื่อต่อกัน
                        3.3.2 ผิวนอกต้องทำด้วยหนัง หนังที่เป็นสารสังเคราะห์ ยาง หรือวัสดุสารสังเคราะห์
                        3.3.3 ลูกบอลจะขยายตัวเมื่อสูบลมเข้าไป ถ้าปล่อยลงสู่พื้นสนามจากความสูงโดยประมาณ 1.80 เมตร วัดจากส่วนล่าง ของ ลูกบอล ลูกบอลจะกระดอนขึ้นสูงวัดจากส่วนบนสุดจากของลูกบอลระหว่าง 1.20 เมตร ถึง 1.40 เมตร
                        3.3.4 ความกว้างของช่องกลีบที่เชื่อมต่อกันของลูกบอลต้องไม่มากกว่า 0.635 เซนติเมตร
                        3.3.5 ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 74.9 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 78 เซนติเมตร (ลูกบอลเบอร์ 7) จะต้องมีน้ำหนัก ไม่ น้อยกว่า 567 กรัม และไม่มากกว่า 650 กรัม
                        3.3.6 ทีมเหย้า (The home team) ต้องเตรียมลูกบอลที่ใช้แล้วโดยได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 ลูก ผู้ตัดสินต้อง พิจารณาเลือกลูกบอลที่ถูกต้องเพียงลูกเดียว ถ้าลูกบอลทั้ง 2 ลูก (ing team) หรือเลือกลูกบอลที่ใช้ในการอบอุ่นร่างกายมา ใช้แข่งขันก็ได้
            3.4 อุปกรณ์เทคนิค (Technical equipment) อุปกรณ์เทคนิคต่อไปนี้ต้องเตรียมโดยทีมเหย้าและต้องดำเนินการ โดยผู้ตัดสินและเจ้า หน้าที่โต๊ะ
                        3.4.1 นาฬิกาแข่งขันและนาฬิกาจับเวลา (Game clock and stopawtch)
                        3.4.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที (24 second device)
                        3.4.3 สัญญาณเสียง (Signals) ต้องกำหนดสัญญาณเสียงอย่างน้อย 2 ชุด ซึ่งมีเสียงแตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีเสียงดังมากพอ
                                    - สัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้บันทึกคะแนน สัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดัง อัตโนมัติเพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัติ เพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อ เวลาพิเศษ สัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนและผู้จับเวลา แข่งขันต้องควบคุมด้วยมือ เพื่อดำเนินการแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบว่ามีการขอเวลา นอก เปลี่ยนตัวและมีการต้องขออื่น ๆ เช่นหลัง เวลาผ่านไป 50 วินาทีของการขอเวลานอก หรือสถานการณ์ข้อผิดพลาดที่แก้ไขได้
                                    - อีกสัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลา 24 วินาที ซึ่งสัญญาเสียงดังอัตโนมัติเพื่อแสดงการสิ้นสุดช่วงเวลาการเล่น 24 วินาที สัญญาณเสียงทั้ง 2 ชุด ต้องมีเสียงดังมากพอที่จะได้ยินภายใต้เสียงรบกวน หรือปรับเสียงให้ดังมากพอกับสภาพสิ่งแวดล้อม
                        3.4.4 ป้ายคะแนน (Scoreboard) ต้องเป็นป้ายคะแนนที่ติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันสามารถมองเห็นได้อย่าง ชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้วย ป้ายคะแนนต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
                                    - เวลาการแข่งขัน
                                    - คะแนน
                                    - จำนวนของช่วงการเล่นปัจจุบัน
                                    - จำนวนของเวลานอก
                        3.4.5 ใบบันทึกคะแนน (Scoresheet) ใบบันทึกคะแนนจะต้องได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการเทคนิคโลกของสหพันธ์ บาสเกตบอลนานาชาติซึ่งจะใช้สำหรับ การแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ
                        3.4.6 ป้ายแสดงการฟาล์วของผู้เล่น (Player foul markers) ต้องจัดเตรียมป้ายแสดงการฟาว์ลของผู้เล่นสำหรับผู้บันทึกคะแนน ป้ายต้องเป็นสีขาวพร้อมตัวเลขขนาดความยาว 20 เซนติเมตร และกว้าง 10 เซนติเมตร และมีตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 5 (ตัวเลข 1 ถึง 4 เป็นสีดำ ตัวเลข 5 เป็นสีแดง)
                        3.4.7 อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีม (Team foul markers) อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีมต้องเตรียมสำหรับผู้บันทึกคะแนน อุปกรณ์ แสดงการฟาล์วต้องเป็นสีแดง กว้าง 20 เซนติเมตร สูง 35 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และติดตั้งบนโต๊ะผู้บันทึก ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกม การแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะใช้ได้โดยมีข้อแม้ว่าต้องมีสีที่เหมือนกัน และมีขนาด ความกว้าง ยาวและหนาตามที่ ระบุไว้ข้างต้น
                        3.4.8 ป้ายแสดงจำนวนการฟาล์วทีม (Team foul indicator) จะต้องมีป้ายที่เหมาะสมเพื่อแสดงตัวเลขจำนวนฟาล์วทีมถึงเลข 5 แสดงให้ทราบว่าทีมนั้นได้กระทำฟาล์วครบจำนวนที่จะต้อง ถูกลงโทษ (กติกาข้อ 55 บทลงโทษของฟาล์วทีม)
                        3.4.9 เครื่องชี้ทิศทางการครอบครองบอลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้งานด้วยมือ ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน
            3.5 เครื่องอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เครื่องอำนวยความ สะดวกและอุปกรณ์ที่กล่าวถึงจะต้องเตรียมสำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เช่น การแข่งขันกีฬา โอลิมปิก ชิงแชมป์โลก ชาย หญิง เยาวชนชาย เยาวชนหญิง ยุวชนชายและยุวชนหญิง ชิงแชมป์ทวีป ชายหญิง เยาวชนชายและเยาวชนหญิง เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สามารถใช้กับการแข่งขันระดับอื่นทั้งหมดได้
                        3.5.1 ผู้ชมทุกคนจะต้องนั่งห่างอย่างน้อย 5 เมตร จากขอบด้านนอกของเส้นเขตสนามแข่งขัน
                        3.5.2 พื้นสนามต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
                                    - ทำด้วยไม้
                                    - เส้นเขตสนาม กว้าง 5 เซนติเมตร
                                    - เส้นเขตสนามรอบนอก กว้างอย่างน้อย 2 เมตรทาด้วยสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน สีของเขตสนามรอบนอกควรจะเป็นสี เดียวกับ วงกลมกลางและพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที
                        3.5.3 ต้องมีคนถูพื้นสนาม 4 คน โดย 2 คนทำหน้าที่แต่ละครึ่งของสนาม
                        3.5.4 กระดานหลังต้องทำด้วยกระจกนิรภัย
                        3.5.5 ผิวของลูกบอลต้องทำด้วยหนัง ฝ่ายจัดการแข่งขันต้องเตรียมลูกบอลอย่างน้อย 12 ลูก มีลักษณะและรายละเอียด เหมือน กันสำหรับการฝึกซ้อมระหว่างการอบอุ่นร่างกาย
                        3.5.6 แสงสว่างเหนือสนามแข่งขันต้องมีความสว่างไม่น้อยกว่า 1,500 ลักซ์ ความสว่างนี้จะวัดเหนือพื้นสนามขึ้นไป 1.5 เมต ร แสงสว่างต้องตรงหลักเกณฑ์ในการถ่ายทอดโทรทัศน์
                        3.5.7 สนามแข่งขันต้องติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากโต๊ะบันทึกคะแนน สนามแข่งขัน ที่นั่งของทีม และทุกคนเกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขัน รวมทั้งผู้ชมด้วย
ข้อ 4 ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ และกรรมการเทคนิค (Officials,Table Officials and Commissioner )
            4.1 ผู้ตัดสิน (Officials) จะมีผู้ตัดสิน (Referee) และผู้ช่วยตัดสิน (Umpire) มีผู้ช่วยเป็นเจ้าหน้าที่โต๊ะและกรรมการเทคนิคสิ่งที่เพิ่มใน ปัจจุบันนี้คือ ถ้าเป็นการแข่งขันของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ คณะกรรมการโซน หรือสมาคมแห่งประเทศ เป็นผู้ที่มีอำนาจประยุกต์ ใช้ระบบผู้ตัดสิน 3 คน นั่นคือ ผู้ตัดสิน 1 คน และผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2 คน
            4.2 เจ้าหน้าที่โต๊ะ (Table officials) จะมีผู้บันทึกคะแนนผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน ผู้จับเวลาแข่งขัน และผู้จับเวลา 24 วินาที
            4.3 กรรมการเทคนิค (Commissioner) อาจร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วย ซึ่งนั่งอยู่ระหว่างผู้บันทึกคะแนนกับผู้จับเวลาแข่งขันมีหน้าที่ระหว่าง เกมการแข่งขัน คือคอยชี้แนะเกี่ยวกับงานของเจ้าหน้าที่โต๊ะ รวมถึงผู้ตัดสินและผู้ช่วยสินผู้ตัดสิน เพื่อให้เกมการแข่งขันดำเนินไปด้วยความ เรียบร้อย
            4.4 เป็นการสุดวิสัยที่จะกำหนดว่าผู้ตัดสินของแต่ละเกมการแข่งขันจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรที่ส่งทีม เข้าร่วมแข่งขันใน สนาม
            4.5 ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ หรือกรรมการเทคนิค จะควบคุมดูแลเกมการแข่งขันให้สอดคล้องกับกติกา ไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะตกลงให้ มีการเปลี่ยนแปลงกติกา
            4.6 ชุดแต่งกายของผู้ตัดสิน ประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีเทากางเกงขายาวสีดำ รองเท้าบาสเกตบอลสีดำ และถุงเท่าสีดำ
            4.7 สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เจ้าหน้าที่โต๊ะควรจะแต่งกายให้เป็นแบบเดียวกัน
ข้อ 5 การบาดเจ็บของผู้ตัดสิน (Official : Injury)
            ถ้าผู้ตัดสินบาดเจ็บไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใน 10 นาทีของเหตุการณ์นั้น การ แข่งขันจะเริ่มต่อไปด้วยผู้ตัดสินที่เหลือเพียงคนเดียว จนกว่าจะสิ้นสุดเกมการแข่งขัน นอกเสียจากว่าเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินแทน ผู้ตัดสินที่บาด เจ็บ ภายหลังได้ปรึกษากับกรรมการเทคนิค ซึ่งผู้ตัดสินที่เหลือจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเปลี่ยนตัวผู้ตัดสิน
ข้อ 6 ข้อบังคับเกี่ยวกับการแข่งขัน (Playing Regulations)
            6.1 เกมการแข่งขันประกอบด้วยการแข่งขัน 4 ช่วงการเล่น ช่วงละ 10 นาที
            6.2 พัก 2 นาที ระหว่างช่วงการเล่นที่ 1 กับช่วงการเล่นที่ 2 และระหว่างช่วงการเล่นที่ 3 กับช่วงเวลาที่ 4 และก่อนช่วงต่อเวลา พิเศษ ในแต่ละช่วง
            6.3 พักครึ่งเวลา 15 นาที
            6.4 ถ้าคะแนนเท่ากันหลังจากสิ้นสุดการแข่งขันในช่วงการเล่นที่ 4 เกมการแข่งขันจะเล่นต่อไปด้วยช่วงต่อเวลาพิเศษ 5 นาทีหรืออาจ จะแข่งขันต่อไปอีกกี่ช่วงก็ได้ ช่วงการเล่นละ 5 นาที ซึ่งถ้ายังมีคะแนนเท่ากันอีก
            6.5 ทุกช่วงต่อเวลาพิเศษ ทีมจะเล่นต่อไปในทิศทางของห่วงประตูเดิมต่อจากการแข่งขันในช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงการเล่นที่ 4
ข้อ 7 การเริ่มเกมการแข่งขัน (Beginning of the game)
            7.1 สำหรับเกมการแข่งขัน ทีมชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน (ทีมเหย้า) จะมีสิทธิ์เลือกห่วงประตูและที่นั่งของทีมก่อน ในการเลือก นี้จะต้องดำเนินการและแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบอย่างน้อย 20 นาที ก่อนเกมการแข่งขันเริ่มตามโปรแกรมการแข่งขัน
            7.2 ก่อนช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 3 ทีมเข้าไปอบอุ่นร่างกายในครึ่งสนามซึ่งห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามตั้งอยู่
            7.3 ทีมจะเปลี่ยนห่วงประตูในช่วงการเล่นที่ 3
            7.4 เกมการแข่งขันมีสามารถเริ่มได้ ถ้าทีมใดทีมหนึ่งมีผู้เล่นในสนามไม่ครบ 5 คน และพร้อมที่จะแข่งขัน
            7.5 เกมการแข่งขันเริ่มอย่างเป็นทางการ ด้วยการเล่นลูกกระโดที่วงกลมกลาง เมื่อลูกบอลถูกปัดอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นลูกกระโดด
ข้อ 8 วิธีการเล่นลูกบอล (How the ball is played)
            8.1 ในกีฬาบาสเกตบอล ลูกบอลจะเล่นด้วยมือข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างเท่านั้น
            8.2 การวิ่งไปพร้อมกับลูกบอล การเตะลูกบอลอย่างจงใจการสกัดกั้นลูกบอลด้วยบางส่วนของขา หรือทุบลูกบอลด้วยกำปั้นเป็น การ ผิดระเบียบ
            8.3 การที่ลูกบอลถูกเท้าหรือขาโดยบังเอิญ ไม่เป็นการทำผิดระเบียบ

ที่มา : http://www.kruchai.net/Rule_bas.htm

<< Go Back