ผิวหนัง  
          ผิวหนังของคนเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ที่ห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ผิวหนังของผู้ใหญ่คนหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว ผิวหนังตามส่วนต่างๆของร่างกาย จะหนาประมาณ 1-4 มิลลิเมตร แตกต่างกันไปตามอวัยวะ และบริเวณที่ถูกเสียดสี เช่น ผิวหนังที่ศอก และ เข่า จะหนากว่าผิวหนังที่แขนและขา
โครงสร้างของผิวหนัง
          ผิวหนังของคนเราแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ หนังกำพร้าและหนังแท้
          1. หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ ชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก ประกอบไปด้วยเชลล์ เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยเริ่มต้นจากเซลล์ชั้นในสุด ติดกับหนังแท้ ขึ่งจะแบ่งตัวเติบโตขึ้นแล้วค่อยๆ เลื่อu มาทดแทนเขลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุด แล้วก็ กลายเป็นขี้ไคลหลุดออกไป นอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์ เรียกว่า เมลานิน ปะปนอยู่ด้วย เมลานินมีมาก หรือน้อยขึ้น อยู่กับ บุคคลและเชื้อชาติ จึงทำให้สีผิวของคนแตกต่าง กันไป ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือด เส้น ประสาท และต่อมต่างๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขน และไขมันเท่านั้น
          2.หนังแท้ (Dermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่าง ถัดจากหนังกำพร้า และหนากว่าหนังกำพร้ามาก ผิว หนังชั้นนี้ประกอบไปด้วยเนี้อ เยื่อคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอย เส้นประสาท กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และขุม ขนกระจายอยู่ทั่วไป


ภาพตัดขวางของผิวหนัง

ที่มา - http://th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:Skin.jpg


ชั้นของผิวหนัง

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:Skinn_layer_drawing.jpg

หน้าที่ของผิวหนัง

1. ป้องกันและปกปิดอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับ อันตราย
2. ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายโดยง่าย
3. ขับของเสียออกจากร่างกาย โดยต่อมเหงื่อ ขับเหงื่อออกมา
4. ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดย ระบบหลอดเลือดฝอยและการระเหยของเหงื่อ
5. รับความรู้สึกสัมผัส เช่น ร้อนหนาว เจ็บ ฯลฯ
6. ช่วยสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย โดยแสง แดดจะเปลี่ยนไขมันชนิดหนึ่งที่ผิวหนังให้เป็นวิตามินดีได้
7. ขับไขมันออกมาหล่อเลี้ยงเส้นผม และขน ให้เป็นเงางามอยู่เสมอและไม่แห้ง


การดูแลรักษาผิวหนัง
          ทุกครย่อมมีความต้องการมีผิวหนังที่สวยงาม สะอาด ไม่เป็นโรคและไม่เหี่ยวย่นเกินกว่าวัย ฉะนั้นจึงควรดูแลรักษาผิวหนังตัวเอง ดังนี้

1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ โดย
          1.1 อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าและเย็น เพื่อช่วยชำระล้างคราบเหงื่อไคล และความสกปรกออกไป
          1.2 ฟอกตัวด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ
          1.3 ทำความสะอาดให้ทั่ว โดยเฉพาะบริเวณใต้รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับ อวัยวะเพศ ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ใต้คาง และหลังใบหู เพราะเป็นที่อับและเก็บความชื้น อยู่ได้นาน
          1.4 ในขณะอาบน้ำ ควรใช้นิ้วมือ หรือฝ่ามือ ถูตัวแรงๆ เพราะนอกจากช่วยให้ร่างกายสะอาดแล้ว ยังช่วยให้การ หมุนเวียนของเลือดดีขึ้น
          1.5 เมี่ออาบน้ำเสร็จ ควรใช้ผ้าเช็ดตัวที่ สะอาด เช็ดตัวให้แห้ง แล้วจึงค่อยสวมเสื้อผ้า
2. หลังอาบน้ำแล้ว ควรใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และเหมาะสมกับอากาศและงานที่ปฏิบัติ เช่น ถ้าอากาศ ร้อนก็ควรใส่เสื้อผ้าบาง เพื่อไม่ให้เหงื่อออกมาก เป็นต้น
3. กินอาหารให้ถูกต้องและครบถ้วนตามหลัก โภชนาการ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ เช่น พวก น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ เนย นม ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มะเขือเทศ มะละกอ รวมทั้งพืชใบเขียวและใบเหลือง วิตามินเอ จะช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น ไม่เป็นสะเก็ด แห้ง ทำให้เล็บไม่เปราะ และยังทำให้เส้นผมไม่ร่วงง่ายอีกด้วย
4. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อทำให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง
5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้การ หมุนเวียนของเลือดดีขึ้u
6. ควรให้ผิวหนังได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ โดย เฉพาะเวลาเช้าซึ่งแดดไม่จัดเกินไป และพยายามหลีก เลี่ยงการถูกแสงแดดจ้า เพราะจะทำให้ผิวหนังเกรียม และกร้านดำ
7.ระมัดระวังโนการใช้เครื่องสำอาง เพราะ อาจเกิดอาการแพ้ หรือทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็น อันตรายต่อผิวหนังได้ หากเกิดอาการแพ้ต้องเลิกใช้ เครื่องสำอางชนิดนั้นทันที
8. เมื่อมีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์


ภาพทางเนื้อเยื่อวิทยาของผิวหนังที่เป็นโรคdyshidrotic dermatitisแสดงการเปลี่ยนแปลงของชั้นหนังกำพร้า

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:Spongiotic_dermatitis_(2)_Dyshidrotic_.JPG

http://archive.wunjun.com/udontham/3/184.html

 

ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย(Integumentary system)

                ผิวหนัง(Skin)เป็นระบบห่อหุ้มร่างกาย(Integumentary system)ที่มีพื้นที่มากที่สุดของร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่

          1. หนังกำพร้า(Epidermis) หนังกำพร้า ประกอบด้วยเซลล์หลายๆชั้น ซึ่งเซลล์ชั้นนอกสุดเป็นเซลล์ที่ตายแล้วพร้อมที่จะหลุดเป็น ขี้ไคล(Keratin) ส่วนที่บางที่สุด คือบริเวณหลังตาและหลังหู ส่วนที่หนาที่สุด คือ ฝ่าเท้าและฝ่ามือ ผิวหนังแต่ละคนจะมีสีแตก ต่างกันไปขึ้นอยู่กับเซลล์ที่เรียกว่า เมลานิน(Melanin pigments)

          2. หนังแท้(Dermis) หนังแท้ เป็นชั้นที่อยู่ใต้หนังกำพร้า ประกอบด้วยโครงสร้างต่างๆมากมาย ได้แก่ กระเปาะ(Follicle) ต่อมเหงื่อ (Swet gland) ต่อมไขมัน( Sebaceous gland) เส้นเลือด(Blood vessel) เส้นประสาท(Nerv)และกล้ามเนื้อมัดเล็กๆจำนวนมาก


ที่มา - http://www.gotoknow.org/posts/287340

หน้าที่ของผิวหนัง

1.    รับความรู้สึกต่างๆ
2.   ป้องกันแสงต่างๆไม่ให้เข้าไปในร่างกาย
3.    ควบคุมความร้อนในร่างกาย
4.    ห่อหุ้มร่างกาย
5.     ขับถ่ายของเสีย
6.     ดูดซึมหรือขับไขมันไปหล่อเลี้ยงเส้นผมหรือขน
7.    ขับสิ่งต่างๆที่อยู่ในผิวหนัง

การเสริมสร้างการทำงานของระบบผิวหนัง

1.   นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ
2.    ออกกำลังกายเป็นประจำ
3.     ดื่มน้ำสะอาดมากๆ
4.    ทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน
5.    รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
6.     สวมเสื้อผ้าที่สะอาด พอดีตัว ไม่คับหรือหลวมเกินไป
7.     อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด
8.    รักษาสุขภาพอย่าให้เป็นแผล
9.    ทาครีมบำรุงผิวที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับวัย

ความผิดปกติของผิวหนังที่พบบ่อย

          1.   สิว(Acne) เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในช่วงวัยรุ่น หรือ เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ อยู่ในต่อมไขมันใต้ผิวหนังมีมากผิดปกติ

          2.   ตาปลา(Corn) เกิดจากแรงกดหรือแรงเสียดสีผิวหนังบริเวณนั้นบ่อยๆ มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ มักเกิดบริเวณนิ้วเท้า หรือฝ่าเท้า เนื่องจากใส่รองเท้าคับเกินไป

          3.   กลิ่นตัว(Odour) เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของกรดไขมันจากต่อมเหงื่อเซลล์บุผิวที่ตายแล้ว เหงื่อรวมกับแบคทีเรียและความ ชื้นเกิดเป็นกลิ่นตัว ถ้ามีกลิ่นตัวแรงอาจใช้สารส้มหรือลูกกลิ้งระงับกลิ่นทาบริเวณรักแร้หลังอาบน้ำทุกครั้ง

          4.  โรคราที่เท้าหรือฮ่องกงฟุต(Hong kong’s foot) หรือโรคเท้านักกีฬา (Athlete’s foot) เกิดจากเชื้อราที่เท้า เนื่องจากรอง เท้าอับชื้นหรือลุยน้ำสกปรก ทำให้มีอาการคันบริเวณซอกนิ้ว การป้องกันและรักษาทำได้โดยการล้างเท้าให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง

          5.   ผิวหนังแห้งกร้าน(Dry’s skin) เกิดจากสภาพแวดล้อมผิดปกติ เช่นอากาศ ร้อนจัด อากาศแห้งมาก หรือฟอกสบู่บางชนิด เป็นต้น ควรใช้ครีมทาผิวเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังไว้

          6.  เกลื้อน(Tinea versicolor) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นบริเวณลำตัว แขน ขา คอ หน้า เป็นต้น พบมากในผู้ประกอบอาชีพที่อยู่ในอุณหภูมิสูงมีเหงื่อออกมาก มีความชื้นสูง หรือสกปรกเปรอะเปื้อนพวกไขมันและฝุ่นละออง ควรใช้ ขี้ผึ้งรักษากลากเกลื้อนทาบริเวณที่เป็น ถ้ามีอาการลุกลามควรปรึกษาแพทย์

          7.   กลาก(Ring worm)เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิดที่เกิดขึ้นทั่วไปตามร่างกายมีลักษณะเป็นวง แต่ส่วนขอบนั้นนั้น จะนูนสูงแดงมีเม็ดตุ่มพองน้ำเล็กๆ ป้องกันและรักษาเช่นเดียวกับเกลื้อน

          8.    ฝี (Abscess) เกิดจากเชื้อบัคเตรีชนิดหนึ่งซึ่งมีบนผิวหนังทั่วไป มีลักษณะบวมแดงจนกลายเป็นหนอง

          9.   เล็บขบ(Ingrown nail) มักเป็นกับนิ้วหัวแม่เท้าที่เกิดจากการงอกของเล็บที่กดลึกเข้าไปในเนื้อบริเวณซอกเล็บ ทำให้เกิดความ เจ็บปวด ป้องกันได้โดยไม่ควรตัดเล็บสั้นจนเกินไป

          10.  เชื้อราที่เล็บ(Tinea ungium) มักเป็นกับผู้ทำงานที่ทำให้มือต้องเปียกน้ำเป็นประจำ หรือเท้าอยู่ในที่อับชื้น ป้องกันโดยตัดเล็บ ให้สั้น รักษาเล็บให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ

          11.   ผมร่วง(Alopecia) ผมของคนเราจะร่วงได้ตามธรรมชาติแล้วงอกขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา แต่ถ้าร่วงมากกว่าปกติอาจมีสาเหตุจาก การขาดสารอาหาร การเจ็บป่วยด้วยโรค เชื้อรา หรือแพ้ยาสระผมเป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการเป่าผมด้วยความร้อน การย้อมผม การดัดผม และเมื่อเกิดความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

          12. รังแค(Dandruff) เกิดจากผิวหนังหรือเซลล์ที่ตายแล้วแห้งหลุดลอกออกมาเป็นแผ่นหรือเป็นขุยๆ มักเกาะติดอยู่กับเส้นผม ทำให้คันศีรษะและเป็นสาเหตุของผมร่วงได้ ป้องกันโดยสระผมด้วยยาสระผมอย่างอ่อนๆ หากรังแคยังไม่หายควรรีบปรึกษาแพทย์