<< Go Back

     สุขนิสัย  หมายถึง  นิสัยที่ก่อให้เกิดสุขลักษณะ  อันเป็นผลช่วยให้บุคคลมีสุขภาพและคุณภาพชีวิต  เช่น  มีความสะอาด   ปราศจากโรคมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย  สวยงาม   น่าชื่นชมและมีความปลอดภัยไม่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ หรืออุบัติภัยทั้งหลาย

            สุข นิสัยเป็นสิ่งจำเป็นและจำเป็นมากสำหรับความเป็นผู้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิต ที่ดี ในสมัยก่อนการฝึกสุขนิสัย ให้แก่เด็กและเยาวชนนั้นเรียกกันว่า กติกาอนามัยครั้นต่อมาเรียกใหม่ว่า สุขบัญญัติโดยทั่วไปก็มีอยู่  10  ประการ  จึงนิยมเรียกว่า สุขบัญญัติ 10  ประการ ซึ่งเป็นการกล่าวถึงสุขนิสัยที่สำคัญๆ นั่นเอง  ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 คณะรับมนตรีได้ลงมติให้มีสุขบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอสุขบัญญัติแห่งชาตินี้มีอยู่ด้วยกัน  10  ประการ  จึงเรียกว่า  สุขบัญญัติแห่งชาติ  10  ประการ ซึ่ง นับได้ว่าเป็นข้อสรุปและแนวทางอันสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่นำเอาไป ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสมและสม่ำเสมอแล้วก่อให้เกิดสุขนิสัยที่ดีขึ้น  ดังรายละเอียดสำคัญๆ ที่สรุปได้ดังนี้

        สุขบัญญัติแห่งชาติ  10  ประการ

1.      ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด

2.      รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง

3.      ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย

4.      กินอาหารสุก  สะอาด ปราศจากสารอันตรายและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหรือสีฉูดฉาด

5.      งดบุหรี่  สุรา  สารเสพติด  การพนัน และการสำส่อนทางเพศ

6.      สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น

7.      ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท

8.      ออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี

9.      ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ

10.  มีสำนึกต่อส่วนรวม  ร่วมสร้างสรรค์สังคม

<< Go Back