<< Go Back

                      การกระจัด หมายถึง ระยะห่างของการเคลื่อนที่จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายโดยจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง ซึ่งจะเป็นระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างจุดสองจุดใด ๆ ในขณะที่เราเคลื่อนที่ เราจะเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ตลอดแนว เช่น ขณะเราขับรถยนต์ไปตามท้องถนน เราจะเคลื่อนที่ผ่านถนน ถนนอาจเป็นทางตรง ทางโค้ง หรือหักเป็นมุมฉาก ระยะทางที่รถเคลื่อนที่อาจเป็นระยะทางตามตัวเลขที่ราบของการเคลื่อนที่ แต่หากบางครั้งเราจะพบว่า จุดปลายทางที่เราเดินทางห่างจากจุดต้นทางในแนวเส้นตรง หรือในแนวสายตาไม่มากนัก ตัวอย่าง วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่จาก A ไป B และต่อไป C ดังรูป จงหาระยะทางและการกระจัดของวัตถุ จาก A ไป C

จากรูป   ระยะทาง (S)    = AB + BC
                                         = 4+3
C ระยะทาง = 7 เมตร
และการกระจัด   = AC
                            = 5 เมตร (ทิศจาก A ไป C)
ดังนั้นระยะทางของวัตถุเท่ากับ7เมตรได้การกระจัดขนาด5 เมตร ทิศจาก A ไป C
ระยะทางและการกระจัด

     ระยะทาง ( distance )  คือ ความยาวของเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ เป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็นเมตร 

     การกระจัด (  displacement ) คือ เส้นตรงที่ลากจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่ เป็นปริมาณเวกตอร์  มีหน่วยเป็น เมตร

ที่มาของภาพ : www.kr.ac.th/elearning/mod/resource/view.php?inpopup=true.

     * ปริมาณสเกลาร์ ( scalar quantiy )  คือ ปริมาณที่มีแต่ขนาด เช่น ระยะทาง เวลา อัตราเร็ว  มวล พลังงาน กำลัง   ความหนาแน่น  ปริมาตร  ความสว่าง  ความดัน ความชื้น  เป็นต้น
      * ปริมาณเวกเตอร์ ( vector quantiy ) คือ ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น การกระจัด  ความเร็ว  ความเร่ง  แรง  น้ำหนัก  โมเมนต์  การดล  โมเมนตัม  เป็นต้น
ตัวอย่างการคำนวณ   รถคันหนึ่งเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะ  5  กิโลเมตร  จากนั้นเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะ  2  กิโลเมตร  จงหาระยะทางและการกระจัดของรถคันนี้

ที่มาของภาพ : www.kr.ac.th/elearning/mod/resource/view.php?inpopup=true.

ขอบคุณที่มา 
https://rectilinearmotion.wordpress.com/ระยะทางและการกระจัด/การกระจัด/

<< Go Back