สเปกตรัม (Spectrum) ถ้าให้แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแสงขาวส่องผ่านปริซึม แสงขาวจากดวงอาทิตย์จะแยกออกเป็นแสงสีรุ้งต่อเนื่องกัน เรียกว่า "สเปกตรัมของแสงขาว"
ที่มารูปภาพ : http://www.promma.ac.th/main/chemistry/jutamas/lesson/spectrum2.htm
สเปกตรัมของแสงขาวเกิดจากการที่เมื่อแสงซึ่งมีความยาวคลื่นต่าง ๆ กันผ่านไปยังปริซึม แสงจะหักเหได้ไม่เท่ากัน เกิดเป็นแถบสีรุ้ง ต่อเนื่องกัน โดยมีความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ ดังนี้
ความยาวคลื่น หมายถึงระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ มีหน่วยเป็นเมตร (m) และนาโนเมตร (nm)
ความถี่ของคลื่น หมายถึงจำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งในเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s–1) หรือเรียกชื่อ เฉพาะว่า "เฮิรตซ์" (Hz)
ความยาวคลื่นและความถี่ มีความสัมพันธ์กันดังนี้ c = ln
ในปี ค.ศ. 1900 มักซ์ พลังค์ (Max Plank) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้แสดงให้เห็นว่าแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะให้พลังงาน เป็นหน่วย ๆ เรียกว่า "quantum" (ควอนตัม) และได้ข้อสรุปเกี่ยวกับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับความถี่ของคลื่นนั้นว่า "พลังงานของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่น"
http://www.promma.ac.th/main/chemistry/jutamas/lesson/spectrum2.htm |