กฎของเคอร์ชอฟฟ์ (Kirchoff's Low) วงจรไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ผ่านมา เป็นวงจรอย่างง่ายที่สามารถนำเอากฎของโอห์มมาใช้ในการ แก้ปัญหาได้โดยตรง แต่ถ้าเป็นปัญหาโจทย์ที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อนมาก ๆ แล้วจะไม่สามารถใช้กฎของโอห์มแก้ปัญหาได้โดยตรง วงจรเหล่านี้จะประกอบด้วยแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าหลายตัวและอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่ออยู่หลายสาขาดังรูป
ที่มา : www.phayaotc.ac.th/files/10032219194101_12122622220438.doc ดังนั้นจึงต้องคิดหาวิธีการแก้ปัญหาโจทย์ของวงจรที่ซับซ้อนเหล่านี้ ให้ได้จนปัจจุบันมีหลายวิธีด้วยกันวิธีการหนึ่งที่คิดขึ้นแก้ปัญหาวงจรที่ซับซ้อนนี้ ได้มาจากผลการทดลองของ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อว่า กุสตาฟ อาร์ เคอร์ชอฟฟ์ ในราวปี พ.ศ. 2400 เคอร์ชอฟฟ์ได้ตั้งข้อสรุปผลจากการทดลองของเขาขึ้นมา 2 ข้อรู้จักกันในชื่อว่ากฎของเคอร์ชอฟฟ์ ซึ่งกล่าวไว้ดังนี้
1. กฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์ กล่าวว่า " กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าจุดใดจุดหนึ่งใน วงจรไฟฟ้าจะเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากจุดนั้น"
2. กฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์ กล่าวว่า " ผลบวกของแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้ในวงจรไฟฟ้าปิดจะมีค่าเท่ากับผลบวกของแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมความต้านทานในวงจรไฟฟ้าปิดนั้น"
1. กฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์ (Kirchoff's current Law) กล่าวว่า " กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าจุดใดจุดหนึ่งในวงจรไฟฟ้าจะเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากจุดนั้น"
ความหมายของกฎกระแสของเคอร์ชอฟฟ์
ที่มา : www.phayaotc.ac.th/files/10032219194101_12122622220438.doc
2. กฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์ กล่าวโดยสรุปได้ว่า "ในวงจรไฟฟ้าใด ๆ ผลรวมทางพีชคณิตของแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้แก่วงจร มีค่าเท่ากับผลรวมของแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมความต้านทานในวงจรไฟฟ้าปิดนั้น "
ลักษณะของวงจรไฟฟ้าปิดหรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าลูป (Loop) หมายถึง เส้นทางใด ๆ ก็ตามในวงจรไฟฟ้า ถ้าหากเริ่มจากจุดหนึ่งไปตามเส้นทางนั้นแล้วสามารถกลับมายังจุดนั้นได้อีก เรียกว่า ลูป (Loop) เช่น
แสดงลูปของวงจร
ที่มา : www.phayaotc.ac.th/files/10032219194101_12122622220438.doc
แสดงวงจรอนุกรม
ที่มา : www.phayaotc.ac.th/files/10032219194101_12122622220438.doc
ที่มา : www.phayaotc.ac.th/files/10032219194101_12122622220438.doc
|