<< Go Back

             อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera) เป็นชื่ออาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ประมาณว่ามีจำนวนถึง 4 ล้านสปีชีส์ จำแนกได้เป็น 2 อาณาจักรย่อย คือ อาณาจักย่อยอาร์เคียแบคทีเรีย, อาณาจักรย่อยยูแบคทีเรีย

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา 


- เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell) 
- ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม 
สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ
กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น 


สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ

1. ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta) 
2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta

ภาพแสดงอาณาจักรของแบคทีเรีย

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/48481

 

ประโยชน์ของแบคทีเรีย 


1. ด้านอุตสาหกรรม เช่นการผลิตอาหารหมัก ใช้ฟอกหนัง 
2. ด้านการเกษตร เช่นใช้เป็นปุ๋ย 
3. การทดสอบคุณภาพน้ำ 
4. ทางด้านการแพทย์ เช่นการผลิตยาปฏิชีวนะ 
5. ใช้ในเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมสร้างแบคทีเรียที่มีลักษณะต่าง ๆ 
6. ช่วยย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นอาหารของพืช

โทษของแบคทีเรีย 


1. ผลิตสารพิษที่เป็นอันตราย 
2. ทำให้เกิดโรคต่างๆ ใน คน เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ปอดบวม วัณโรค คอตีบ สัตว์ เช่น แอนแทรกซ์ บาดทะยัก และพืช เช่น โรครากเน่า โรคใบไม้ของสาลี่

ภาพแสดง อาณาจักรของแบคทีเรีย กลุ่มครีนาร์เคียโอตา

ที่มา : http://kmonera.blogspot.com/p/blog-page_03.html

 

             แบคทีเรียมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศ เนื่องจากมีการดำรงชีวิตแบบภาวะย่อยสลายจึงทำให้เกิดการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ มีการนำแบคทีเรียมาใช้กำจัดขยะที่มีมากในเมืองใหญ่ ใช้สลายคราบน้ำมันบริเวณชายฝั่งและบริเวณทะเล รวมทั้งกำจัดสารเคมีที่ตกค้างจากการเกษตรอีกด้วย นอกจากนี้อาร์เคียแบคทีเรียบางกลุ่มสามารถสลายกากของแข็งจากขยะให้เป็นปุ๋ยซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ในด้านการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศพบว่าแบคทีเรียหลายกลุ่มที่สามารถตรึงไนโตรเจน เช่น แบคทีเรียในกลุ่มไรโซเบียม อะโซโตแบคเตอร์และไซยาโนแบคทีเรียทางด้านอุตสาหกรรมได้นำยูแบคทีเรียมาใช้ในการผลิตสารเคมี เช่น แอซีโตน กรดแลคติก ยาปฏิชีวนะหลายชนิดและผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น น้ำส้มสายชู ปลาร้า ผักดอง ปลาส้ม นมเปรี้ยวและเนยแข็งเป็นต้น

             ยูแบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิดที่พบในคนและสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น โรคปอดบวม วัณโรค อหิวาตกโรค โรคฉี่หนู และ โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น

ขอขอบคุณ :1. http://chokchaischool.com/elearning/Chantana/kingdom/__1.html

2.http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=568

3. http://www.dmj.ac.th/Woralukkhana/Kingdom%20Monera.htm

4. http://kmonera.blogspot.com/p/blog-page_03.html

5. http://th.wikipedia.org/

 

<< Go Back